'ดอน' แจงรัฐบาลใกล้ครบวาระ ไม่กระทบจัดเอเปก ยันทุกประเทศ 21 เขตเศรษฐกิจเข้าร่วม

31 ต.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคปี 2565 ว่า ในการประชุมเอเปคครั้งนี้ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ถือเป็นการประชุมที่ยิ่งใหญ่ในรอบ 3 ปีที่จะมีการประชุมเต็มรูปแบบ และเป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูสถานการณ์ของโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด -19 รวมทั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เราจะต้องทำให้ประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะบุคคลที่จะเดินทางมายังประเทศไทยล้วนแต่เป็นระดับสูงสุดของรัฐบาลเสียส่วนใหญ่ แต่ก็มีผู้แทนมาบ้าง ยืนยันว่าทุกประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจมาประชุม เพียงแต่ว่าจะอยู่ในระดับไหนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะมาร่วมประชุม แต่ก็มีบางประเทศที่มีปัญหาภายในถือว่าเป็นเรื่องปกติในการประชุม ซึ่งไทยไม่ได้ติดใจเรื่องเหล่านี้ ทั้งนี้เรามีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทั้งเรื่องการต้อนรับ เรื่องการรักษาความปลอดภัย ส่วนที่ยังไม่เปิดเผยว่ามีผู้นำประเทศไหนมาบ้างนั้น เพราะมีการขอร้องเนื่องจากปัญหาเรื่องความปลอดภัยของแต่ละประเทศ จึงยังไม่สามารถเปิดเผยได้แต่ในฐานะประเทศเศรษฐกิจต่าง ๆ ยืนยันว่าจะมาแน่นอน

"ที่ประชุมวันเดียวกันนี้ได้ประชุมทุกเรื่อง ทั้งการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด -19 ความปลอดภัย ความมั่นคง การจราจรซึ่งจะต้องไม่กระทบต่อสภาพปกติของบ้านเมือง รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ทั้งการประชุมย่อยและการพูดคุยที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของเอเปค ซึ่งแต่ละประเทศก็ได้มีการนัดหมายกันรวมถึงขอหารือกับเราด้วย" นายดอน กล่าว

เมื่อถามว่า แขกพิเศษ 3 ประเทศที่ตอบรับเดินทางมามีประเทศใดบ้าง นายดอน กล่าวว่า นอกจาก 21 ประเทศเขตเศรษฐกิจแล้ว ยังได้เชิญนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในฐานะประธานอาเซียน เอมมานูเอล มาครงประธานาธิบดีฝรั่งเศส เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทและเป็นเรื่องที่ค้างกันมาตั้งแต่เดือนม.ค.ที่ผ่านมาที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมได้ไปเยือน ซึ่งทั้ง 2 ประเทศได้เตรียมการไว้แล้ว ทั้งนี้การคาดหวังผลที่จะตามจากการประชุมในระดับต่าง ๆ คนไทยจะได้ประโยชน์

เมื่อถามว่า แขกที่ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการที่จะมาเยือนทำเนียบรัฐบาลมีประเทศใดบ้าง นายดอน กล่าวว่า ประมาณ 6-7 ประเทศ รวมถึงนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจีนถือเป็นการเยือนพิเศษ เพราะมีการพูดคุยกันมานานแล้ว ส่วนประเทศที่ส่งตัวแทนมา อาทิ ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากกำลังมีการเลือกตั้งในประเทศในวันที่ 29 พ.ย. ส่วนประเทศเม็กซิโกที่มีปัญหาในบ้านเมืองของเขาก็จะส่งผู้แทนมา และประเทศสหรัฐอเมริกาจะส่ง นางกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาแทนตามที่โฆษกสหรัฐฯ ได้ชี้แจงไว้ นอกจากนั้นยังมีฮ่องกงและไต้หวัน แม้ไม่ได้เป็นประเทศ แต่ก็ถือว่าเป็นเขตเศรษฐกิจ ที่เหลือเป็นระดับผู้นำที่จะเดินทางมา ส่วน วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย คงต้องรอต่อไป ซึ่งจนถึงวันนี้ยังยืนตามนี้ไปก่อน ส่วนจะเปลี่ยนหรือไม่ต้องรออีกซักระยะ

นายดอน​ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามส่วนสำคัญที่สุดที่ไทยในฐานะเจ้าภาพจะต้องดูแล คือความปลอดภัยระดับสูงสุดของผู้นำแต่ละประเทศ และเหตุผลที่ไม่สามารถตอบได้ว่าผู้นำ แต่ละประเทศมีใครเดินทางมาร่วมประชุมบ้างนั้นเป็นเรื่องของความปลอดภัย โดยขอให้อดใจรอ ไทยพยายามทำให้เกิดความชัดเจน และเตรียมการต้อนรับรวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยอย่างเหมาะสม สำหรับมาตรการที่ไทยจะต้องเตรียมการรับมือ ในช่วงของการประชุม มีทั้งมาตรการดูแลด้านความปลอดภัยการแพร่ระบาดโควิด​ 19 การจราจร ที่ต้องไม่กระทบกับสภาพปกติของบ้านเมือง และขณะนี้ มีประเทศที่จะขอหารือทวิภาคีร่วมกับไทยจำนวนมากจนยังไม่สามารถจัดลำดับได้​

เมื่อถามว่า การที่รัฐบาลจะครบวาระจะไม่ส่งเป็นอุปสรรคในการหารือในครั้งนี้หรือไม่ นายดอน​ กล่าวว่า ไม่เป็นอุปสรรค จะเห็นได้จากที่มีผู้นำประเทศมาร่วมเป็นจำนวนมาก ด้วยความตั้งอกตั้งใจ บางประเทศขอเวลาการหารือเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีหน้าที่จัดสรรเวลาให้ลงตัว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปัดชักศึกเข้าบ้าน! 'ปานปรีย์' ยันเครื่องบินเมียนมาไม่ได้ขน 'เงิน-ทหาร-อาวุธ' กลับ

ที่ทำเนียบรัฐมนตรี นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมร่วมกับ

รมว.กต. หวัง 8 ตัวประกันคนไทยได้กลับบ้านโดยเร็ว ชี้สถานการณ์ดีขึ้นหลังยูเอ็นมีมติให้หยุดยิง

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่มีการเผยแพร่ภาพทหารอิสราเอลถูกธงชาติไทยในฉนวนกาซ่า

'ปานปรีย์' เผย 'จักรภพ' ไม่ได้ประสาน กต. ก่อนกลับไทย รับไม่ได้เกาะติดผู้ลี้ภัยการเมือง

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายจักรภพ เพ็ญแข อดีต รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ลี้ภัยทางการเมืองนานถึง 15 ปี เดินทางกลับประเทศไทย ว่า นายจักรภพไม่ได้ประสานมาทางกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)

'ปานปรีย์' แจงปมกักตัวชาวอุยกูร์ 40 คน ยังอยู่ในขั้นตอนกฎหมาย ไม่เกี่ยวเกรงกลัวจีน

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีชาวอุยกูร์ที่ยังอยู่ในสถานกักกันกว่า 40 คน ว่า การเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายก็ดำเนินการตามกฎหมายของไทย เข้าใจว่าขั้นตอนนี้ยังอยู่ในกระบวนการของกฎหมาย