'เรืองไกร' เตือน 'พิธา' ไม่เหมือน 'ธนาธร' หมดสิทธิ์ชิงเก้าอี้นายกฯแล้วมีสิทธิ

'เรืองไกร' ไล่ 'พิธา' ไปแก้ข้อกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญ จี้เลิกชิงเก้าอี้นายกฯ เพราะชื่อตกแล้วไม่เหมือนกรณี 'ธนาธร'

19 ก.ค.2566 - นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ผู้ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ตรวจสอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล คุณสมบัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเด็นเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) ให้สัมภาษณ์ ภายหลังทราบมติศาลรัฐธรรมนูญ กรณีสั่งให้นายพิธาหยุดปฎิบัติหน้าที่ ส.ส. ว่า จากกรณีของนายพิธาตนเองยืนยันในคำร้องและข้อเท็จจริงมาโดยตลอด และเมื่อ กกต. มีคำร้องไปศาลก็ต้องรับ ส่วนที่ศาลสั่งก็เป็นเรื่องของดุลพินิจ ซึ่งศาลเห็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับ กกต.

นายเรืองไกร กล่าวว่า ที่ยังไม่ทราบอีกเรื่องหนึ่งคือ ศาลจะต้องให้นายพิธาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เหมือนกับคดีที่มีการร้อง ซึ่งโดยหลักศาลให้ชี้แจงครั้งที่หนึ่งและสอง ดังนั้นเมื่อคดีนี้มาถึงวันนี้ ที่ประชุมทราบผลคำสั่งศาล นายพิธาก็ต้องเดินออกอยู่ไม่ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากเทียบกรณีนายพิธาที่ศาลสั่งหยุดปฎิบัติหน้าที่กับกรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในอดีตต่างกันอย่างไร นายเรืองไกร กล่าวว่า กรณีนายธนาธรนั้นเป็นบริษัทครอบครัว พยานหลักฐานยังอาจชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมได้ แต่กรณีของนายพิธาเป็นกรณีบริษัทมหาชน

เมื่อถามว่ากระบวนการเสนอชื่อนายพิธาเมื่อเทียบกับกรณีของนายธนาธร ยังทำได้หรือไม่ นายเรืองไกร กล่าวว่า การเสนอชื่อนายพิธาดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา แต่ท้วงว่าไม่ควรเสนอได้ เพราะให้อำนาจพิจารณาตาม ม.88 และ 89 เป็นอำนาจของสภาที่ต้องพิจารณาว่าเมื่อมีการเสนอคำร้อง และ กกต. มีมติเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ก็ควรจะเห็นแล้วว่าเขาเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ และชี้ให้เห็นแล้วว่าไม่ควรนำมาเข้าสู่กระบวนการของสภาได้

เมื่อถามว่าทำไมบรรทัดฐานตอนนายธนาธร ถึงถูกใช้ได้ ในเมื่อก็ถูกหยุดปฎิบัติหน้าที่ในขณะถูกเสนอชื่อเช่นกัน นายเรืองไกร กล่าวว่า คราวนั้นเป็นการเกิดขึ้นทีหลัง แต่คราวนี้อยู่ระหว่างการโหวตนายกฯ

ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่นายเรืองไกรระบุว่าหากวันนี้มีการเปิดให้โหวตชื่อนายพิธาในขณะที่มีคำสั่งศาล ในส่วนของส.ส.ที่เลือกนายพิธา จะมีการนำชื่อไปยื่นร้องต่อ ป.ป.ช. ใช่หรือไม่ นายเรืองไกร กล่าวว่า ก็เสี่ยง เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 234 เป็นอำนาจของป.ป.ช.คือ ตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการองค์กรอิสระ ว่าจงใจปฏิบัติหรือทุจริตต่อหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันนี้เป็นอำนาจ ป.ป.ช.

เมื่อถามว่า ถึงอย่างไรในวันเดียวกันนี้ชื่อของนายพิธาต้องตกไปใช่หรือไม่ นายเรืองไกร กล่าวว่า ต้องตก

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีศาลอาญาคดีทุจริต เมื่อวันที่ 18 ก.ค. รับคำร้องที่มีผู้ร้อง 7กกต.จัดเลือกตั้งโดยทุจริต กลั่นแกล้งนายพิธา หากกกต. มีความผิดจะทำอย่างไร นายเรืองไกร กล่าวว่า ไปอ่านพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาศาลฎีกานักการเมืองดูก่อน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้ โดยผ่านป.ป.ช. เท่านั้น ส่วนศาลอื่นไม่มีอำนาจรับ

เมื่อถามว่าหากมีการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯรัฐมนตรีเป็นชื่ออื่น นายเรืองไกรจะเข้าไปตรวจสอบด้วยหรือไม่ นายเรืองไกร กล่าวว่า ตรวจ และความจริงวันนี้น่าจะเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย 3 คน ส่วนนายพิธา ควรจะแสดงความรับผิดชอบ เมื่อโหวตไม่ได้แล้วก็ไปสู้คดี ไม่ใช่แถลงว่าขอโอกาสอีกครั้ง โหวตแล้วจะโหวตอีก เป็นเรื่องวุฒิภาวะของผู้นำประเทศ

เมื่อถามว่า ในครั้งนี้ถือเป็นผลงานของนายเรืองไกรได้ใช่หรือไม่ นายเรืองไกร กล่าวว่า คงไม่ใช่ผลงานของคนอื่น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้องขอวินิจฉัยอำนาจสภาฯแก้รัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของประธานรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256