สภาปิดแต่หัววัน 'สุชาติ' สั่งเลื่อนลงมติผลศึกษาขุดคลองไทยฯ

21 ม.ค.2565 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษาการขุดคลองไทและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย รองประธานกมธ. คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานกมธ.

สำหรับสาระสำคัญของรายงานดังกล่าว มีข้อสรุปสนับสนุนให้รัฐบาลขุดคลองไทยในพื้นที่ภาคใต้ แนวพื้นที่5 จังหวัด คือ จังหวัดกระบี่, จังหวัดตรัง, จังหวัดพัทลุง, จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา เพราะจะเกิดการจ้างงาน สร้างงาน สร้างรายได้ใหม่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษขวานทองภาคใต้ และจะพัฒนาคุณภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่ การบริหารจัดการและการขนส่งทางทะเล และทำให้เป็นศูนย์กลางความเจริญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการพิจารณา มีส.ส. อภิปรายคัดค้าน เพราะผลการศึกษานั้นเป็นการรับฟังความเห็นด้านเดียว และไม่สามารถพัฒนาพื้นที่ได้จริง และจะทำให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่กว้างขวาง อีกทั้งเชื่อว่าจะทำให้ศิลปวัฒนธรรม วัดเก่าแก่ในพื้นที่ก่อสร้างและประชาชนกว่าแสนครัวเรือนจะได้รับผลกระทบ แต่รายงานดังกล่าวไม่ระบุรายละเอียดดังกล่าวไว้ โดยนายประเสริฐพงษ์ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายตอนหนึ่งว่า “ผมไม่เห็นด้วย อย่าส่งให้รัฐบาล อายเขาไม่สมควรดำเนินโครงการนี้ อย่าหวังว่าพระเครื่องรุ่นที่หนึ่ง ที่เอามาให้ผมเป็นค่าปิดปาก เพื่อให้ส.ส.ผ่านรางยานนี้ วางสิบพระเครื่อง รุ่นดีๆ ผมก็ไม่ผ่านให้”

นายประเสริฐพงษ์ กล่าวอีกว่า รายงานฉบับดังกล่าวเป็นการรับเงินจากนายทุน เพื่อให้ผลักดันโครงการดังกล่าว ปัจจุบันพบว่ามีการจัดซื้อรถตักดินไว้จำนวนมาก เพื่อหวังว่าจะได้รับงานในโครงการดังกล่าว

ด้านนายพิเชษฐ์ ชี้แจงว่าการขุดคลองไทย ไม่สามารถใช้รถตักดินได้ ต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนั้นอย่ากล่าวหาท้องถิ่นที่จัดซื้อรถตักดินใช้ในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การศึกษาคลองไทยที่ผ่านไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมีกลุ่มทุนต่างประเทศ ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ หว่านเงิน หลักหมื่นล้านบาท ถึงแสนล้านบาทเพื่อขัดขวาง เพื่อแลกกับประโยชน์ในประเทศดังกล่าวจะได้รับจากการเดินเรือ ซึ่งตนขอตั้งคำถามว่า เป็นนายกรัฐมนตรี 7 ปี เอาเงินไปเก็บไว้ที่ไหน

“เขาวางแผนระยะยาว ไม่อยากเห็นคลองไทยเกิดขึ้น พร้อมทุ่มเงินมหาศาลเพื่อขัดขวาง และเขาเลี้ยงข้าราชการไว้ จ่ายเงินให้เอาไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศที่เป็นเจ้าของเงินทุน อย่างไรก็ดีผลการศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น หากจะทำรัฐบาลต้องศึกษาในรายละเอียด วันนี้ช่องแคบมะละกา 4ล้านล้านบาทต่อปี แต่หากมีคลองไทยทำจะได้มากกว่านั้น หากกังวลเรื่องความมั่นคง สามารถได้เงิน 4แสนล้านบาทเพื่อให้ความมั่นคงได้ ดังนั้นอย่ากลัวที่จะทำ” นายพิเชษฐ์ ชี้แจง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากที่เปิดให้ส.ส.อภิปรายอย่างกว้างขวาง นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่งเป็นประธานการประชุมได้แจ้งว่า “กมธ.ฯได้ทำหน้าที่รายงานผลการพิจารณาศึกษาตามข้อบังคับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในรายงานยังมีข้อสังเกตตามข้อบังคับที่ 105 ซึ่งต้องให้สภาฯลงมติว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกต เพื่อส่งไปให้รัฐบาลดำเนินการต่อ จึงจำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุม เนื่องจากมีผู้คัดค้าน คงต้องลงมติ แต่ดูแล้วเอาไว้ลงมติคราวหน้าแล้วกัน วันนี้พอแล้วครับ” จากนั้นสั่งปิดประชุมทันทีในเวลา 15.15 น. ทำให้มีสมาชิกอุทานออกมาว่า “อ้าว”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แผนล่มสภาฯ! 'ก้าวไกล' แห้ว ฝ่ายรัฐบาลผนึก ผ่านรายงานเอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ ครบวงจรฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการนับองค์ประชุมแบบขานชื่อ เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณารายงานผลการศึกษาเรื่องการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex

เช็กเสียงโหวต ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการลงมติร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วาระสาม ในสัดส่วนของพรรครัฐบาล พบว่าพรรคเพื่อไทย มี น.ส.สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ สส.อุบลราชธานี

'วิสุทธิ์' โยงฟ้าฝนตกทั่วประเทศเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ถกงบไร้ปัญหา!

'วิสุทธิ์' มั่นใจ ถกงบ 67 วาระ2-3 ฉลุย ไร้ปัญหา กมธ.พร้อมชี้แจง พอรู้ทางจะอภิปรายมุมไหน ขณะที่เตรียมเปิดวิสามัญ มิ.ย. ถกงบปี 68 ต่อ

รทสช. เตรียม 18 ขุนพล ถกงบ 67 ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) เปิดเผยว่า พรรครวมไทยชาติได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วาระ 2 และ 3 ในวันที่ 20-22 มีนาคมนี้

กมธ.อุตสาหกรรม บุกพังงาดันแหล่งแร่ลิเธียม

กมธ.อุตสาหกรรม บุกพังงาดันแหล่งแร่ลิเธียม เป็นอุตสาหกรรมระดับโลกเพื่อยกระดับให้ประเทศไทยเป็นฮับในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคเอเชีย