'อนุทิน' ส่ง 'มท.2-อธิบดีกรมที่ดิน' แจงปมเขากระโดง​

'อนุทิน'ส่ง 'มท.2-​ อธิบดีกรมที่ดิน' แจงปมเขากระโดง​ 'ทรงศักดิ์' ขอบคุณ กมธ.ที่ดิน​ให้โอกาสแจง ​ โอด​สงสารชาวบ้าน​กว่า​ 900 รายได้รับผลกระทบ​ ​'พูนศักดิ์'​ ยันพิจารณา​ยึดข้อกฎหมายไม่โยงการเมือง

27 พ.ย.2567 - ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ​ และสิ่งแวดล้อม​ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี​ บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เป็นประธาน กมธ.ฯ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงประเด็นข้อพิพาทที่ดินเข้ากระโดง​ ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)กระทรวงคมนาคม กรมที่ดิน​ และกระทรวงมหาดไทย โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้นายทรงศักดิ์​ ทอง​ศรี​ รมช.​มหาดไทย​ และนายพรพจน์​ เพ็ญ​พาส​ อธิบดี​กรมที่ดิน​ รวมถึงนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ รฟท.​เข้าชี้แจง

โดยก่อนการประชุม​ นายพูนศักดิ์​ ให้สัมภาษณ์ว่า​ การเชิญผู้ชี้แจงมาในวันนี้เป็นประเด็นเขากระโดง ซึ่งประชาชนให้ความสนใจ และ กมธ.ฯ ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยในขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน รวมถึงกระบวนการที่มาของการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาของกมธ.ฯ ถ้าเห็นว่ามีประเด็นน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขตัวประมวลกฎหมาย ควรจะต้องเร่งดำเนินการ

นายพูนศักดิ์​ กล่าวต่อว่าว่า ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ รฟท.จะต้องดำเนินการต่อ ไม่ว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ ซึ่งมีระเบียบของการอุทธรณ์ไว้อยู่ ซึ่งต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จ ไม่ต้องการให้เรื่องนี้เงียบและหายไปกับสังคม ยืนยันว่าการประชุมของกมธ.ฯ จะเห็นภาพของที่มาที่ไป ของคณะกรรมการตามมาตรา 61 ถ้ากระบวนการจัดตั้งไม่ถูกต้อง จะต้องแก้ไขระเบียบใหม่ และเชื่อว่าในประเทศไทยมีปัญหาเรื่องเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ การทุจริต ในการเพิกถอน และการออกเอกสารสิทธิ์ ดังนั้นคณะกรรมาธิการชุดนี้จึงมีความสำคัญมาก ในการจัดการที่ดินของประเทศ และประสิทธิภาพของคณะกรรมาธิการชุดนี้ เป็นอีกประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ

เมื่อถามว่าเรื่องนี้มีคนการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องจะดำเนินการอย่างไร นายพูนศักดิ์กล่าวว่า ในส่วนของการเมืองหรืออิทธิพล อาจมีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เราอาจจะไม่ได้พิจารณาในการประชุมวันนี้ โดยหัวข้อหลักในการประชุมคือเรื่องของข้อกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ แต่หากมีช่องโหว่ใด ที่ได้รับอิทธิพลทางการเมือง ก็เป็นหน้าที่ ของคณะกรรมาธิการในการแก้ไขและปรับปรุง ข้อกฎหมาย

เมื่อถามต่อว่าหากมีคนการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องจริงๆ จะสาวถึงเจ้าตัวหรือไม่ ประธานกมธ.ทีดิน กล่าวย้ำว่า​ การประชุมกมธ.ฯ จะเน้น ระเบียบวิธีปฏิบัติ ของคณะกรรมการมาตรา​ 61 มีข้อบกพร่องอย่างไร และหากมีข้อบกพร่อง กมธ.ฯ จะดำเนินอย่างไร ซึ่งเป็นงานหลักของฝ่ายนิติ​บัญญัติ​ ในการดูว่าข้อกฎหมายช่องโหว่ระเบียบปฏิบัติของฝ่ายบริหารเป็นอย่างไร เพื่อนำมาแก้ไข

จากนั้นการประชุมกมธ.ฯเริ่มในเวลา​10.30 น.และหลังจากที่ประธานกมธ.ฯกล่าวเปิดการประชุม​แล้วเสร็จ นายทรงศักดิ์​ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่าในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ในฐานะได้มอบหมายให้กำกับดูแลกรมที่ดิน ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่กมธ.ฯจะประชุมวันนี้ เรื่องเขากระโดงเป็นเรื่องที่สนใจจากประชาชน และประชาชนเองจะดูข้อมูลจากสื่อเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ความชัดเจนเท่าที่ควร และข้อมูลในวันนี้จะเป็นประโยชน์ทำให้กมธ.ฯได้มีข้อมูลในการที่จะประชุมหารือและสรุปประเด็น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และเป็นประโยชน์กับการรถไฟฯ ซึ่งบอกว่าเป็นที่ของการรถไฟ จะได้เกิดความชัดเจน​

“เรื่องเขากระโดง ไม่ได้กระทบกับสิทธิของคน คนเดียว​ กระทรบทั้งส่วนราชการ ทั้งการรถไฟ และประชาชน​ ซึ่งผมเห็นตัวเลขก็รู้สึกเห็นใจ 900 กว่าราย ที่ได้ครอบครองที่ดินมาโดยชอบด้วยกฎหมายมาโดยตลอด ซึ่งหลายคนก็เข้าใจว่าเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วถึงที่สุด ที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟทั้งหมด​ แม้ให้กมธ.ฯ เป็นสื่อกลางสะท้อนข้อเท็จจริงให้เห็นทั้ง 2 ทาง ทั้งการได้ที่ดินมาของการรถไฟ และประชาชนได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลให้เกิดความชัดเจน แม้ว่าคำพิพากษาถึงที่สุดก็ต้องยอมรับ แต่จะเป็นที่สุดเฉพาะคู่ความ คนอื่นที่ไม่ได้เป็นคู่ความก็ต้องมีการพิสูจน์สิทธิ์ว่าการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์​ หากเพิกถอนทั้งหมด​ จะเป็นธรรมต่อประชาชนหรือไม่

ทั้งนี้การประชุม กมธ.ฯไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้ารับฟัง เนื่องจากเป็นเรื่องระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ​ เพราะข้อมูลที่ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเป็นเพียงข้อมูลผิวเผิน สามารถหาอ่านได้ตามหน้าสื่อฯ ซึ่งการที่ไม่ให้สื่อมวลชนเข้ารับฟังเนื่องจากต้องการให้ทั้ง 2 หน่วยงานได้ชี้แจงข้อมูลอย่างเต็มที่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิโรจน์' ซัดสภาเป็นโรงลิเก หลอกต้มประชาชน ส่งศาลตีความเตะถ่วงแก้รธน.

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ อภิปรายว่า วันนี้ต้องเล่าเรื่องเก่าให้เห็นเส้นเรื่องว่า การยื้อแก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราจำกันได้ หลังรัฐประหาร ปี 2557 สส.จำนวนมากมายหลายพรรคมีท่าทีแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกลไกของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)

เปิดผลโหวต รัฐสภาตีตกร่างกฎหมาย ป.ป.ช. โอนคดีทุจริตกองทัพไปศาลพลเรือน

ผู้สื่อข่าวรายงานผลการลงมติที่ประชุมรัฐสภา มีมติเสียงข้างมาก 415 เสียง ตีตกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่. ... พ.ศ. ...) ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว

'วิโรจน์' อัด 'เพื่อไทย' หงออำนาจลายพราง หลังสภาฯตีตกกม.โอนคดีทุจริตทหารไปศาลพลเรือน

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร และ นายเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม.พรรคประชาชน ในฐานะเลขานุการ กมธ. ร่วมแถลงภายหลังที่ประชุมรัฐสภา

'3 ไม่' ยุทธศาสตร์พรรคส้ม 'พูดง่ายแต่ทำยาก' ในเกมการเมืองที่ซับซ้อนและพลิกผัน!

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ “แพทองธาร ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงกระบวนการตรวจสอบรัฐบาลตามกลไกประชาธิปไตย

'วันนอร์' ขอเวลาไม่เกิน 3 เดือน ตรวจสอบคำร้องถอดประธาน ป.ป.ช.

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีที่พรรคประชาชนยื่นถอดถอนนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานคณะกรรมการป้องกั

ผู้นำฝ่ายค้าน ห่วงภาพลักษณ์ไทย ชี้ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนจะพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจ

"เท้ง" ห่วงภาพลักษณ์ไทย หลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรจำกัดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบาล ชี้หากยึดหลักสิทธิมนุษยชน ประเทศไหนก็ว่าไทยไม่ได้ เตือนอย่าใช้วิธีเจรจาหลังบ้าน หลัง “ทักษิณ” แนะคุยทูต EU