ซูเปอร์โพลชี้ประชาชนเคลือบแคลงนักการเมืองในผลประโยชน์ธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้า

ความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อนักการเมืองในผลประโยชน์ธุรกิจ บุหรี่ไฟฟ้า

23 ม.ค. 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชนต่อ นักการเมืองในผลประโยชน์ธุรกิจ บุหรี่ไฟฟ้า กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 2,205 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 – 22 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.3 รู้สึกเคลือบแคลงสงสัยทำไม ฝ่ายการเมือง และข้าราชการระดับสูงบางคนของ กระทรวงสาธารณสุขไม่ออกมาต่อต้าน บุหรี่ไฟฟ้า ในขณะที่ร้อยละ 77.9 รู้สึก เคลือบแคลงสงสัยว่า มีนักการเมืองและข้าราชการบางคนแสวงหาผลประโยชน์จาก บริษัท บุหรี่ไฟฟ้า

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.5 ระบุ ควรปรับรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งที่ไม่ตอบสนองนโยบายรัฐบาลเพื่อสังคม สุขภาวะ ของประชาชน ร้อยละ 77.4 ระบุ การที่ รัฐมนตรีกระทรวง ดิจิทัล ออกมาให้สัมภาษณ์ สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า เป็นการขัดนโยบายของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 77.1 เห็นด้วยกับ การห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศไทย ในขณะที่ร้อยละ 76.5 ชื่นชม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ออกมา ต่อต้าน บุหรี่ไฟฟ้า ตามนโยบายเพื่อสังคมสุขภาวะของประชาชน นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า ร้อยละ 76.1 ระบุ รัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัล ทำงานมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีการขายกันเกลื่อนในโลกออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.1 เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย โดยนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่าย และครอบครอง และร้อยละ 72.8 ชื่นชม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกมา ระบุ ว่า สถานะของบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าห้ามนำเข้าโดยประกาศของกระทรวงพาณิชย์ และบุหรี่ไฟฟ้าก็เป็นสิ่งของต้องห้ามนำเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มีโทษจำคุกและโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ฉะนั้นรัฐบาลไม่มีนโยบายหรือแนวทางที่จะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าถูกกฎหมายแต่ประการใด

ในขณะที่ ร้อยละ 71.1 ระบุว่า การที่ รมว. ดิจิทัล บอกว่า ควรพิจารณาให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพราะจะสามารถลดอันตรายแก่ผู้สูบได้ เป็นการให้ข้อมูลเท็จแก่ประชาชนเพราะผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ประเภทให้ความร้อน มีอันตรายต่อสุขภาพ และยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเพียงพอว่าการเปลี่ยนจากการสูบบุหรี่ซิกาแรต มาใช้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าลดอันตรายจากโรคภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่ซิกาแรต

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการเสริมสร้างสังคมสุขภาวะของประชาชนที่ไม่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าแต่เมื่อมีการออกมาสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าของรัฐมนตรีบางคนจึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่ารัฐมนตรีและข้าราชการบางคนอาจจะได้รับผลประโยชน์จากบริษัทบุหรี่ไฟฟ้าและต้องการให้มีการปรับคณะรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีที่ไม่ทำหน้าที่ป้องกันภัยคุกคามสังคมสุขภาวะของประชาชนออกไปเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองใหม่อย่างแท้จริงอันนำผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศมากกว่าผลประโยชน์ทางการเมืองและผลประโยชน์ทางธุรกิจต่างชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พวงเพ็ชร' นำแถลงจับบุหรี่ไฟฟ้ากว่า 1.2 หมื่นชิ้น

'พวงเพ็ชร' แถลงข่าวร่วม สคบ.จับกุมผู้ลักลอบขาย 'บุหรี่ไฟฟ้า' ใกล้สถานศึกษา โซน กทม. ยึดของกลางกว่า 12,000 ชิ้น มูลค่า 3.6 ล้านบาท ตะลึง!! พบแพ็คเกจลักษณะคล้ายโลโก้พรรคการเมืองดัง

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน

‘นิพิฏฐ์’ เล่าทานข้าว ‘ชวน’ เปรยสมัยนี้คนกล้าพูด เพื่อความถูกต้องมีไม่กี่คน

นิพิฏฐ์เล่าแวะไปทานข้าวมื้อเที่ยงกับท่านชวน หลีกภัย ที่บ้านของท่าน ที่จ.ตรัง เพื่อรายงานเรื่องบางเรื่องให้ท่านทราบ

แฉ!ใกล้เลือกตั้งท้องถิ่น นักการเมืองฉวยใช้งบภาษี ปชช. แฝงสร้างคะแนนนิยม

นับถอยหลังเลือกตั้งท้องถิ่น นักการเมืองที่ทำการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อปกป้องธุรกิจที่มีอยู่

ห่วงรีบร้อน 'MOU 44' เค้นคอนักการเมือง อย่าเห็นแก่ได้ทุรยศแผ่นดิน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าทุรยศแผ่นดิน