
‘แสวง’ ยันทำหน้าที่คุมเลือก สว. ตามกฎหมาย ลั่นทำสำนวนไม่ล่าช้า อยู่ในกรอบ 1 ปี เล็งส่ง 60 สำนวนเข้า กกต. จ่อเปิดสำนวนคำร้องเลขาฯกกต. ทางแอปสมาร์ทโหวต
21 มี.ค. 2568 – นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่ถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 ในการกำกับดูแลการจัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 2567 ว่าตามที่สังคมเรียกกระบวนการดังกล่าวว่าฮั้วหรือสมยอม ซึ่งก่อนการเลือก สว. ทาง กกต.ได้ออกระเบียบให้แนะนำตัวเฉพาะทางเอกสาร ผู้สมัครไม่สามารถพูดคุยหรือขอคะแนนกันเองได้ และห้ามนำเอกสารเข้าสถานที่เลือก แต่ในท้ายที่สุดศาลปกครองมีคำพิพากษาให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าว ดังนั้นผู้สมัครทุกคนจึงมีเสรีภาพตามคำพิพากษาศาลในการแนะนำตัวและนำเอกสารเข้าสถานที่เลือก
“เมื่อถามว่า กกต. ไม่ระงับยับยั้งเหตุการณ์ในวันที่มีการเลือกระดับประเทศ ซึ่งศาลชี้เอาไว้ว่าสิ่งที่ไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย กกต. ไม่สามารถจะกระทำอันใดได้ โดยในวันเลือก กกต. ได้วางมาตรการป้องกันที่อาจจะเกิดเหตุไม่สุจริตและเที่ยงธรรม มีการตั้งโต๊ะรับเรื่องคัดค้านกรณีที่มีการเห็นว่าอาจจะมีการกระทำที่ผิดปกติ ยืนยันการปฏิบัติหน้าที่สามารถตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดได้ ซึ่งในกรณีนี้มีคำร้อง กกต. มีคำวินิจฉัยแล้ว และจะเผยแพร่คำวินิจฉัยในแอปพลิเคชัน Smart Vote วันนี้” นายแสวง ระบุ
ส่วนข้อสังเกตการทำงานของ กกต. ในการตรวจสอบสำนวนล่าช้านั้น เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า มีสำนวน 577 เรื่อง ซึ่งกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี โดยพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว 319 เรื่อง พร้อมอธิบายว่าสำนวนอยู่ระหว่างการพิจารณาใน 2 ชั้น เรียกว่า 3+2 โดย 3 คือสำนวนปกติ ซึ่งเป็นสำนวนเกี่ยวกับคุณสมบัติทั้งสิ้น ส่วน 2 คือสำนวนพิเศษที่ตั้งรองเลขาธิการ กกต. กับตำรวจ ขึ้นมาดูแลเรื่องฮั้ว กับอีก 1 คณะที่ตั้งล่าสุด 2 คณะ โดยคณะแรกดูเรื่องสำนวนฮั้วทั้งหมด ส่วนคณะที่ 2 ดูเรื่องฮั้วที่รับมาจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในชั้นสอบสวนเหลือแค่นี้
ขณะที่ในชั้นสำนักงาน มี 77 เรื่อง คือสรุปสำนวนและทำความเห็นโดยเลขาธิการ กกต. ซึ่งเลขาธิการ กกต. ก็ไม่ได้ทำสำนวนเองทุกสำนวน เป็นหน้าที่ของรองเลขาธิการ กกต. ด้านการสืบสวนสอบสวน เป็นผู้ทำความเห็น ขณะที่สำนวนนอกจากนั้นส่งไปให้คณะอนุวินิจฉัย 105 สำนวน และมีสำนวนที่อยู่ระหว่างการเสนอเข้าสู่ที่ประชุม กกต. 60 สำนวน เลขาธิการ กกต. มีหน้าที่เร่งรัดหากต้องทำสำนวนให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
เลขาธิการ กกต. ยังชี้แจงย้ำว่า ผู้สมัครสามารถนำโพยเข้าไปได้ สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลปกครอง และในทางปฏิบัติ เมื่อมีโพยเข้าไปในสถานที่เลือก ศาลวินิจฉัยแล้วว่าไม่มีความผิด แต่ว่าเหตุของการเกิดโพย อาจเป็นความผิดได้ เป็นอีกการกระทำหนึ่ง
“โพยอาจเป็นเรื่องของผู้มีสิทธิเลือก หรือบันทึกช่วยจำ เขาศึกษาจากเอกสารแนะนำตัว สว.3 เพราะการเลือกไม่ได้กากบาท เหมือนกันเลือกตั้ง สส. หมายเลขต้องเขียนเอง เลือกรอบแรกต้องเขียน 40 คน ซึ่งบางคนอาจจะจำไม่ได้ มาจากต่างจังหวัด ศาลคงเห็นตรงนี้ ถึงยกเลิกระเบียบ กกต. และให้สามารถนำเอกสารเข้าไปได้ ” นายแสวง ระบุ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่า กกต. ไม่ได้ระงับยับยั้งว่าอำนาจนั้น ไม่ใช่อำนาจของเลขาธิการ กกต. โดยเป็นอำนาจของ กกต. และศาลชี้ว่าการใช้อำนาจระงับยับยั้ง ต้องมีมูลฐานข้อเท็จจริง มีหลักฐานอันควรสงสัย หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า โพยนั้นเกิดจากการกระทำผิดหรือไม่ การกระทำผิดจากโพยเกิดจากข้างนอก ต้องมีหลักฐาน ในวันเลือก ช่วงเช้าไม่มีใครรู้จักโพย และ กกต.ก็ดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง จากนั้นมีคนสงสัยว่าอาจมีโพย ทำให้การเลือกไม่สุจริต กกต. ก็ระงับยับยั้ง โดยให้เลขาธิการ กกต.ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์โดยประกาศว่าห้ามนำเอกสารเข้าไปในสถานที่เลือกในช่วงบ่ายหรือรอบเลือกไขว้
ส่วนกรณีกลุ่ม สว.สำรอง อ้างว่าผู้ตรวจการเลือกตั้งได้รับข้อมูลในวันเลือก สว. ว่ามีการทุจริตเลือกและได้แจ้งเลขาธิการ กกต. แล้วนั้น นายแสวง กล่าวย้ำว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ให้ดูในคำวินิจฉัยของ กกต. ที่จะเผยแพร่ในวันนี้ ซึ่งข้อเท็จจริงจะบอกว่าใครให้การอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้นายแสวงปฏิเสธให้ความเห็นว่าจะต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเลือก สว.หรือไม่ เพียงแต่ย้ำว่า กกต.ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
DSI เปิดโปงขบวนการซากสุกร 460 ล้าน เอี่ยว 'จนท.-นายทุน' ส่ง ป.ป.ช. 11 คดี
ดีเอสไอ เผยผลสอบสวนขบวนการลักลอบนำเข้าซากสุกรผิดกฎหมายช่วงปี 2563–65 รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 460 ล้านบาท พบพัวพันเจ้าหน้าที่รัฐ-นักการเมือง-นายทุนทั้งไทยและต่างชาติ ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. แล้ว 11 คดี พร้อมประสาน 7 ประเทศขยายผล
'สว.สงขลา' ซัด 'ภูมิธรรม' ขีดเส้นตาย 7 วันมีแต่ทำให้สถานการณ์ไฟใต้รุนแรงขึ้น
สว.ไชยยงค์โต้ภูมิธรรม อย่ากดดันด้วยการขีดเส้นตาย 7 วันกับเจ้าหน้าที่รัฐ ย้ำการดับไฟใต้ต้องมียุทธศาสตร์ ใหม่ มีเครื่องมือคือกฎหมายก่อการร้าย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการแก้ปัญหา
ลาม!ปานเทพพาพยานปากเอกพบ DSIปูดมี คตง.เอี่ยวตึกถล่มด้วย
'ปานเทพ' พา 'พยานปากเอก' อดีตข้าราชการ สตง. เข้าให้ข้อมูลสำคัญ 'ดีเอสไอ' คดีตึกถล่ม ปูด มี 1 ใน 6 คตง. เกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่ สตง. เท่านั้น
'ดีเอสไอ' หิ้ว 3 นอมินี บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ ฝากขัง ก่อนศาลให้ประกันคนละ 3 แสน
พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ควบคุมตัวนายประจวบ ศิริเขตร นายมานัส ศรีอนันท์ และนายโสภณ มีชัย ผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาในคดีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว
'ดีเอสไอ' เค้นสอบนาน 10 ชั่วโมง 3 คนไทย 'นอมินี' ถือหุ้น บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ
“ดีเอสไอ" หิ้ว ”3 นอมินีคนไทย บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ” ฝากขังศาลอาญา หลังสอบเดือด 10 ชม. ทั้งหมดล้วนปัดความร่วมมือให้ปากคำ บางช่วงบางตอนงงคำถาม ต้องให้ทนายช่วยอธิบาย ขณะที่ “โสภณ มีชัย“ ผู้ถือหุ้น บ.ไชน่า เรลเวย์ฯ กว่า
ระทึก! 'ทวี' เผยคดีฟอกเงิน 'ฮั้วเลือกสว.' คืบหน้ามาก คาด DSI สรุปสำนวนจะส่งฟ้อง จับกุม หรือไม่สิ้นเดือนนี้
ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าคดีการฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)ในส่วนของคดีฟอกเงิน ที่อ