พลิกโฉมสร้างความปลอดภัยทางถนนยุควิถีใหม่

ประเทศไทยเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 ของความปลอดภัยทางถนน ยังคงเป้าหมายลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่ง ขณะที่รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติกำหนดเป้าหมายลดอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนลง 50% ภายในปี พ.ศ. 2573 และไม่เกิน 12 คนต่อประชากรแสนคน ภายในปี 2570 ตามยุทธศาสตร์ชาติ แนวทางการทำงานและเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ไทยพิชิตหมุดหมายนี้ได้

จากวงสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 15  “ทศวรรษใหม่ วิถีใหม่ ขับขี่ปลอดภัยต้องมาก่อน “ วันที่ 25-26 พ.ค.2565  ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทารา กรุงเทพฯ  จัดโดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.)  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมสัมมนา เวทีตลอดสองวันนำเสนอแนวทาง มาตรการ การบังคับใช้กฎหมาย และการจัดการความปลอดภัยท่ามกลางความเสี่ยงวิถีใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในการสร้างความปลอดภัยทางถนนให้ครบทุกมิติ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  

 

ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต กล่าวว่า  เรื่องความปลอดภัยทางถนนในระดับสากล ขณะนี้มีการขับเคลื่อน 6 จุดเน้นพลิกโฉมการสร้างความปลอดภัยในยุควิถีใหม่  ประกอบด้วยงานและเศรษฐกิจ เช่น อาชีพใหม่อย่างไรเดอร์ที่เติบโตในธุรกิจเดลิเวอรี่,การจัดภูมิทัศน์การเรียนรู้ที่ดี ,ดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ,การคุ้มครองทางสังคม ทั้งระบบสวัสดิการและความคุ้มครองแรงงาน.การสร้างเสริมสุขภาพระดับปฐมภูมิ/ท้องถิ่น  และการพัฒนาออกแบบเมือง พื้นที่พิเศษ พื้นที่ชายแดน

จุดเหมาะสมสำหรับการลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนน ดร.เดชรัตน์ หยิบยกรายการการศึกษาธนาคารโลก พบไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในเกณฑ์สูง ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง มีคนตายจากอุบัติเหตุสูง ส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว ถ้าไม่ตาย โอกาสสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจมีมาก ทำให้ไทยเป็นประเทศที่เหมาะกับการลงทุนด้านนี้  มีรายงานถ้าลงทุนสร้างถนนใหม่ เพิ่มอัตราการตายจากถนน แต่ถ้าลงทุนระบบมอเตอร์เวย์ ไม่มีทางร่วม ทางแยก อัตราตายลดลง ลงทุนบำรุงรักษาถนนลดอัตราการตายได้  ส่วนงานวิจัยของ มศว. ศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของนโยบายความปลอดภัยทางถนนของไทย พบการเพิ่มงบประมาณมีส่วนสำคัญกับผลสัมฤทธิ์เชิงนโยบายเพิ่มขึ้น และลดอัตราตายทางถนน  ไทยต้องพัฒนาเรื่องจัดสรรงบประมาณ  ส่วนตำรวจเสนอให้พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนจุดเสี่ยงต่างๆ นำไปสู่การแก้ไข มีผลศึกษาการลงทุนในระบบขนส่งมวลชนช่วยลดอุบัติเหตุและอัตราตายได้ชัดเจน  การจราจรคล่องตัว

“ เสนอการลงทุนแบบเน้นผลกระทบในการสร้างความปลอดภัยทางถนน เพิ่มป้องกันมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุขึ้น ส่วนที่เหลือแบ่งมาลงทุน มีตัวอย่างการลงทุนรณรงค์สวมหมวกนิรภัยในกัมพูชา ตั้งเป้า 60% จากเดิม 20% ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น ไทยสามารถมีแนวทางการลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนในรูปแบบใหม่ๆ ได้ ปัจจุบันการกำหนดเป้าหมายลดตายรายจังหวัดถ้าพ่วงกับการลงทุนจะสอดคล้องกับระดับจังหวัด จากนั้นชวนภาคีสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 6 ด้าน มาร่วมพลิกโฉม ทั้งธุรกิจสอนขับรถ นักวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล  ระบบกล้องCCTV การมีส่วนร่วมกลไก ศปถ.ระดับตำบล “ ดร.เดชรัตน์ กล่าว

ร่างแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2565-2570 เป็นอีกเครื่องมือลดสูญเสีย  ดร.สุเมธ องกิตติกุล สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)  กล่าวว่า ร่างแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 5  มีจุดเน้นผู้ใช้รถจักรยานยนต์ วัยรุ่นและเยาวชนที่เสียชีวิตสูงสุด การจัดการความเร็ว และการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องทุก 6 เดือน   ซึ่งต้องสามารถดำเนินการได้จริง มีกลไกการทำงานในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด  กำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อลดจุดอ่อน  เป้าหมายของแผนฯ มียุทธศาสตร์ลดผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บสาหัสระดับประเทศและจังหวัด พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเดินทางที่ยั่งยืนในยุควิถีใหม่ มีหน่วยงานภาคีช่วยติดตามข้อมูลสถิติความเสี่ยง ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการสู่การสัญจรทางถนนที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน มีการปรับปรุงกฎหมายและจัดสรรงบประมาณอย่างสร้างสรรค์   

เวทีนำเสนอโมเดลรูปธรรมระดับพื้นที่  นพ.ธีรวุฒิ โกมุทบุตร แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด กล่าวว่า   ไทยมีจักรยานยนต์กว่า 21 ล้านคัน แต่อัตราสวมหมวกนิรภัยเพียง 42% ทั้งประเทศเสียชีวิตปีละ 1.3 หมื่นคน กลางวันตายน้อย กลางคืนตายมาก ถ้าสวมหมวกลดตายได้ 2 ใน 3 เป็นแนวทางป้องกันที่คุ้มค่าต่อการลงทุน  มีตัวอย่างติดตั้งกล้อง CCTV  อัจฉริยะ ตรวจไม่ใส่หมวกนิรภัยใน จ.เชียงใหม่ ภายใน 1 เดือน ใส่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ทุกจุด  ก่อนจับปรับสร้างการรับรู้ไม่ใส่หมวก ใบสั่งปรับถึงบ้าน

“ ปัจจุบัน 5 อำเภอที่อัตราตายสูงในเชียงใหม่สวมหมวกเกิน 80%   ลดตายลงครึ่งหนึ่ง กล้องฉลาดสามารถประหยัดชีวิตคนไทยกว่า 6,000 คน ทุกปี  ลดตาย 3 ปี ได้ 20,000 คน ใช้เงิน 300 ล้านบาท ถึงเวลาที่ไทยประกาศนโยบายลดตายครึ่งทั่วไทย   เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการตั้งด่าน  “ นพ.ธีรวุฒิ ย้ำไทยทำได้ 

การขับเคลื่อนขับขี่ปลอดภัยยังมีต้นแบบที่ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด   นายสันติ ธรณี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสลภูมิ  แชร์ประสบการณ์ว่า  อำเภอเสลภูมิเป็นอำเภอใหญ่ มีโรงพยาบาล และโรงเรียนมาก  เริ่มงานลดอุบัติเหตุทางถนนตั้งแต่ปี 2558  แม้ตัวเลขผู้บาดเจ็บและสถิติอุบัติเหตุลดลง แต่ยังตายเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด จากพัฒนาถนนเพิ่มขึ้น ตายจากจักรยานยนต์ 89%  ดึงทุกภาคร่วมกลไกแก้ปัญหา  มีการปรับพฤติกรรมส่งเสริมสวมหมวกด้วยทักษะเชิงบวก (BBS) กับกลุ่มเยาวชนและประชาชน เน้น 6 พื้นที่อุบัติเหตุสูง     จัดตั้งจุดตรวจ”ด่านชุมชน” BBS เน้นสื่อสารความห่วงใย ตักเตือนให้ใส่หมวก ชี้ผลกระทบ และสัญญาขับขี่ครั้งต่อไปใส่หมวก ลดอุบัติเหตุ ส่วนผู้ขับขี่ใส่หมวกสร้างเป็นแนวร่วม เมื่อประเมินพบพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นตามลำดับหลังดำเนินงานมา1ปี สเสลภูมิจะขยายผลสู่โรงเรียนมัธยม 6 แห่ง ปลูกฝังพฤติกรรมความปลอดภัยให้วัยรุ่น 

“ เวทีระดับชาติครั้งนี้เสนอให้ขยายพื้นที่ BBS แต่งตั้งคณะทำงาน วิทยากร BBS ระดับ ศปถ.อำเภอ ส่งเสริมแนวคิดในพื้นที่ ศปถ.อปท. สร้างเจ้าภาพร่วม เช่น สถานศึกษา สถานประกอบการ วัด การประเมินผล คืนข้อมูลพฤติกรรมความปลอดภัย ด่านครอบครัว ด่านชุมชน  หรือปรับใช้หอกระจายข่าว สร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สร้างแกนนำต้นแบบในพื้นที่ “ นายสันติ เสนอแนะทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครื่องฆ่าเชื้อโรค-กลิ่นอับหมวกกันน็อก นวัตกรรมสุขภาพขับเคลื่อนสู่การใช้จริง

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร ของทีมเยาวชนจากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)

ส่องสุขภาพ'มอเตอร์ไซด์รับจ้าง'ใน กทม.

“มอเตอร์ไซด์รับจ้าง” เป็นอาชีพที่ใกล้ชิดกับชาวกรุงเทพฯ ทั้งรับส่งผู้โดยสารและเอกสาร ผลจากปัญหาจราจรและความเร่งรีบในการเดินทางของคนเมือง  แม้จะเป็นอาชีพที่เสี่ยงอันตรายบนท้องถนนกรุงเทพฯ แต่พวกเขาก็ไม่บอกลางานอิสระนี้ เพราะประกอบอาชีพได้ง่าย

สสส. สานพลังเทศบาลเมืองน่าน UDC ม.แม้โจ้ หนุน 'จ.น่าน' เป็นจังหวัดแรก ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้นโยบาย 'เมืองสุขภาพดี' หรือ blue zone ของกระทรวงสาธารณสุข ชู 'ชุมชนน้ำล้อม เทศบาลเมืองน่าน' ต้นแบบเมืองที่เป็นมิตรเพื่อผู้สูงอายุและทุกคน จัดทีมช่างชุมชนออกแบบ ปรับปรุงบ้านคนสูงอายุ คนพิการ ที่อยู่เพียงลำพัง

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ และผศ.ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม หัวหน้าศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (UDC) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบและปรับปรุงบ้านพักของผู้สูงอายุตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน ในพื้นที่ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุและทุกคน

'หมอชลน่าน' ยกระดับน่าน Kick off เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ด้าน สสส. เดินหน้าผลักดัน 'น่านโมเดล' 1 ใน 10 เมืองต้นแบบสุขภาพ ที่มีอารยสถาปัตย์ สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับ ผู้สูงวัย คนพิการ ตามแนวคิด Universal Design : UD

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน ทัวร์อารยสถาปัตย์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดน่าน “เปิดเมืองอารยสถาปัตย์ เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล จังหวัดน่าน” พร้อมด้วย นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายกฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล