ขยายผล “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” มุ่งเสริมทักษะเด็กสปป.ลาว

สถานการณ์ปัญหาฝุ่นPM2.5ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่ประสบปัญหาฝุ่นPM2.5สูงสุดเป็นเวลากว่า10ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งในปี2563สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้จับมือร่วมกับภาคีเครือข่ายสู้ฝุ่นภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรม "ห้องเรียนสู้ฝุ่น"  ส่งผลให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนกว่า100แห่งทั่วประเทศไทย สามารถรับมือกับผลกระทบจากฝุ่นPM2.5 และสามารถส่งต่อความรู้สู่คนในชุมชนรอบข้างได้  นับเป็นตัวอย่างชุมชนเข้มแข็งและสร้างความตื่นรู้ด้วยตนเอง

ทั้งนี้จาการศึกษาปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่อง ทำให้พบว่าจุดความร้อน(hotspot)เชียงใหม่ในปี2560-2564 มีจำนวนสูงขึ้นในเดือนมี.ค.ของทุกปี จากดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ(NASA) โดยพบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM10 และPM2.5) ใน 5อำเภอเป็นประจำทุกปีได้แก่  อ.แม่แจ่ม อ.เชียงดาว อ.ฮอด อ.อมก๋อย อ.แมแตง

หากพิจารณาเป็นรายตำบล เกิดจุดความร้อนประจำทุกปี ต.เมืองนะ ต.แม่นาจร ต.บ้านทับ ต.แม่ศึก ต.ปึงโค้ง จึงเป็นพื้นที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และเกิดความคิดในการสร้างห้องเรียนสู้ฝุ่นจำนวน10โรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการรับมือด้านสุขภาวะแก่เด็กและเยาวชนในภาวะฝุ่นที่วิกฤตนี้อย่างปลอดภัย

ล่าสุด เพื่อขยายผล "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" ..สสส.ได้ร่วมกับ สภาลมหายใจเชียงใหม่ เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว และศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาต่อยอดและขยายผล “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมแนวคิด “ธุรกิจสู้ฝุ่น บ้านสู้ฝุ่น จังหวัดเชียงใหม่” มุ่งขับเคลื่อนงานลดมลพิษทางอากาศในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ครอบคลุมทั้ง 19 ชุมชน ที่เทศบาลนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 

นายศรีสุวรรณ ควรขจร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาชุมชน สสส. กล่าวว่า การจัดงาน MOU ครั้งนี้ มีเป้าขยายผลไปสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายในปี2566 มุ่งส่งต่อองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการเผาในที่โล่งสาเหตุหลักสำคัญในการเกิดฝุ่นควัน PM 2.5

“ผมทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมาค่อนชีวิต ไม่คาดคิดว่ามลพิษจะเกิดขึ้นทั่วประเทศไทย พื้นที่รอบนิคมอุตสาหกรรม แต่ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเคลื่อนย้ายประชากรขยายตัวของเมืองอุตสาหกรรม ประเทศเพื่อนบ้านทำให้ปัญหาขยายตัวอย่างคาดไม่ถึง นับวันก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว

“ปี 2565 นี้ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายสู้ฝุ่นภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมแนวคิด ธุรกิจสู้ฝุ่น บ้านสู้ฝุ่น จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นต้นแบบแนวทางการลดฝุ่นที่สามารถทำได้ง่าย ถือเป็นมิติใหม่สำหรับประเทศไทยในการที่มีกลุ่มนักวิชาการที่อุทิศตนอย่างมุ่งมั่น ที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมจากประชาชน ที่ปรับเปลี่ยนการประกอบธุรกิจ อาคาร สถานที่ บริการ และกิจกรรมการใช้ชีวิต โดยมีจุดร่วมคือ ทุกคนมีความรักในเมืองเชียงใหม่ ด้วยหัวใจของการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนเมือง ตามแนวคิดการปรับบ้านในพื้นที่เมืองเพื่อเป้าหมายการบรรเทาผลกระทบจากฝุ่นควัน มุ่งเป้าแก้ไขปัญหาฝุ่นในพื้นที่เมืองเชียงใหม่จนนำไปสู่การเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ได้” นายศรีสุวรรณกล่าว

ผศ.ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล ที่ปรึกษาโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น สสส.  อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย   เปิดเผยว่า  "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ได้รับเชิญเป็นต้นแบบการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติระดับชาติ ในการประชุมป่าไม้โลก ประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงองค์การนาซ่า นำไปเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องของการติดตามการเกิดไฟ(Blue School) ถือเป็นความสำเร็จในเวทีระดับโลก เพื่อนำเสนอว่าคนไทยได้ทำอะไรบ้างในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ เป็นงานที่สสส.ให้ทุนกับมหาวิทยาลัยและได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานห้องเรียนสู้ฝุ่นซึ่งจัดทำให้เด็ก เยาวชนตระหนักรู้เผยแพร่ความรู้สู่ครอบครัว ชุมชน ระดับนโยบาย เป็นการปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆออกแบบสำหรับเด็กประถมปีที่4, 5 , 6 ขยายผลถึงเด็กระดับอนุบาล มัธยม

แต่เดิมคนส่วนใหญ่คิดกันว่าฝุ่นพีเอ็ม2.5เป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆที่เรื่องนี้ใกล้ตัวมากเพราะเกิดขึ้นทุกปี จึงคัดเลือกโรงเรียนเพื่อปักหมุดความคิดเรื่องสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังในอนาคต มิฉะนั้นเด็กในวันนี้จะกลายเป็นผู้ป่วย เราต้องร่วมมือกันเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต แก้ไขปัญหาวิกฤตให้เกิดความปลอดภัยได้ รวมทั้งการขยายผลไปยังสปป.ลาว อุดรธานี ขอนแก่น ช่วยกันสร้างความตระหนักรู้ไปยังพื้นที่เสี่ยง มีองค์กรระหว่างประเทศขยายผล องค์การNASAจับมือไทยทำเรื่องนวัตกรรมจัดงานประกวดระดับโลก สสส.สนับสนุนการนำเสนอบนเวทีระดับโลก เมืองไทยนำเสนอเรื่องBlue School ทำงานเรื่องกระบวนการสู้ฝุ่น

“การทำงานของไทยร่วมกับNASAสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก(WHO)แจงตัวเลขว่าปีหนึ่งๆประชากรโลกเสียชีวิต7ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนที่มาจากประเทศยากจนที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นกลุ่มที่เผามลพิษ ประเทศไทยก็ติดอันดับกลุ่มนี้ที่เสียชีวิต มีงานวิจัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนเชียงใหม่มีอายุสั้นกว่าปกติเพราะเป็นมะเร็งปอดสูงสุด เพราะเมื่อสูดดมฝุ่นP.M2.5ไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้จะสะสมอยู่ในกระแสเลือด และไม่มีวิธีกำจัดออกไปได้ การให้ความรู้กับเด็ก เยาวชนเป็นเรื่องที่ดีเพราะเด็กจะนำความรู้ที่ซึมซับไปถ่ายทอดต่อให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองว่าการเผาป่าส่งผลเสียทางนิเวศ ใช้เสียงเด็กเป็นพลัง แต่อย่างไรก็ตามคนที่มีอาชีพเกษตรกรทำไร่เลื่อนลอยรู้ว่าการเผาป่าใช้ต้นทุนต่ำ เป็นการทำลายที่ง่ายที่สุด ขณะนี้ภาคีเครือข่าย หอการค้าที่ทำCSRเปลี่ยนอาชีพให้เกษตรกรเหล่านี้เลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม”

การจัดงาน MOU ครั้งนี้ มีเป้าหมายขยายผลห้องเรียนสู้ฝุ่นไปสู่กลุ่มลุ่มน้ำโขง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายในปี 2566 มุ่งส่งต่อองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการเผาในที่โล่งเพื่อลดต้นเหตุสำคัญในการเกิดฝุ่นควันPM2.5 ทั้งนี้นายทุนสนับสนุนกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านให้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้วยการทำไร่เลื่อนลอย มีการเผาป่าและย้ายถิ่นไปเรื่อยๆส่งผลให้ฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในเมืองไทย

 

PM Rangers ซูเปอร์ฮีโร่สู้ฝุ่น

"เด็กคิด..ผู้ใหญ่หนุน" เพื่อสุขภาวะ

 

ในโอกาสการลงนามในเอ็มโอยูนี้ มีการมอบรางวัลแก่เด็กที่ชนะเลิศการขับเคลื่อนกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่น

ด.ช.กาก้า-ปองคุณ จี้ขาว  ด.ช.สไปร์ท -คฑาเทพ จินเหมย ด.ญ.ต้นข้าว-จิรัชญา ตาแก้ว  ด.ญ.ไบร์ท-ภิญญาพัชญ์ วังวงค์  ด.ญ.ฟ้าใส-ฟ้าใส ยังน้อย ทั้งหมดเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่5 ร.ร.บ้านแม่เทย  ลำพูน ได้รับรางวัลในครั้งนี้ด้วยแนวคิดการแต่งเพลงหมอกหรือควันของเบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ศิลปินค่ายแกรมมี่ มาดัดแปลงเนื้อร้องเป็นเพลงฝุ่นหรือควัน  เพื่อรณรงค์ในการสู้ฝุ่นPM2.5 พร้อมกับการสวมหมวกสีต่างๆเป็นการบ่งบอกคุณภาพอากาศของแต่ละวัน นั่นคือ

               หมวกสีฟ้า PM2.5  0-25 อากาศดีมาก ทำกิจกรรมได้ตามปกติ

               หมวกสีเขียว PM2.5  26-37 อากาศดี ทำกิจกรรมได้ตามปกติ

               หมวกสีเหลือง PM2.5   38-50 อากาศปานกลาง  ทำกิจกรรมปกติ ผู้ป่วยลดการออกกลางแจ้ง

               หมวกสีส้ม PM2.5   51-90 มีผลต่อสุขภาพ งดกิจกรรมกลางแจ้ง สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น

               หมวกสีแดง PM2.5  91ขึ้นไป อันตราย งดกิจกรรมกลางแจ้ง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันฝุ่น

ขบวนการหมวกสีสุขภาพ PM Rangers การขับเคลื่อนกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่น สร้างActive Citizen  เพื่อให้ผู้ปกครอง คนในพื้นที่ตระหนักปัญหาและสร้างจิตสำนึกในการป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลาย การจัดการการเรียนการสอนและบูรณาการความรู้เกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศ รู้จักการใช้ชีวิตประจำวัน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ  ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน วางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน

การสวมหมวกสีเป็นกระบวนการSuperhero ถือเป็นSoft Powerfดึงดูดให้เด็กสนใจเข้าร่วมกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่นของโรงเรียน การสวมหมวกสีทำให้สังเกตได้ง่าย และนำติดตัวไปได้ทุกที่ ใช้เป็นสีสัญลักษณ์เตือนสภาพอากาศ ให้คนที่พบเห็นป้องกันตัวเอง เด็กกลุ่มนี้ยังร่วมมือกับทีมงานฝ่ายปฏิบัติการด้านไฟป่าและหมอกควัน กระทรวงทรัพยากรฯ ช่วยกันสาธิตดับไฟป่าที่จะทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ

นอกจากนี้ด.ญ.อรัญญา แก้วคำปัน นักเรียนชั้นม.3 ร.ร.บ้านแม่เทย ลำพูน ด.ญ.กชพร แซ่ล้อ นักเรียนชั้นม.1ร.ร.บ้านแม่เทย ลำพูนได้รับรางวัลชนะเลิศภาพวาดตระหนักปัญหาลดมลพิษ ด้วยแรงบันดาลใจให้สังคมมีอากาศที่ดี ส่วนรางวัลที่2และรางวัลที่3 เป็นนักเรียนจากภาคใต้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง