เปิดเวทีแก้ปม..คนไทยสุ่มเสี่ยงต้องวัดดวง 1ปี"หมิงตี้ระเบิด"ตามหลอน ก่อวิกฤตกระทบต่อสุขภาวะ

สสส.-กสม.ผนึก 5 ภาคีเครือข่าย เปิดเวทีถกปัญหามลพิษอุตสาหกรรม กรณีครบรอบ 1 ปีโรงงานหมิงตี้เคมีคอลระเบิด หลังเพลิงสงบ ก่อวิกฤตผลกระทบต่อสุขภาพ เสี่ยงตาย-ป่วย 388 คน หวั่นเหตุซ้ำรอย ยังมีโรงงาน 203 แห่งมีวัตถุอันตรายในสมุทรปราการรอคิวระเบิด  รุกดันโรงงานต้องขออนุญาตถูกต้อง อุบัติภัยฉุกเฉินประชาชนต้องได้รับการเยียวยา NGO ตั้งข้อสังเกตภาคเอกชนซิกแซ็กทุจริตฯ สูงมากทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง ประชาชนต้องเข้ามาตรวจสอบ เปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใส

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.), กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.),  มูลนิธิบูรณะนิเวศ และสมาคมนักผังเมืองไทย จัดงานเสวนา “ครบรอบ 1 ปีหมิงตี้เคมีคอล : หลังเพลิงสงบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน” เวทีรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ประชาสังคม นักวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันมลพิษอุตสาหกรรม ป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2565 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

นางสาวศยามล ไกยูรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า ครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์ระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ส่งผลกระทบและความเสียหายต่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่อาศัยในรัศมี 1-9 กม. จากกลิ่นเหม็นของสารเคมีและเขม่าควันในช่วงเวลาหลังเกิดเพลิงไหม้ ทำให้มีผู้เข้ารักษาพยาบาล 388 คน ปัจจุบันยังคงมีสารเคมีที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ใต้ซากอาคารที่ยังไม่รื้อถอนหรือดำเนินการเคลื่อนย้าย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2565 จังหวัดสมุทรปราการได้จัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบสารเคมีตกค้างในพื้นที่ เพื่อเร่งติดตามแผนการรื้อถอนและเคลื่อนย้ายสารเคมี ลดการเกิดเหตุสุดวิสัยที่ถือเป็นปัญหามลพิษระดับชาติ

“โรงงานหมิงตี้ขอขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 หมื่นตันต่อปี ทั้งๆ ที่อยู่ในพื้นที่ผังเมืองสีแดง ห้ามประกอบโรงงานที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม กรมโรงงานต้องถอนใบอนุญาตครั้งที่ 2 เราต้องหารือร่วมกัน แต่ละหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทำงานอย่างบูรณาการระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดและท้องถิ่น หน่วยงานใดเป็นหลัก เพราะยังมีโรงงานอีก 203 แห่งในสมุทรปราการมีวัตถุอันตรายรอระเบิด” นางสาวศยามลกล่าว

นางปรีดา คงแป้น  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวเพิ่มเติมว่า เหตุการณ์นี้เกิดปัญหาสุขภาพสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อชาวบ้านอย่างยาวนาน การขนย้ายสารเคมีมีช่องว่างมากมาย การที่ท้องถิ่นบอกว่าไม่รู้เรื่องสารเคมีและยังไม่มีอุปกรณ์จัดการสารเคมี เป็นเรื่องที่ควรทบทวนแก้ไข นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องบอกให้ประชาชนรู้ว่ารอบบ้านเขามีโรงงานสารเคมีกี่โรงงาน ทำอย่างไรจะรับมือกับภัยพิบัตินี้ได้ เพราะสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิทธิในสุขภาพคือสิทธิพื้นฐานของมนุษยชน

"การจัดเสวนาครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น จากกรณีครบรอบ 1 ปีหมิงตี้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1.สิทธิของประชาชนในกระบวนการอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.สิทธิของประชาชนในการได้รับความช่วยเหลือและเยียวยาจากสถานการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติภัยร้ายแรง” นางปรีดากล่าว

.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ปัญหาโรงงานหมิงตี้หลุดพ้นจาก จ.สมุทรปราการ กลายเป็นประเด็นระดับชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมควบคุมมลพิษ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โรงงานที่อยู่รายรอบเมืองหลวงมีความเชื่อมโยงกับฝุ่นจิ๋ว 2.5 โรงงานนี้ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดจิ๋วรั่วซึมรั่วไหล ฟุ้งกระจายเกิดได้ตลอดเวลาเมื่อทำปฏิกิริยากับ PM 2.5 ขั้นทุติยภูมิ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น จะต้องพึ่งงานวิจัยว่าส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย สำหรับกรุงเทพฯ ยังมีโรงงานอันตรายที่รอระเบิดอีก 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่นที่บางขุนเทียน บางเขน  ขณะนี้ภาคประชาชนยกร่างกฎหมาย Pollutant Release and Transfer Registration: PRTR ส่งเข้าไปในรัฐสภา ในขณะที่ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้พูดถึงการเปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะทางปฏิบัติที่ผ่านมานั้น กรมโรงงานฯ ไม่ได้ให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมอนามัย ฯลฯ ทั้งๆ ที่เขาควรจะได้รับทราบข้อมูลด้วย

จากรายงานของ Global Alliance on Health and Pollution หรือ GAHP ที่เป็นเครือข่ายของหน่วยงานระดับนานาชาติที่มุ่งมั่นเพื่อจัดการกับวิกฤตมลภาวะทั่วโลก และผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ พบว่าในปี 2562 ประเทศไทยมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากมลพิษ 43,538 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้เสียชีวิตมีสาเหตุเกี่ยวกับมลพิษอากาศ 30,625 คน, มลพิษจากน้ำ 5,379คน, มลพิษจากสถานที่ทำงาน 5,406 คน และพิษตะกั่ว 2,127 คน

“ประเทศไทยมีปัญหามลพิษอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่กฎหมายสิ่งแวดล้อมหลายฉบับมีบทบาทสำคัญในการดูแลควบคุมมลพิษ แต่เรายังขาดกฎหมาย PRTR เพื่อรายงานการปล่อยมลพิษอุตสาหกรรม ซึ่งจะดำเนินการได้ต่อเมื่อมีกฎหมายฉบับนี้เป็นพื้นฐาน และกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ห้ามปล่อยมลพิษ แต่กำหนดว่าการปล่อยต้องรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยรายงานเป็นชื่อมลพิษนั้นๆ และปริมาณในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลที่สมบูรณ์เพื่อป้องกันความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองประชาชน” น.ส.เพ็ญโฉมกล่าว.

****

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดเสวนา “มลพิษอุตสาหกรรมจะสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารเป็นระยะเวลานาน ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ สารเคมีอันตรายที่ปล่อยมาจากโรงงาน อาทิ สารสไตรีนโมโนเมอร์ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่สัมผัสหรือสูดดม ทำให้มีอาการเจ็บป่วย ปวดหัว แสบคอ เวียนหัว แสบจมูก คัดจมูก จนถึงขั้นเสียชีวิต ที่สำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด นอกจากจะปล่อยมลพิษทางอากาศ ยังเกิดปัญหามลพิษทางน้ำ กระทบการเกษตร และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สสส.คำนึงถึงสุขภาพของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ จึงมุ่งสนับสนุนพัฒนากลไกทางสังคม ผลักดันให้เกิดสิทธิของชุมชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (Community Right-to-Know) นำไปสู่กฎหมายควบคุมการปล่อยสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดโอกาสเกิดผู้เสียชีวิตด้วยโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษที่ยั่งยืน”.

***

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. (สำนัก 2) กล่าวปิดการเสวนา 

“คนจำนวน 9 ล้านคนจาก 190 ประเทศทั่วโลก เสียชีวิตจากมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม คนไทยตาย 43,000 คน จากมลพิษ น้ำ อากาศ ตะกั่ว เราต้องต่อสู้กับภัยที่มองเห็นและไม่เห็น เราต้องอยู่ท่ามกลางภัยพิบัติ สำนัก 2 ทำงานสร้างเสริมสุขภาพจิต จึงต้องเร่งขับเคลื่อนสุขภาพจิตที่ดี นักวิชาการ นักสื่อสาร สสส.ก้าวสู่ปีที่ 21 จุดประกายเพื่อขับเคลื่อนแก้ไขมลพิษจากสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจิตที่ดี มุ่งให้เกิดผู้ก่อการดี การขับเคลื่อน พ.ร.บ.อากาศสะอาด ทำงานอย่างมีบูรณาการ ช่วยกันสร้างประชากรตื่นรู้ มีศักยภาพที่ดีในชุมชนขับเคลื่อนภาครัฐทำงานอย่างเห็นผลด้วย”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง