Thai Health Day Run 2022 สานพลังเดิน-วิ่ง..สู่วิถีชีวิตใหม่

 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในสังคมไทยลดลง  โดยมีตัวเลขระบุว่า การขยับกายจาก 74.6% ในปี 2562 ลดลงเหลือเพียง 55.5% ในปี 2563 ระยะเวลาเฉลี่ยพฤติกรรมเนือยนิ่งอยู่ 14.32 ชั่วโมง/วัน  จากปกติอยู่ที่ 13.47 ชั่วโมง/วัน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความสำคัญกับสุขภาพโดยรวม ส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกาย ตามปรัชญาสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงพร้อมปลุกกระแสตื่นรู้การขยับกายเพื่อสุขภาพอีกครั้งในกิจกรรม Thai Health Day Run 2022

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยในงานแถลงข่าวด้วยรูปแบบการประชุมส่งเสริมสุขภาพ Healthy Active Meeting เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ว่า วันเกิด สสส.ตรงกับวันที่ 8 พ.ย. ปีนี้ครบ 21 ปี ทุกวันเกิดจะมีการจัดงานวิ่งเพื่อสุขภาพ Thai Health Day Run แต่ 3 ปีที่ผ่านมามีโควิด จึงหยุดจัดงานวิ่ง

สสส.ให้ความสำคัญกับสุขภาพโดยรวม ส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกาย ผลักดันการวิ่งเพื่อสุขภาพ เพิ่มนักวิ่งรุ่นใหม่ มีสมาคมนักวิ่งช่วยพัฒนาจัดวิ่งพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ทำให้นักวิ่งปลอดภัยมากขึ้น ครั้งนี้จัดขึ้นในวันที่ 29 ม.ค.2566 ที่สวนเบญจกิติ ในบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี มีทั้งการเดินเพื่อสุขภาพ 2.5 กม. วิ่งเพื่อสุขภาพระยะทาง 2.5 กม., 5 กม. และ 10 กม.

"ขณะนี้คนไทยต้องเสี่ยงกับโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต กลายเป็นทุกขภาวะหลักมากขึ้น สสส.สานพลังภาคีสร้างเสริมสุขภาวะแนวใหม่  เกิดการเปลี่ยนแปลงประเด็นสุขภาพที่ทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่ เกิดค่านิยมประเพณีวัฒนธรรมไร้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความปลอดภัยบนท้องถนน ลดปัญหาสุขภาวะทางเพศ พัฒนาระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ พร้อมจุดกระแสกิจกรรมทางกาย กิจกรรมเดิน-วิ่ง Thai Health Day Run 2022 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ตรงกับวันครบรอบก่อตั้ง สสส. 21 ปี จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Ready to move on ก้าวสู่การมีสุขภาพดีไปพร้อมกัน เป็นการสานพลังยกระดับการจัดงานวิ่ง ส่งเสริมให้นักวิ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการการจัดงานที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อฟื้นฟูการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยให้กลับมาอีกครั้ง" ดร.สุปรีดากล่าว

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวเสริมว่า สสส.เร่งสานพลังภาคีฟื้นฟูกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย ทำให้ปี 2564ระดับกิจกรรมทางกายเพียงพอขยับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 63% ที่สำคัญพบว่ากิจกรรมเดิน-วิ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากทุกเพศทุกวัยทำเองได้ง่าย ทั้งนี้ สสส.สานพลังภาคีพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชัน Wind เป็นครั้งแรกในเมืองไทย ช่วยเตรียมสุขภาพร่างกายนักวิ่งให้พร้อมผ่านตารางฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ส่งเสริมการใช้ “พื้นที่สุขภาวะละแวกบ้าน” เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันและลดการบาดเจ็บจากการซ้อมวิ่ง เตรียมความพร้อมร่างกายก่อนลงสู่สนามอย่างปลอดภัย

“ผู้หญิงออกกำลังกายต่ำกว่าผู้ชาย ทำอย่างไรให้กลุ่มผู้หญิงและเด็กสนใจออกกำลังกายมากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องการให้เด็กขยับเขยื้อนร่างกายวันละ 60 นาที ทำได้ 27% การมีสุขภาวะที่ดีต้องโฟกัสกลุ่มเด็กด้วย การทำถนนให้เอื้ออำนวย สิ่งแวดล้อมในสวนสาธารณะสวยงามจะช่วยหนุนเสริม การขี่จักรยาน การทำงานที่บ้านเป็นการทำกิจกรรมให้สนุก เมืองไทยมีนักวิ่ง 15 ล้านคน มีจำนวน 2 ล้านคนในงานวิ่ง แต่การวิ่งครั้งนี้เราต้องการนักวิ่ง 1,500 คน หวังว่าจะมีนักวิ่งหน้าใหม่เพิ่มขึ้น เราต้องการเพิ่มเสาหลักในวงการนักวิ่งไทย วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว พร้อมยืนยันว่า ผู้บริหาร สสส.เข้าร่วมกิจกรรมการวิ่งในครั้งนี้ด้วย นพ.ภัทรภณ อติเมธิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู แห่ง Running Clinic โรงพยาบาลสมิติเวช กล่าวถึงการใช้นวัตกรรมให้ความรู้กับประชาชนด้วยการพัฒนานวัตกรรม app WIND เป็นครั้งแรกในเมืองไทย จัดตารางการออกกำลังกายเหมาะสมเป็นการเฉพาะตัวแต่ละคน ตามเพศ อายุ การใช้ AI มีบทบาท ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องง่าย เริ่มตั้งแต่ Day 1 มีตารางออกกำลังกายให้เลือก พัฒนาสู่การมีสุขภาพที่ดีใช้ได้ทั้งระบบโทรศัพท์แบบแอนดรอยด์ ฯลฯ

ปัญหาที่พบเหตุฉุกเฉินขณะวิ่ง สสส.ให้ความสำคัญจัดทีมแพทย์ให้ความรู้เป็นคอร์ส ปัญหาอุณหภูมิในร่างกายสูงหัวใจหยุดเต้นแบบเฉียบพลัน  การออกกำลังกายสำคัญที่จะต้องเตรียมความพร้อม ถ้ากดดันตัวเองมากเกินไป ก็จะเกิดเหตุที่ไม่คาดคิด  บางครั้งอากาศไม่ดี ร้อนมากส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูง การที่เราวิ่งเพื่อสุขภาพ วิ่งเพื่อความสุข  ไม่ใช่วิ่งเพื่อกดดันตัวเองให้ได้รับชัยชนะ อย่าฝืนร่างกายตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าระหว่างวิ่งมีอาการหน้ามืด ใจสั่น ผิดปกติอันเกิดจากสภาวะอากาศ ก็ต้องมีการแจ้งเตือนด้วย

“Thai Health Day Run 2022 มีค่าสมัคร 300 บาททุกระยะ สนใจสมัครวิ่งได้ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย. ทาง www.thaijogging.org ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Thai Health Day Run.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง