สสส. สานพลัง สธ. สช. และ สปสช. ขับเคลื่อนระบบสุขภาพไทย จัดการอบรมระดับนานาชาติ เรื่อง “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาวะ : ประสบการณ์จากประเทศไทย”

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และแผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก Enhancing Leadership in Global Health Thailand (CCS-EnLIGHT) จัดการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาวะ : ประสบการณ์จากประเทศไทย” (International Workshop on “Health and Well-being in All Policies: Thailand Experience”)

โดยในวันที่ 22 พ.ย. 2565 ผู้แทน สสส. นำโดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. ได้นำเสนอเรื่องการผลักดันนโยบายสุขภาวะผ่านงานสร้างเสริมสุขภาพ และได้ต้อนรับคณะผู้เข้าประชุมที่เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานภายใน อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. โดยผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 22 คน จาก 9 ประเทศ ได้แก่ ภูฏาน บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย และ ติมอร์-เลสเต โดยเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนผู้แทนองค์การภาคประชาสังคม

ดร.สุปรีดา กล่าวว่า งานนี้จัดขึ้นเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของไทยให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา อื่นๆ ในด้านระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง การสร้างเสริมสุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพ และการพัฒนานโยบายของทุกภาคส่วนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชน และหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายของผู้เข้าร่วมอบรมเพื่อสร้างความร่วมมือระดับสากลต่อไป

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนสุขภาวะผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเป็นแนวทางที่ สสส. เน้นย้ำมาโดยตลอด โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ไตรพลังเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพในประเด็นที่สำคัญ อาทิ การควบคุมยาสูบ การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารเพื่อสุขภาพ การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อนำไปสู่สังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน

ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จัดในรูปแบบ Healthy Active Meeting ตามแนวทางที่ สสส. ส่งเสริม คือ เป็นการประชุมที่ปลอดแอลกอฮอล์และยาสูบ จัดอาหารเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ กระตุ้นการมีกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมสุขภาพจิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคไม่ติดต่อและเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับองค์ความรู้ไปปรับใช้และเผยแพร่ในการจัดประชุมในประเทศตนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

หมอกควันไฟป่าฝุ่น pm2.5 ภาคเหนือพุ่งปรี๊ด! เชียงใหม่ ครองที่ 1 โลกต่อเนื่อง

ปํญหาหมอกควันไฟป่าฝุ่น pm2.5 ภาคเหนือยังพุ่งสูงเป็นสถิติทุกวัน เชียงใหม่ AQI ครองที่ 1 โลกต่อเนื่อง PM2.5 เกินมาตรฐานทุกจุด

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี