สานพลังขับเคลื่อนตำบลต้นแบบ FUTURE IS NOW:ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่

หลักคิด “ดอกไม้บาน” ทำให้เราตระหนักรู้ว่า สังคมมนุษย์บนโลกนี้ คนเราล้วนแต่คิด  รู้สึก และเชื่อต่างกัน เมื่อเรารู้จัก “แสวงจุดร่วม  สงวนจุดต่าง” ก็จะทำให้เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนแตกต่างอย่างเคารพกันอย่างไร และสามารถบูรณาการแนวความคิดต่างๆ เพื่อสร้างสังคมน่าอยู่ หรือเพื่อไปสู่สิ่งใหม่ ที่เชื่อว่า จะดีขึ้นกว่าเดิม

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม (SIY) จัดมหกรรม “FUTURE IS NOW : ท้องถิ่นของคนรุ่นใหม่” และพิธีมอบรางวัลตำบลต้นแบบด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นเวทีสะท้อนแนวคิด ความฝัน ความมุ่งมั่นของตัวแทนคนรุ่นใหม่ในฐานะสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลทั่วประเทศ ที่อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า สสส.ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชน มีผลงานศึกษาวิจัยบริหารจัดการชีวิตอย่างไรให้มีสุขภาวะที่ดี เพื่อจะหนุนเสริมพัฒนาศักยภาพเยาวชนในเชิงบวก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร การฝึกอบรมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจ จัดกิจกรรมพัฒนาเยาวชนเพื่อสร้างเป็นองค์กรพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบ ตอบโจทย์ให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เพื่อศักยภาพชุมชนท้องถิ่น เป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม

“ด้วยหลักคิดดอกไม้บาน กลีบดอกไม้ เกสร ด้วยศักยภาพท้องถิ่น การมีวิสัยทัศน์สร้างตำบลต้นแบบกระจายทั่วภูมิภาค การสร้างเป็นพื้นที่เปิด  ปกติผู้ใหญ่พูดคุยกับวัยรุ่นจะมีปัญหาช่องว่างในการเรียนรู้ แต่เมื่อต่างฝ่ายปรับเข้าหากันคิดในเชิงบวก ปีต่อมาก็เห็นศักยภาพในการสร้างสรรค์ไอเดียทำงานในชุมชน เด็กบางชุมชนเห็นปัญหาในชุมชนเป็นตัวตั้ง ผู้ใหญ่ป่วยติดเตียงมากขึ้น ก็คิดค้นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้ใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ปลายทางเราจะได้เยาวชนที่เปิดใจกว้างมากขึ้น  เป็นเรื่องท้าทายในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเปิดช่องทางในการสร้างรายได้สำหรับครอบครัวอีกด้วย” น.ส.ณัฐยากล่าว พร้อมยกตัวอย่างสภาเด็กและเยาวชนแต่ละแห่งจะมีเด็กร่วมกันทำงาน 20 คน เป็นการทำงานในเชิงลึก เป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้องค์กร

สภาเด็กและเยาวชนระดับท้องถิ่นนับเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่สำคัญ เพราะเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยเฉพาะสำหรับเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในเขตเมืองใหญ่ ซึ่งไม่ค่อยมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชนมากนัก สภาเด็กฯ มีความสำคัญใน 4 มิติ 1.เป็นพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน 2.ให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะผ่านการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ในชุมชน 3.ให้โอกาสมีส่วนร่วมออกแบบ หรือผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน 4.มีส่วนช่วยลดช่องว่างความเข้าใจระหว่างวัย ด้วยการมีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งขณะนี้ สถ., สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม อยู่ระหว่างพัฒนาเว็บไซต์ coach for change เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องการพัฒนาเยาวชนเชิงบวก และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย เพื่อให้ อปท.กว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ ได้เรียนรู้ และนำไปปรับใช้ในการสนับสนุนสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมีเด็กและเยาวชนจำนวน 20-25 คนต่อ อปท. รวมเกือบ 200,000 คน ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลตำบลต้นแบบด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลทั่วประเทศ กล่าวว่า การให้สิทธิเด็กมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเป็น 1 ใน 4 ของสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งรัฐบาลไทยให้ความสำคัญ ผ่านกลไกพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชนทุกระดับ โดยเฉพาะในรูปแบบสภาเด็กและเยาวชน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่สร้างการสื่อสารเชิงบวก แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดย สถ., สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม สานพลังขับเคลื่อนโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ส่งเสริม พัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชน เกิดระบบสนับสนุนในท้องถิ่น ตลอดจนขยายผลพื้นที่ต้นแบบ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับ อปท.อื่นที่สนใจ

นายโชติเวชญ์ อึ้งเกลี้ยง ประธานมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม (SIY) กล่าวว่า การสร้างนวัตกรรม 6+1 เป็นการบอกเล่าความสำเร็จจากการสานพลังระหว่าง สถ., สสส. และมูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม ในการดำเนินโครงการตำบลต้นแบบสร้างการเรียนรู้ด้านการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชน ตั้งแต่ปี 2564 สนับสนุนกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ผ่านพื้นที่สร้างสรรค์ จนเกิดเป็นตำบลต้นแบบด้านสภาเด็กและเยาวชน 30 แห่งทั่วประเทศ จัดงาน 3 วัน 2 คืน ที่ผ่านมาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง อปท.ต้นแบบและ อปท.ที่สนใจ วันนี้มีพิธีมอบโล่รางวัลเชิดชูเกียรติตำบลต้นแบบ 30 แห่ง  นิทรรศการ “Future is now” ที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ 5 โซน อาทิ อนุสาวรีย์แห่งการมีส่วนร่วม How are You(th) บอกเล่าความฝันและความหวังของคนรุ่นใหม่ ไฮไลต์คือ MUSIC TALK นำเสนอประสบการณ์และแนวคิดการทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ผ่านบทเพลง สมาชิกสภาเด็กและเยาวชน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อปท. ภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงานกว่า 400 คน

“การแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่  เสียงเด็ก 1 คน ผ่านกลไก 6 อย่างเป็นภารกิจ ผู้ใหญ่รับฟังเสียงเด็กเพื่อเปลี่ยนเป็นนโยบายและจัดงบประมาณให้เด็กทำงานการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่น เพื่อนช่วยเพื่อน เราจะได้เด็กรุ่นใหม่ที่มีความ friendly ไม่ใช่เป็นหุ่นยนต์ การที่เราได้จับมือทำงานกับกระทรวงมหาดไทย เป็นการสร้างโอกาสที่ดี แรกเริ่มที่มูลนิธิฯ ทำงานกับ สสส.นั้น กระทรวงมหาดไทยเดินเข้ามาหาเรา ร่วมผลักดันจนเกิด MOU ร่วมกันทำงาน เด็กเป็นกำลังสำคัญที่ไม่ใช่เป็นปัญหา ยิ่งตำบลเข้มแข็งที่ผ่านการคัดเลือก 3 0 ตำบล เพื่อเป็นต้นแบบในการทำงาน จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ในฐานะที่เราเป็นคนรุ่นใหม่ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ การเป็นหุ้นส่วน ทำงานด้วยความมุ่งมั่นอย่างมีจังหวะพัฒนาส่งต่อระบบ เราจะได้ผู้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ.

***

เยาวชนเมื่อมีปัญหาปรึกษาพ่อแม่จริงหรือ?

นศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว สำรวจความคิดเห็นของเยาวชนทั่วประเทศ ช่วงอายุ 15-25 ปี พบว่ายิ่งเยาวชนอายุเพิ่มขึ้น ยิ่งอยากปรึกษาพ่อแม่ลดลง แต่หันไปปรึกษาเพื่อนมากขึ้น ช่วงอายุ 15-18 ปี อยากปรึกษาพ่อแม่มากที่สุด ช่วงอายุ 23-25 ปี อยากปรึกษาพ่อแม่น้อยที่สุด กลับกันคืออยากปรึกษากลุ่มเพื่อนมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเยาวชน

จากการสำรวจข้อมูลความเครียดของเด็กและเยาวชน เรื่องเรียนมาเป็นลำดับแรก เรียน 50%,  ความเครียดจากครอบครัว 17.1%, การเงินและรายได้ 14.5%

คนรุ่นใหม่ “มุ่งหน้าสู่ถนนผู้ประกอบการ” เป็นอันดับ 1 ทิ้งห่างการรับราชการกว่าครึ่ง การเป็นผู้ประกอบการหรือการทำธุรกิจส่วนตัว 47.4%,  รับราชการ 27.6% นอกจากนี้ มีอาชีพเกี่ยวกับภาคประชาสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนรองลงมา

กิจกรรมนอกห้องเรียนคือพื้นที่ทำให้เกิดความคิดแปลกใหม่มากที่สุด อันดับ 1 กิจกรรมนอกห้องเรียน 43.4%, อันดับ 2 การแลกเปลี่ยนผ่านพื้นที่สื่อออนไลน์ 42.1%

การมีส่วนร่วมในการคิดและลงมือที่เด็กและเยาวชนให้ความสำคัญมากที่สุด การคิด ลงมือทำในส่วนที่สนใจผ่านการเปิดโอกาสให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ กิจกรรมทางสังคมเกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้รับความสนใจจากเด็กและเยาวชนสูงลิ่ว อันดับ 1 สุขภาพกายและสุขภาพจิต 22.4%, อันดับ 2 สิ่งแวดล้อม 19.70%, อันดับ 3 เศรษฐกิจรายได้/ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ 14.5%

คนรุ่นใหม่ไม่ยึดติดสถานที่ ขออยู่ที่ไหนก็ได้ที่พัฒนาตัวเองได้และมีความสุข 36.8% ไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ 25% การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่หรือตามหัวเมืองต่างจังหวัด

คนรุ่นใหม่เห็นว่าการเมืองการปกครองที่ดีคือจุดแรกเริ่มที่ทำให้สังคมดีขึ้น การเมืองการปกครองที่ดีจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้ 28.9% รองลงมาคือตัวของบุคคลเอง 26.3%.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง