หลังจากห่างหายกิจกรรมวิ่งกลางแจ้ง เพื่อรวมพลกระตุ้นความตื่นรู้ในการสร้างสุขภาพด้วยตัวเองแบบง่ายๆ อันเป็นพันธกิจหลักของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยเหตุผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
เช้ามืดของวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา แวดวงผู้รักการวิ่ง และรักสุขภาพก็คึกคัก มีความสุขอีกครั้งจากงาน Thai Health Day Run 2022 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 10 ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่บริเวณริมทะเลสาบสวนเบญจกิติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการมีสุขภาวะ โดยมีนักวิ่งจากภาคีเครือข่ายรวมกว่า 1,000 คน
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คนที่ 2 ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า กิจกรรมเดิน-วิ่ง Thai Health Day Run 2022 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 10 ภายใต้แนวคิด Ready to Move On ก้าวสู่การมีสุขภาพดีไปพร้อมกัน เป็นการสานพลังของ สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย และสมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA) ร่วมจัดงานวิ่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยทางการแพทย์ พร้อมพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมให้นักวิ่งมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนวิ่ง มุ่งเป้าฟื้นฟูกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยให้กลับมาอีกครั้งหลังสถานการณ์โควิด-19
“แม้ว่าในช่วง 2 ปี สสส.ไม่ได้จัดงานวิ่ง แต่ไม่ได้หยุดออกกำลังกาย เรามีภาคีร่วมงานในการวิ่งให้ได้มาตรฐาน มีระบบบริการให้ความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน สถาบันวัคซีน สถาบันบำราศนราดูรให้บริการภายในงาน เราวิ่งเพื่อสุขภาพ อย่าวิ่งแบบเอาเป็นเอาตาย เราต้องการสุขภาพดีในระยะยาว” นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย กล่าว
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายลดลงจาก 74.6% ในปี 2562 เหลือเพียง 55.5% ในปี 2563 มีพฤติกรรมเนือยนิ่งถึง 14.32 ชั่วโมง/วัน
จากการสำรวจออนไลน์ ถึงการเริ่มต้นตั้งเป้าหมายของตนเองปี 2566 ในการก้าวสู่การมีสุขภาพดี Ready to Move On มีผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 500 คน พบว่าอันดับ 1 มีกิจกรรมทางกายมากขึ้น 37% อันดับ 2 ลดน้ำหนัก/ควบคุมน้ำหนัก 27% อันดับ 3 ทำจิตใจให้แจ่มใส ร่าเริง 19% และปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านอื่นๆ อีก 17% สะท้อนแนวโน้มการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น สสส.เร่งสานพลังภาคีมุ่งฟื้นฟูกิจกรรมทางกายทุกช่วงวัย พัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชัน Wind Training ช่วยเตรียมสุขภาพร่างกายนักวิ่งให้พร้อม ผ่านตารางฝึกซ้อมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ส่งเสริมการใช้ “พื้นที่สุขภาวะละแวกบ้าน” เพิ่มพื้นที่มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน
“ตลอด 20 ปี สสส.สนับสนุนงานวิ่งในหลายหน่วยงาน ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด หลายร้อยอีเวนต์ การจัดทำคู่มือแจกสนับสนุนการวิ่งที่ได้มาตรฐาน สสส.และภาคีเครือข่ายฟื้นฟูกิจกรรมทางกาย Thai Health Day Run 2022 ในโอกาสที่ สสส.ก้าวย่างสู่ปีที่ 21 Ready To Move On สานพลังความร่วมมือจัดงานวิ่งในระดับมาตรฐาน ระแวดระวังให้เกิดความปลอดภัยได้มาตรฐานสากลในงานกีฬามวลชนประเภทงานวิ่ง เน้นสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันเหตุอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นต่อตัวนักวิ่ง ยกระดับเป็นหนึ่งในสนามต้นแบบการจัดงานวิ่งที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานตามหลักการสากล ทั้งการออกแบบเส้นทาง หน่วยแพทย์ รถพยาบาล รวมถึงจุดพยาบาลตลอดเส้นทาง นำไปสู่การพัฒนาต้นแบบด้านความปลอดภัยและการแพทย์ให้แก่วงการงานวิ่งของไทยในอนาคต" ดร.สุปรีดา กล่าว
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวเสริมว่า “ผู้หญิงออกกำลังกายต่ำกว่าผู้ชาย ทำอย่างไรให้กลุ่มผู้หญิงและเด็กสนใจออกกำลังกายมากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องการให้เด็กขยับเขยื้อนร่างกายวันละ 60 นาที ทำได้ 27% การมีสุขภาวะที่ดีต้องโฟกัสกลุ่มเด็กด้วย การทำถนนให้เอื้ออำนวย สิ่งแวดล้อมในสวนสาธารณะสวยงามจะช่วยหนุนเสริม การขี่จักรยาน"
บรรยากาศในกิจกรรมครั้งนี้เต็มไปด้วยรอยยิ้ม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ เพราะคนวิ่งไม่ไหวก็สามารถเดินเพื่อสุขภาพในระยะ 2.5 กม. ส่วนคนที่รักการวิ่งก็มีให้เลือกวิ่งในระยะสั้นตั้งแต่ 2.5 กม. และ 5 กม.ไปจนถึง 10 กม. ท่ามกลางเส้นทางที่เต็มไปด้วยธรรมชาติของสวนป่ากลางเมือง โดยมีข้อความบนเสื้อนักวิ่งที่ช่วยให้กำลังใจ และสร้างแรงบันดาลใจอย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็น Knowledge for Change, Just Do It, หรือ Ready to Move On
นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการฉายวีดิทัศน์ Music VDO เพลงฝ่าอากาศและสายลมไป, ซุ้มหนังสือวิ่ง...สู่ชีวิตใหม่ ศาสตราจารย์ นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ฉบับการ์ตูน เพื่อให้ผู้ร่วมงานนำโทรศัพท์มือถือมาโหลดหนังสือไปอ่าน มีการละเล่นเพื่อจับสลากรับรางวัลหมวกสีขาว อีกทั้งยกกองทัพความอร่อยมาเสิร์ฟ.
***
วิ่งเพื่อชีวิต ...Good Health at Low Cost
ศาสตราจารย์ นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ได้ระบุไว้ในหนังสือ..วิ่ง...สู่ชีวิตใหม่ ฉบับการ์ตูน การวิ่งเพื่อชีวิต หรือวิ่งสู่ชีวิตใหม่ ว่า
ใหม่อย่างแรกคือ ทำให้เจอความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อน เพราะเมื่อวิ่งถึงจุดหนึ่งจะไปกระตุ้น “สารสุข” หรือ Endorphins ให้หลั่งออกมา
ทำให้ความสุขซึมซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ประดุจบรรลุนิพพาน
การวิ่งทำให้ร่างกายมีพลัง การมีพลังทำให้มีความสุข ดังคนที่ไม่ค่อยมีแรง พยายามแสวงหายาบำรุงกำลัง หาเท่าไหร่ๆ ก็ไม่พบ
กำลังจะมีต่อเมื่อออกกำลัง
การวิ่งหรือออกกำลังยังป้องกันโรคอีกนานาชนิด จนอาจเรียกว่าทุกโรค เช่น โรคเครียด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน โรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ โรคอ้วน
ระยะหลังการวิจัยยังพบว่า การออกกำลังเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น และพบว่าระบบภูมิคุ้มกันเกี่ยวข้องกับการเกิดหรือไม่เกิดโรคเกือบทุกชนิด เพราะฉะนั้นที่ว่า อโรคยา ปรมาลาภา หรือ การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ จะแถมว่า การออกกำลัง ปัจจยา อโรคยา ปรมาลาภา หรือการออกกำลัง เป็นปัจจัยให้ปราศจากโรค เป็นลาภอันประเสริฐ หรือการออกกำลัง เป็นลาภอันประเสริฐ ก็ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ
จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น