อธิบดี สวธ.ร่วมพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ครูชลธี ธารทอง ศิลปินแห่งชาติ ที่วัดไร่ขิง

ชลธี ธารทอง ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะ การแสดง ประจำปี 2542 และได้รับฉายา "เทวดาเพลง" ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังหาใครเทียบได้ยาก

การจากไปของชลธี ธารทอง ครูเพลงชื่อดังและศิลปินแห่งชาติในวัย 85 ปี ถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการศิลปวัฒนธรรมไทย ครูชลธีฝากบทเพลงที่ทรงคุณค่า 5,000 กว่าเพลง เป็นบทเพลงที่ทุกคนประทับใจและจดจำ งานของครูชลธีสร้างตำนานที่ยิ่งใหญ่ให้วงการลูกทุ่งไทยอีกด้วย

สำหรับพิธีบำเพ็ญกุศล ครูชลธี ธารทอง ศิลปินแห่งชาติ จัดขึ้นที่วัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 24 - 31 ก.ค. 2566 เวลา 19.00 น. (วันที่ 28 ก.ค. หยุด 1 วัน เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา) และบรรจุศพไว้ 100 วัน เพื่อรอหมายกำหนดการพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป

วันที่ 24 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา เวลา 17.30 น. นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดี สวธ. พร้อมผู้บริหาร ร่วมพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ นายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ.2542 จากนั้นเวลา 19.00 น. ร่วมงานสวดพระอภิธรรม โอกาสนี้ นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ให้เกียรติร่วมงานสวดพระอภิธรรม ณ ศาลากองอำนวยการ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

สำหรับนายสมนึก ทองมา (ชลธี ธารทอง) ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 17.57 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุ 85 ปี โดยมีพิธีสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 24-31 กรกฎาคม 2566 เวลา 19.00 น.และในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 หลังจากสวดพระอภิธรรมเสร็จเรียบร้อย ทางทายาทจะมีพิธีบรรจุศพเก็บไว้ 100 วัน เพื่อรอขอพระทานเพลิงศพต่อไป  โอกาสนี้ คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม โดยนางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม สนับสนุนสวัสดิการช่วยเหลือ ได้แก่ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต เพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพจำนวน 20,000บาท ค่าเครื่องเคารพศพ จำนวน 3,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดพิมพ์หนังสือเผยแพร่ผลงาน เมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท

ปัจจุบันศิลปินแห่งชาติ ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2528 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น  343 คน  ถึงแก่กรรม จำนวน 176 คน ยังมีชีวิตอยู่ จำนวน 167 คน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนชิม 10 เมนูอาหารถิ่น หากินยาก

เหลือเวลาอีก 2 วันที่จะได้ชิม ช้อป เมนูอาหารถิ่นในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" งานนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดเมนูอาหารหาทานยาก ภายใต้โครงการ "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

สวธ.จัดมหกรรมลำกลอนกระหึ่ม‘มหาสงกรานต์ อีสานหนองคาย’ สืบสานประเพณี

17 เม.ย.2567 - หมอลำกลอนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของหนองคาย เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบสานควบคู่กับประเพณีสงกรานต์ไทยในงานเฉลิมฉลอง “มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย สงกรานต์ผ้าขาวม้า สมมาหลวงพ่อพระใส 2567” ที่วัดโพธิ์ชัย วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตลอดการจัดงานระหว่างวันที่

สวธ.จัดเต็มการแสดงพื้นบ้าน เพลงดังจากศิลปินแห่งชาติ ฉลองสงกรานต์วัดสุทัศน์ฯ

16 เม.ย.2567 - เทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 วัดสุทัศน์ฯ เป็นอีกพิกัดฉลองสงกรานต์ มาเรียนรู้คุณค่าประเพณีสงกรานต์ไทย และมาเข้าเสริมบุญเป็นสิริมงคลปีใหม่ไทย

ตระการตา วธ.เปิดประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย ‘เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ขอนเเก่น’

16 เม.ย.2567 - กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkarn in Thailand, traditional Thai New Year festival) "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์จังหวัดขอนเเก่น" ประจำปี 2567