Social Spark : ลงทุนความฝัน จุดไฟนวัตกรรมเปลี่ยนสังคม

สสส. จับมือสมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) เปิดตลาดนวัตกรรมทางสังคม ให้คนรุ่นใหม่ระดับมัธยมปลาย-อุดมศึกษา-วัยเริ่มต้นทำงาน นำเสนอผลงาน จับคู่นวัตกรกับนักลงทุนด้านสังคม ต่อยอดผลลัพธ์เพื่อเปลี่ยนสังคมมีสุขภาวะอย่างยั่งยืน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม Social Spark : ลงทุนความฝัน จุดไฟนวัตกรรมเปลี่ยนสังคม เพื่อเปิดพื้นที่แสดง 21 นวัตกรรมทางสังคมของคนรุ่นใหม่กว่า 20 ผลงาน ในรูปแบบตลาดนัดนวัตกรรมนำเสนอทั้ง onsite และ online เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2566 ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สสส. เปิดเผยว่า การคิดค้นนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ ในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมหลายมิติ การส่งเสริมกิจกรรมดีๆ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัว กิจกรรมสร้างสรรค์ในตัวเมืองเปิดโอกาสให้ทุกพื้นที่เล็กๆ ใน จ.อ่างทอง โรงเรียนเล็กๆ ต่างอำเภอ ปัญหาครอบครัวที่ห่างเหินกัน หันหน้าเข้าหากัน ได้ร่วมกันทำกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นทางเลือก เป็นเกมที่เข้าใจได้ง่ายเล่นได้ 4-5 คน การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ นวัตกรรมนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการที่ดิน

 “สสส.เชิญผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว สำนักกิจการสตรีฯ คิดออกแบบในพื้นที่ให้ได้ผล เมื่อได้รับการสนับสนุนพัฒนา  มีคู่มือเพื่อให้น้องๆ ทำกิจกรรมไปใช้ มองเห็นความสามารถของน้องๆ สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญใช้รูปแบบความร่วมมือเพื่อต่อยอด ในช่วงเช้าน้องๆ จาก 8 กลุ่มเรียนในระดับมัธยมที่ยังไม่มีประสบการณ์นวัตกรรมทางสังคม จะมาโชว์ไอเดียเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมออกแบบให้การสนับสนุน ไม่มีการคัดออก แต่ให้หย่อนเงินบริจาค และ สสส.เตรียมทุนก้อนเล็กๆ เพื่อให้กำลังใจเพื่อนำไปพัฒนาผลงาน”

น.ส.ณัฐยาชี้แจงว่า ในงานนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคธุรกิจที่มีสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) อยู่แล้ว จะได้มาชมมาช็อปนวัตกรรมแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ซึ่งผ่านการทดลองในพื้นที่จริงจนพร้อมใช้ เพื่อเลือกลงทุน สนับสนุน หรือร่วมบริจาค ให้ผลงานเปลี่ยนสังคมเหล่านี้มีความยั่งยืน โดยมีทั้งองค์กรที่มาชมในงานแบบ onsite และชม online ผ่านทางเพจ SYSI : Society of Young Social Innovators ซึ่งหลังจากงานในวันนี้เสร็จสิ้นลง ก็ยังสามารถติดตามสนับสนุนและให้กำลังใจน้องๆ ได้อย่างต่อเนื่องผ่านเพจ sysi.thailand สสส.อยากชวนทุกคนช่วยกันส่งเสริมโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ใช้ศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคม ซึ่งเป็นการช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยอีกทางหนึ่งด้วย

ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว เปิดเผยถึงความมุ่งหวังในการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ตั้งแต่รุ่นเล็ก เรียนในระดับมัธยม รุ่นกลาง เรียนระดับมหาวิทยาลัย ระดับ Pre Turn Pro รุ่นใหญ่ระดับ Turn Pro พัฒนาเพื่อต่อยอดทำเป็นองค์กรธุรกิจ Enterprise สสส.เป็นหน่วยงานสร้างเสริมสุขภาพ มีภาคีเป็นกลุ่มองค์กรทั่วประเทศ เห็นศักยภาพภาคีหน้าใหม่ๆ ในการตอบโจทย์ในอนาคต สสส.ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางสังคมในมิติต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาวะประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เช่น การลดผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำในสังคมและภาวะโลกร้อน โดยมียุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของคนรุ่นใหม่ที่สนใจร่วมแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้ร่วมมือกับสมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) ดำเนินโครงการบ่มเพาะนวัตกรคนรุ่นใหม่อายุ 15-35 ปี ให้ออกแบบนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) ที่หลากหลาย นับตั้งแต่การแก้ไขปัญหาระดับบุคคล ระดับครอบครัว ไปจนถึงระดับสังคม งานในวันนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการได้นำเสนอผลงานของตนเองต่อนักลงทุนด้านสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมงานกว่า 100 องค์กร

สสส.เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้น้องๆ ที่มีศักยภาพอย่างที่เรียกว่า win-win ด้วยกันทุกฝ่าย ทำหน้าที่เป็นกรรมการให้คะแนน “เราต้องให้กำลังใจและชื่นชมเด็กแต่ละทีม เพราะเด็กกลุ่มนี้เรียนหนังสือเพียงอย่างเดียวก็ได้ แต่เขามีหัวใจที่จะมองปัญหาสังคม เมื่อล้มแล้วต้องลุกขึ้นเพื่อเดินต่อ พร้อมที่จะพัฒนาขีดความสามารถ ด้วยภารกิจของหน่วยงาน สสส.ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ การสร้างเสริมสุขภาพ คนตัดสินใจที่จะเลือกการมีสุขภาวะที่ดี ครอบครัวที่ยากจนแม้จะฐานะไม่ดี แต่ก็เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ได้ หรือการอ่านหนังสือเรียนด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมให้ห้องสว่าง เอื้ออำนวยต่อการอ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ ใช้โคมไฟที่มีเทคนิคในการสร้างสมาธิ การสร้างเงื่อนไขในการเรียนหรือทำงานเพื่อให้เข้าถึงโอกาสมากขึ้น”

นายธเนศ ศิรินุมาศ หัวหน้าฝ่ายออกแบบกระบวนการเรียนรู้และสร้างชุมชนนวัตกร สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) เปิดเผยว่า เราสร้างทีมคนรุ่นใหม่เพื่อเติบโตในองค์กร ด้วยการพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมบ่มเพาะเพื่อสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีไฟ มีไอเดีย ทำโครงการพัฒนาตัวเองเป็น NGO อย่างมืออาชีพ เพื่อจะได้ไปต่อเติมตามความฝันให้เป็นจริง ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จัดกิจกรรมแต่ละ Season น้องๆ นักเรียนระดับมัธยม รร.วิทยาศาสตร์อยากทำ Profile ให้ตัวเอง นำความสามารถไปเปลี่ยนแปลงสังคมสอดคล้องกับ กทม.ที่มีนโยบายสร้างเมืองเพื่อคนรุ่นใหม่ การทำเป็นมิติสร้างเครือข่ายทางสังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน โดยมีเป้าหมาย SDG เพื่อความยั่งยืน

ข้อดีคือน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการได้รับทั้ง Funding เงินทุนสนับสนุน Training การอบรมให้ความรู้ การทำงานเป็นทีม Networking เครือข่ายการทำงาน และ Monitoring มีที่ปรึกษาคอยให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ตลอดโครงการ งานนี้มีทีมนวัตกรรมในรุ่น Rookie รุ่น Pre Turn Pro และรุ่น Turn Pro ของทั้งปีที่ 1 และปีที่ 2 มาจัดแสดงให้นักลงทุนที่สนใจ ได้ให้การสนับสนุนทุนดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน ขณะนี้เริ่มมีการโอนเงินบริจาคให้น้องๆ แล้วจำนวนหนึ่ง

สำหรับนวัตกรรมที่น่าสนใจมีหลากหลายมิติ อาทิ “อาณาจักรพิทักษ์ความสุข” ของทีม Home Room พัฒนาหลักสูตรสีรุ้ง สร้างความเข้าใจระหว่างเด็กและครอบครัว ที่ผ่านการทดลองใช้และได้ผลดีกับ7 ครอบครัวใน จ.อ่างทอง ใช้งานศิลปะลดภาวะเครียด เคารพตัวเองต่ำของเด็ก บอร์ดเกม TANAM ของทีม KOPI PRO  บอร์ดเกมสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แอปพลิเคชันข้อมูลต้นไม้ ของทีม Greendot. เชื่อมโยงข้อมูลกับเครือข่ายรุกขกร ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลต้นไม้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายพื้นที่สีเขียวของ กทม.

 

นวัตกรรมโคมไฟส่งเสริมการเรียนรู้

นายพันธุ์ธัช ปราการรัตน์, น.ส.โรสลิล เมฆทวีพงศ, น.ส.กชกร พุ่มสุข นักเรียนชั้น ม.6 รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ทีมเอิ้ดเอิ้ด โคมไฟเอิ้ดเอิ้ด  โคมไฟส่งเสริมการเรียนรู้ 

เลือกปัญหาที่สนใจจากเรื่องใกล้ตัวหรือจากประสบการณ์ตรงที่ได้พบเจอ เนื่องจากพวกเราเป็นเด็กหอ นอนเตียง 2 ชั้น คนที่อยู่เตียงล่างเวลาอ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์ จะไม่มีแสงเพียงพอที่จะมีสมาธิ จริงอยู่การเรียนรู้เกิดได้ทุกพื้นที่ แต่ถ้าแสงไม่เพียงพอก็ไม่มีสมาธิที่จะทำงานได้

เมื่อศึกษางานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลก็พบว่า อุณหภูมิแสง Warm Light, Day Light, Cold Light แตกต่างกัน เมื่อเจอแสงแรกของวันจะทำให้เรา refresh สดชื่น ในช่วงเย็นจะผ่อนคลายมากที่สุด โทนสีฟ้าจะช่วยในเรื่องการมีสมาธิ โดยทั่วไปคนเราจะมีสมาธิทำงาน 50 นาที เราต้องมีเวลายืดเส้นยืดสายพักสมองระหว่างการทำงาน หากทำงาน 25-30 นาทีควรพัก 5-10 นาทีเพื่อจะได้มีพลังในการทำงานต่อ จึงเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดเวลาทำงานของโคมไฟเอิ้ดเอิ้ด ให้สอดคล้องกับงานวิจัยเพื่อให้การทำงานแต่ละช่วงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นายพันธุ์ธัชนำเสนอว่า นวัตกรรมโคมไฟส่งเสริมการเรียนรู้ควรนำไปติดตั้งในห้องสมุดย่อย หอพัก สร้างเป็นแบบทดสอบ Visual Studio ให้สอดคล้องกับความเหนื่อยล้าในดวงตา ขณะนี้มี รร.ที่บ่มเพาะสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ รร.กำเนิดวิทย์ ระยอง (ปตท.) รร.มหิดลวิทยานุสรณ์ นครปฐม มีนักเรียนรวมกันมากกว่า 1 หมื่นคน

คลื่นเสียงบรรเลงจิตเป็นโครงการต่อเนื่องด้วยการเปิดเพลงบรรเลงระหว่างการทำงาน เป็นคลื่น Delta Theta Alpha Beta ทำให้มีสมาธิในการทำงานที่ไม่เครียดจนเกินไป เปิดเสียงเพลงในห้องทำงานใหญ่ที่ปรับใช้ทำงานได้หลายๆ คนในห้องเดียวกัน พันธุ์ธัชเล่นกีตาร์ได้ ส่วนโรสลิลเล่นเปียโนได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นวัตกรรม สสส. “Home Coming” นิทรรศการทางเลือก พาใจกลับบ้าน สุดเจ๋ง!! คว้ารางวัลแอดแมน อวอร์ส 2023

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า นิทรรศการสร้างประสบการณ์ Home coming

เริ่มแล้ว!! ประชุมระดับชาติ PM2.5 ครั้งแรกของประเทศ “สสส.–สกสว.–ศวอ.–มช.–สภาลมหายใจเชียงใหม่” สานพลัง 60 ภาคี เปิดเวทีถกประเด็น “อากาศสะอาด”

ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ

อึ้ง!! ผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่เกือบครึ่ง เป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี วันเอดส์โลก ‘66 สสส.-สถาบันยุวทัศน์ฯ สานพลังภาคี ขับเคลื่อนนโยบาย 'พก ซื้อ ใช้' ลดอุปสรรคการเข้าถึงถุงยางอนามัยของเยาวชน ชงข้อเสนอรัฐบาล 'ลดราคาถุงยาง เพิ่มการเข้าถึง'

ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ สายด่วน 1663 เครือข่ายประชาชนขจัดการเลือกปฏิบัติ (MovED) และเครือข่ายสถานศึกษาในกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมขับเคลื่อนนโยบายวิถีชีวิตปกติกับถุงยางอนามัย “พก ซื้อ ใช้”

ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ยกวาระสุขภาพสู่ระดับโลก

มิติสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงก้าวตามโลกสังคมเทคโนโลยี ทั้งนี้ เห็นได้จากสถานการณ์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะโรคโควิด-19 และยังต้องโฟกัสกับสภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นโลกเดือด

ก้าวต่อไปของ ‘คนไร้บ้าน’ พม. - สสส. - จุฬาฯ แถลงผลแจงนับคนไร้บ้านปี 66 เกินครึ่งวัยกลางคน เป็นผู้สูงอายุ 22%

เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2566 ณ อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์