ด้วยแนวคิดที่ว่า I feel so happy and healthy I am all set to make my dreams come true! I am child center เด็กและเยาวชนต้องเติบโตในโลกที่ท้าทายกว่าเดิม ในท่ามกลางโลกที่ผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อนจึงเป็นงานด้านการศึกษาที่ท้าทายเป็นอย่างมาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงจัดกิจกรรมเปิดบ้าน “I AM CHILD Center” ศูนย์และโปรแกรมพัฒนาเด็กเล็ก สสส.ที่ห้อง 413-414 สสส. ซอยงามดูพลี เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีตัวแทนจากสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย เข้าร่วมสังเกตการณ์พร้อมกับผู้ปกครองเด็กที่สนใจในกิจกรรมดังกล่าว
นางภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผอ.ศูนย์กิจการสร้างสุข ของ สสส. เปิดเผยว่า ศูนย์กิจการสร้างสุขเป็นงานที่อยู่ในสำนัก 15 แผนสื่อสารเพื่อสุขภาวะ สสส. ทำงานร่วมกับ 4 สำนักของ สสส. ด้วยการขยายฐานองค์ความรู้ สสส.กับภาคีเครือข่าย เด็กและเยาวชนวันนี้ต้องเติบโตในโลกที่ท้าทายกว่าเดิม ต้องดำเนินชีวิตท่ามกลางโลกผันผวนไม่แน่นอน (VUCA WORLD) ซับซ้อน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก ว่าเราจะทำอย่างไรให้เด็กมีความกระตือรือร้น ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เท่าทันกับโลก โดยเฉพาะช่วงโควิดโรคอุบัติใหม่ ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการอ่านของเด็กถดถอยลง เด็กต้องเรียนออนไลน์ บางคนก็เข้าไม่ถึง รวมถึงการให้บริการด้านสุขภาพ พ่อแม่ต้องเตรียมตัวเด็กให้มีความพร้อม เรื่องสุขภาพจิตที่เด็กต้องเผชิญกับปัญหา Cyber Bully ปัญหาครอบครัวเปราะบางที่ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้
ผลจากการสำรวจ 1 ใน 4 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้าไม่สมวัยในช่วงปี 2562-2565 ช่วงการระบาดของโควิด สภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเชื่อมโยง เราต้องช่วยกันสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความสุข ภาวะสมดุลทั้ง 4 มิติเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ สร้างสรรค์ให้เกิดจินตนาการของเด็กและครอบครัว” นางภาสวรรณให้ข้อคิด
เมื่อ 4 ปีก่อน ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะต้องการทำศูนย์เด็กเล็ก เนื่องจากพนักงานมีลูกและ สสส.มีศักยภาพในการสร้างพื้นที่ต้นแบบศูนย์เด็กเล็กเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปยังองค์กรต่างๆ และบุคคลภายนอก ว่าศูนย์เด็กเล็กไม่ใช่เพียงการฝากเลี้ยง แต่ครอบครัว เด็ก และครูมีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกัน ด้วยโปรแกรม I Am นำหลักสูตรจากประเทศฟินแลนด์ที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก แชมป์ผลสอบคะแนน PISA ต่อเนื่องหลายปี ถือเป็นการลงทุนด้านการศึกษาคุ้มค่าที่สุด นำมาผสมผสานกับแนวคิด สสส. จิตวิทยาเชิงบวกนำมาใช้เป็นแห่งแรกในเมืองไทย นำThe Great Mind ของ Asia มาประยุกต์ใส่ในหลักสูตร เด็กรู้จักที่จะดูแลตัวเอง เติบโตอย่างมีความสุข แข็งแกร่งกับอนาคตที่ผันผวน ปรับตัวได้ เราไม่ได้เลี้ยงเด็กให้เป็นอัจฉริยะ หากทว่าเด็กเป็นตัวของตัวเอง รู้จักตัวเองว่าชอบที่จะทำอะไร รู้จุดแข็งของตัวเอง มีความพร้อมที่จะเป็น Global citizen ยืนหยัดด้วยตัวเอง เอาตัวรอดในสังคมได้ ไม่ใช่พึ่งพิงผู้ใหญ่ตลอดชีวิต
หุ้นส่วนสำคัญในการจัดทำหลักสูตร I Am คือ S-adventure จากประเทศมาเลเซีย บ.Life education ภาคีของสำนักเยาวชนและครอบตรัว (สำนัก 4) สสส. เฟไนน์ Education Hub ออกแบบห้องเรียนพ่อแม่ ครอบครัว และ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ มีการใช้สถานที่เครเดอร์สไมล์ สำนักงานใหญ่ปตท. และที่ SCB Park จัดทำโปรแกรม be to be และ be to see
นางภาสวรรณตั้งข้อสังเกตว่า สสส.อยู่ในซอยงามดูพลี ซึ่งไม่ไกลจากสำนักงานวิทยุการบิน กรมท่าอากาศยาน บมจ.กรุงเทพประกันภัย พ่อแม่สามารถนำลูกมาฝากที่ศูนย์เด็กเล็กในช่วงกลางวัน และหากพ่อแม่ยังต้องทำงานก็สามารถฝากดูแลต่อในช่วงเย็น วิธีการดูแลและสร้างเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้าน เด็กในวัย 1-3 ขวบตามแนวทางของ I AM CHILD Center ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Play Base Learning) และปลูกฝังจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) ตั้งแต่วัยเด็ก การจัดเตรียมอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัย 1-3 ขวบ มาตรการความปลอดภัยในศูนย์เด็กเล็ก
“พ่อแม่จะต้องสังเกตและแสวงหาพรสวรรค์ในตัวเด็ก อ่านพลังของเด็กเพื่อพัฒนาความสามารถอย่างมีศักยภาพ เป็นวิชาชีพ สมาชิกในครอบครัว ป้า ยาย ผู้สูงวัยออกแบบพิเศษเพื่อเด็กจะได้มีสุขภาวะที่ยั่งยืน รู้ว่าบุหรี่ เหล้าเป็นความเสี่ยงในชีวิต เห็นถึงพิษภัย เข้าใจปัญหาสุขภาพจิต รู้จักที่จะออกกำลังกาย เลือกที่จะรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะมีประโยชน์ต่อร่างกาย”
วัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่สนุกกับการได้ลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง มีอิสระในการเล่น ทดลองสิ่งใหม่ๆ เรามุ่งเน้นสร้างเสริมพัฒนาการเด็กให้มีสุขภาวะที่ดี เติบโตทุกด้านอย่างสมดุลเหมาะสมกับวัย โดยใช้แนวคิดหลักการ “สามเหลี่ยมสมดุล” การกิน สร้างเสริมให้เด็กกินอาหารที่สะอาด ครบหมู่และปลอดภัย ปรุงด้วยวัตถุดิบธรรมชาติ นอน เพียงพอส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของสมอง ตื่นมามีอารมณ์สดชื่นแจ่มใส เล่น เน้นให้เด็กมีประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่น ออกแบบและพัฒนาตามแนวการศึกษาแบ Finland+Asia
ด้วยโปรแกรมพิเศษของ I AM มุ่งเน้นการปลูกฝังจิตวิทยาเชิงบวกให้ตั้งแต่วัยเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้ฉายแววคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็ง (Character Strengths) เพื่อค้นพบตัวตนว่า “ฉันคือใคร” และเติบโตตามหลัก RSS-H (Resilience-3Hs) คือ กล้าคิด กล้าทำ ไม่กลัวความล้มเหลว (Resilience) พร้อมอยู่ร่วมกับผู้อื่นในความแตกต่างอย่างเข้าใจ เด็กจะมี self-awareness สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ กระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ self-reguration (EF) เพิ่มทักษะการจัดการความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม Mental Agility เรียนรู้และเข้าใจอารมณ์ ฝึกฝนความคล่องแคล่วทางอารมณ์ Connection สร้างความสัมพันธ์ให้ฉันต้องได้ Strengths of Character เพิ่มต้นทุนทางภาษาเพื่อสื่อสารตนเองและผู้อื่นในเชิงบวก กระตุ้นประสาทสัมผัสต่างๆ Optimism สร้างความรู้สึกให้มองเห็นความเป็นไปได้เชิงบวกต่อการมีพฤติกรรมที่ดี Health-Physical พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ Health-Cognition พัฒนาทักษะการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ Health-Self care พัฒนาทักษะการดูแลตนเองและทักษะชีวิต
ขณะเดียวกัน สสส.ยังคิดทำโปรแกรมเฉพาะสำหรับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในศูนย์ก่อสร้างตามไซส์ต่างๆ เมื่อมีลูก ทำโปรแกรมไมโครชิป plug in หลักสูตร lifestyle ไม่ตายตัว สอนเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมถึงภาษาท้องถิ่นของแรงงานต่างด้าวเพื่อเข้าใจถึงบริบทชีวิต วันนั้นยังได้มีการนำชมสถานที่ศูนย์เด็กเล็ก I am child center และล้อมวงพูดคุย เล่นสนุกสุขที่บ้านกับทีมนักจิตวิทยาเด็ก รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ ผู้ปกครองและเด็กๆ ได้รับประทานอาหาร ของว่าง ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ น้ำผักปั่น น้ำฝรั่งปั่น ฯลฯ ของชุติมา น้อยนาค ชาวสวนคลองจินดา ภาคีศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ สสส.สิบกว่าปี นำสินค้ามาจำหน่ายที่ สสส.ทุกวันอังคาร.
อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ (Smith) Life Education Thailand
การเล่นมีความสำคัญ โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดจนถึง 5 ขวบปีแรก ถ้าไม่มีใครเล่นกับเขา เขาจะไม่ได้รับความสนใจ จิตวิทยาเชิงบวกเราต้องเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ อารมณ์เชิงบวก เปิดกว้างทางอารมณ์ การเล่นกระปุกหมูมีเหรียญอยู่ในกระปุก กระปุกหมูเสมือนเป็นต้นทุนจากจิตใจ การหยอดเหรียญเป็นการเพิ่มอารมณ์เชิงบวก เขาจะจำได้ดี เมื่อนำเหรียญออกจากกระปุกเสมือนหนึ่งการเกิดอารมณ์เชิงลบ การพาลูกไปเที่ยวเป็นการสร้างอีเวนต์วันเกิด ทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
การที่เด็กไม่ได้เล่นกับพ่อแม่ เป็นการสะสมความเครียด ยิ่งไม่ได้เล่นบ่อยครั้งเริ่มไม่ไว้วางใจ โดยเฉพาะคำชี้แนะจากพ่อแม่และคนรอบตัว ความมั่นใจในตัวเองลดน้อยลง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าน้อยลง การมี connection น้อยลง ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เด็กจะสื่อสารได้คืออารมณ์ บอกอย่างตรงไปตรงมาด้วยเสียงหัวเราะ และแสดงออกถึงความเสียใจ การเปิดกว้างทางการรับรู้สร้างทางเลือกได้ (Broaden and Build Theory by Babara Fedrickson) เมื่อต้องเผชิญปัญหายากที่จะแก้ไข เรามีต้นทุนทางอารมณ์ในการสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ คนที่เคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน มีโมเมนต์ของการหัวเราะด้วยกัน แต่วันหนึ่งทะเลาะกัน ก็ต้องสร้างโอกาสในการให้อภัย เพื่อจะเดินหน้าต่อไปในชีวิตได้ง่ายขึ้น เป็นการทำงานด้านจิตใจ ดังนั้นคนรอบตัวเด็กมีบทบาทจัดการด้านอารมณ์ให้อยู่ในอันดับแรกๆ การสร้าง 10 อารมณ์เชิงบวกทำให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน สงบ ชื่นชม ยินดี เลื่อมใส สนใจ ชื่นชอบ รัก เมตตา มีแรงบันดาลใจ ภาคภูมิใจ มีความหวัง การเล่นเลโก้ มีสีสัน ไม่แตกหัก มีความยืดหยุ่น เมื่อแกะออกมาแล้วก็สามารถนำมาเล่นใหม่ได้อีก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ
จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น
ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2
เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์