12 ก.พ.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ลงนามความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม (MOU) ร่วมกับ สภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทยทั้ง 38 แห่ง เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมสนับสนุนพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประสานความร่วมมือในมิติขององค์ความรู้ บุคลากร งบประมาณ และสิ่งสนับสนุนอื่นๆ ในการดำเนินงานด้านวิชาการ วิจัย และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และเยี่ยมชมชมนิทรรศการ อาหารพื้นบ้าน 4 ภาค “โม โฮบบาย จุมคะเนีย” เมื่อวันก่อน
โอกาสนี้ อธิบดี สวธ.ร่วมเสวนา เรื่อง “การยกระดับ Soft power อาหารพื้นบ้าน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และ เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ร่วมกับตัวแทน เครือข่ายสภาศิลปะ เพื่อขับเคลื่อนการนำอาหารพื้นบ้านของไทยมายกระดับช่วยสร้างเสริมสุขภาพ และสร้างมูลค่าในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เป็นการสร้างกระแสให้ประชาชนหัน มาใส่ใจการรับประทานอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเยาวชนรุ่นใหม่ได้ตระหนักรู้ว่าอาหาร พื้นบ้านไทย มีคุณค่า เป็นการผสม “ศาสตร์” การดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาทางอาหาร กับ “ศิลป์” ความ พิถีพิถัน ความละเอียดอ่อนในการปรุงอาหาร ที่ช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับอาหารไทย
วันเดียวกัน นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดเเละชมการเเสดงงานเทศกาลวัฒนธรรมนานาชาติประเทศไทย ครั้งที่ 2 (The 2 nd Thailand Cultural Exchange Festival: 2 nd Thailand-CEF) โดย ผศ.ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กล่าวรายงาน ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (สวนใหม่) จังหวัดสุรินทร์
เทศกาลนี้เป็นการรวมพลังความเข้มเเข็งของชาวจังหวัดสุรินทร์ ในการอนุรักษ์ รักษา สืบทอด ส่งต่อศิลปวัฒนธรรมเเละภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้เเละเผยเเพร่สู่ระดับสากล สร้างทักษ ประสบการณ์อันดีในการเเลกเปลี่ยนภาษาเเละวัฒนธรรมของเด็กเยาวชน เเละประชาชน ร่วมเเสดงศิลปวัฒนธรรมของไทย เพื่อเป็นการขับเคลื่อน Soft Power ให้เเพร่หลายด้วยคุณค่าเเละมูลค่าทางเศษฐกิจ เชื่อมโยงการทำงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ
งานจัดยิ่งใหญ่มีคณะนักเเสดงนานาชาติจาก 11 ประเทศ เข้าร่วม ประกอบด้วยประเทศจีน โปเเลนด์ กัมพูชา รัสเซีย เกาหลีใต้ อิสราเอล อินเดีย อิตาลี ลาว เม็กซิโก และไทย ระหว่างวันที่ 5-14 กุมภาพันธ์ 2567 ณ สถานที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับความร่วมมือเเละการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ พิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติสุรินทร์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานพานิชย์จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ การท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดสุรินทร์เเละสมาคมส่งเสริมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มาดามแป้งหนุน MOU ศิลปินแห่งชาติ-มรภ.เชียงใหม่ พัฒนากิจกรรมวัฒนธรรม-วิจัย
ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการสืบสาน รักษา และต่อยอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
สวธ.สำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น‘บ้านทะเลน้อย’ พัทลุง ต่อยอดอัตลักษณ์ชุมชน
นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ลงพื้นที่ ณ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
สวธ.จับมือ มศว.พัฒนาสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ 5 ชุมชนจากมรดกวัฒนธรรม
5 มี.ค.2568 นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม) เป็นประธานในพิธีเปิดงานเสวนาวิชาการเพื่อพัฒนาความรู้ทางวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์ โดยมีนายชุมพล พรประภา นายกสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รศ.ดร.หทัยรัตน์ มาประณีต หัวหน้าโครงการฯ และรศ.ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์
สวธ.คว้ารางวัลด้านส่งเสริมผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดียตอกย้ำศักยภาพเผยแพร่วัฒนธรรม
นางมงคลทิพย์ รุ่งงามฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เข้าร่วมงานประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 13 เพื่อรับรางวัล Finalist ของกลุ่มรางวัล Best Brand Performance on Social Media สาขา Promotion and Support Agency
สวธ.ประชุมจัดการมรดกภูมิปัญญาน่าน ‘แข่งเรือ-ผ้าทอไทลื้อ-บ่อเกลือภูเขา’ เน้นฐานชุมชน
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การบริหารจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2568” เมื่อวันที่ 17-19 ก.พ.2568 ที่ผ่านมา เพื่อให้เด็ก
สวธ.หนุน Unfest’25 เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมหนังไทยสู่สากล
กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เดินหน้าสนับสนุนโครงการ Unfest’25 เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ให้พร้อมแข่งขันในเวทีสากล โครงการดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อวันที่ 20 - 22 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด