กมธ.แรงงาน วุฒิสภา ลงพื้นที่สกลนคร เยี่ยมสวนเกษตรอินทรีย์ ตัวอย่างแรงงานไทยย้ายถิ่น นำองค์ความรู้ต่อยอด สร้างอาชีพ รายได้งาม

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มอบหมายให้ นายจรินทร์ จักกะพาก รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน คณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา เป็นหัวหน้าคณะนำคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงานการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน และการติดตามกลุ่มตัวอย่างแรงงานไทยย้ายถิ่นซึ่งได้นำองค์ความรู้จากประสบการณ์การทำงานและเทคโนโลยีกลับมาพัฒนาต่อยอด โดยได้เยี่ยมพบปะกับนายรุ่งเรือง พรมกสิกร อายุ 43 ปี เจ้าของสวนเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ อยู่ที่ ต.ต้นผึ้ง อ.พังโคน จ.สกลนคร

นายจรินทร์ กล่าวว่า ในวันนี้ผมพร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ได้ลงพื้นที่มายังบ้านของนายนายรุ่งเรือง พรมกสิกร เจ้าของสวนเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ จ.สกลนคร ซึ่งจากการพูดคุยกับนายรุ่งเรือง ทราบว่า ก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศนายรุ่งเรือง ประกอบอาชีพทำงานโรงงานเป็นช่างเย็บผ้า ที่จังหวัดระยอง รายได้ประมาณเดือนละ 20,000 บาท เมื่อค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ จึงตัดสินใจเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เมื่อปี 2552 - 2557 เดินทางไปทำงานที่ประเทศอิสราเอล ตำแหน่งคนงานเกษตร เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยการจัดส่งของบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมาย เงินทุนที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ต้องยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ เป็นจำนวนเงิน 350,000 บาท ขณะนั้นได้เงินเดือนรวมค่าล่วงเวลาประมาณเดือนละ 4 - 7 หมื่นบาท ซึ่งในระหว่างทำงานที่ต่างประเทศ
ได้ศึกษาเรียนรู้ด้านการเกษตรเพื่อนำมาประกอบอาชีพที่บ้านเกิด เมื่อครบสัญญาจ้าง จึงได้เดินทางกลับประเทศไทย มีเงินคงเหลือจากการใช้หนี้ธนาคารประมาณ 2 ล้านบาท จึงได้ปลูกบ้านพักอาศัย ซื้อที่ดิน จำนวน 4 ไร่ เพื่อทำการเกษตร ซื้อรถยนต์ 1 คัน เพื่อขนส่งผลผลิตด้านการเกษตร และได้นำความรู้ที่ได้ศึกษาเรียนรู้มาจากการไปทำงานกลับมาทำสวนเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เช่น ปลูกกล้วยน้ำหว้า พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว มะนาว มันม่วงญี่ปุ่นพันธ์อิโกนาว่า และการให้น้ำ ใช้ระบบแบบสายน้ำหยด และได้เพาะพันธ์หนูพุกยักษ์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการประกอบอาชีพอีกช่องทางหนึ่ง รายได้จากการทำสวนเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ ประมาณปีละ 4 - 5 แสนบาท

นายจรินทร์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในปัจจุบันนายรุ่งเรืองเล่าเพิ่มเติมว่า เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นการปลูกพืชระยะสั้น ประกอบกับต้องการอยู่แบบอย่างเพียงมีความสุขมากกว่าไม่ต้องการกดดันตัวเองมากนัก ให้มีรายได้พอประมาณก็พอ จึงเปลี่ยนมาทำการเกษตรผสมผสานเกษตรอินทรีย์ จึงได้ปรับรูปแบบให้สอดคล้องตลาดปัจจุบัน โดยเพิ่มเติมปลูกมะละกอหลากหลายพันธ์ ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล แบบอินทรีย์ มีการทำโรงเรือนเลี้ยงตั๊กแตนพร้อมปลูกหญ้าพันธ์เนเปียร์สำหรับเลี้ยงตั๊กแตน บ่อเลี้ยงปลา รวมทั้งเลี้ยงกระบือเพื่อขยายพันธ์และใช้มูลเป็นปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันมีรายได้จากการ ขายมะละกอและตั๊กแตน เฉลี่ยประมาณวันละ 600 บาท
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปประเทศด้านแรงงาน จะได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ไปเสนอต่วุฒิสภา เพื่อ นำเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ เตรียมตรวจราชการจังหวัดภูเก็ต 19 เม.ย.นี้

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีกำหนดการตรวจราชการ ณ จังหวัดภูเก็ต ในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 เพื่อติดตาม

สีสันจบแล้ว! นายกฯ สั่งสรุปข้อมูลซักฟอก ปัดโต้ทุกดอก กลัวเดือดไป

'เศรษฐา' สั่งทีมงานสรุปข้อมูลซักฟอก สีสันจบแล้วจากนี้ขอทำงานต่อ ออกตัวยังไม่เก่งการเมือง ปัดโต้ทุกดอก กลัวเดือดมากไป ลั่นรับทราบฝ่ายค้านแนะปรับ ครม.

มท.2 ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ตรวจตลิ่งริมแม่น้ำอิง ก่อนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นางสาวพรพิมล ธรรมสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเอกภพ เพียรพิเศษ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

นายกฯ พบว่าเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย

ที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดสมบูรณ์ชล ต.อินทขิล อ.แม่แตง นายโอตากะ มาซาโตะ (H.E. Mr. OHTAKA Masato) ว่าที่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย เข้าพบนายเศรษฐา ท