เป็นที่ยอมรับว่า การดื่มเหล้าสร้างปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสุขภาพ มีรายงานยืนยันออกมาว่า สุราคร่าชีวิตคนทั่วโลกหนึ่งคนทุกสิบวินาที องค์การอนามัยโลกรายงานว่า แต่ละปีมีคนเสียชีวิตเพราะสุราไม่ต่ำกว่า 3.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 6 ของการเสียชีวิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน 53.3 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 16 เป็นประเภทดื่มจัด นอกจากนี้ การดื่มสุรายังสร้างความเสี่ยงให้เกิดโรคได้อีกสารพัด
สำหรับประเทศไทยนั้น มีข้อมูลระบุว่ามีผู้ดื่มเหล้าอยู่ประมาณ 30% แต่สังคมต้องเผชิญเรื่องร้ายๆ ของคนดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 30% ทั้งๆ ที่คนไม่ดื่มจำนวน 70% จึงเป็นโจทย์ปัญหาที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เรียกร้องให้ช่วยกันหาทางออก และพยายามลดจำนวนประชากรส่วนน้อยที่สร้างปัญหาให้ประชากรส่วนใหญ่อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก 1) สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เปิดเผยในงาน Thai Health Watch The Series ตอน เล่าเรื่องเหล้า:อยากให้เรื่องเล่าไม่มีเรื่องร้าย ว่าเรื่องเหล้าเป็นเรื่องหลากสีสัน เราต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องร้ายด้วยมุมมองใหม่ ทุกวันนี้เราพบข่าวสารร้ายๆ เกี่ยวกับนักดื่มแอลกอฮอล์ในหน้าหนังสือพิมพ์ บางคนพบประสบการณ์ตรง มีการเอะอะโวยวายในวงเหล้า ด้วยหลายๆ มิติส่งผลต่อการตัดสินใจ การตัดสินใจของแต่ละคนหาสิ่งถูกต้องได้ยาก ยึดเหตุผลอะไรเป็นหลัก ทุกคนเป็นคนไทย อยากให้มองลึกเข้าไปถึงหัวใจมนุษย์ ดูแลคนรอบข้าง ดังนั้นจึงได้เชิญวิทยากรมาร่วมแลกเปลี่ยน จุดประกายปัญหาเรื่องเหล้าให้ครบทุกมิติ สสส.ฝากช่วยกันดูแลเพื่อสังคมที่ปลอดภัย ผู้บริโภคอยากให้ทุกคนเคารพสิทธิซึ่งกันและกันด้วยมุมมองใหม่
นายพีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ นักจัดการด้านข้อมูลสื่อสารความรู้ Data Hatch เปิดข้อมูลประเด็น “เหล้า” เรื่องราวในโลกเล่า ขอนำชื่อบริษัทข้ามชาติ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่สร้างกำไรสูงสุดเป็นอันดับ 1 คือ Altria เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ผลิตบุหรี่ กำไร 37% บริษัท AB InBev บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านแอลกอฮอล์ ได้กำไร 31% อุตสาหกรรมบุหรี่เป็นอันดับ 3
อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ในช่วง 5 ปี ทำกำไรเป็นอันดับ 8 เวลาผ่านไป 5 ปีตกลงมาเป็นอันดับที่ 40 สำหรับเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์จากเดิมที่กำไรเป็นอันดับที่ 40 ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 23 แนวโน้มบริษัทแอลกอฮอล์กำไรน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเจาะลงไปถึงบริษัทที่สร้างกำไรในโลก 100 บริษัท เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ผลิตแอลกอฮอล์ถึง 5 บริษัท ที่มีการใช้เงินและทำโฆษณาสูงมาก โดยเฉพาะการทุ่มโฆษณาในกิจกรรม ภาพยนตร์ ดนตรี
งานวิจัยสถิติฟุตบอลโลกปี 2561 แมคโดนัลด์ บริษัทเหล้าและโคคา-โคล่าทุ่มโฆษณาเกี่ยวกับกีฬาสูงมาก ไม่ใช่เรื่องเหล้าเคล้ากีฬาแต่เพียงอย่างเดียว บริษัทเหล้ายังทุ่มโฆษณากับดนตรี โดยเฉพาะเทศกาลดนตรีใหญ่ๆ 600 งาน อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์จ่ายเงินโฆษณามากเหมือนเดิม รองลงมาจ่ายให้กับมีเดีย การกุศล ท่องเที่ยว โรงแรม รวมทั้งเครื่องดื่ม non แอลกอฮอล์ เทศกาลดนตรีจ่ายสูงสุด 600 งาน บริษัท 5 อันดับแรกเป็นบริษัทแอลกอฮอล์
ระดับรองลงมาเป็น บ.โตโยต้า บริษัท Monster บ.Energy Drink จะเห็นได้ว่าบริษัทแอลกอฮอล์จองครึ่งหนึ่งของเวทีคอนเสิร์ต เป็นการจองชื่อบนเวที จะเห็นได้ว่าแบรนด์ 6 อันดับบริษัทแอลกอฮอล์ได้ครองทั้งหมด รวมทั้งภาพยนตร์ มีการนำสินค้าวางในภาพยนตร์ ภาพยนตร์ 2,000 เรื่อง 80% มีฉากดื่มแอลกอฮอล์ มีชื่อ 44% ภาพยนตร์ทุกเรตติ้ง มีบริษัทแอลกอฮอล์ 93% ถ้าเยาวชนจะดูต้องมีผู้ปกครองช่วยแนะนำด้วย บริษัทแอลกอฮอล์แทรกเขาไปเป็นส่วนหนึ่งในสังคม
ทุกวันนี้แนวโน้มคนดื่มแอลกอฮอล์ทั่วโลกเปลี่ยนแปลง ปี 2546 ชายและหญิงที่เคยดื่มอย่างหนักหรือดื่มดุจนเมามาย มีแนวโน้มดื่มลดลงหลังจากปี 2546 ผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิง สาเหตุที่มีการดื่มแอลกอฮอล์น้อยลงได้มีการสำรวจแล้วว่า หลับดีมีสิ่งอื่นๆ ที่เข้ามาทดแทนได้ มีการเชิญชวนให้ชีวิตดีขึ้น เมื่อรักสุขภาพ มีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ควบคุมตัวเองได้ดี ถ้าเจาะลึกลงไปพ่อแม่ดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเป็นนักศึกษามากกว่ารุ่นลูก เพราะรุ่นลูกในช่วงที่เป็นนักศึกษามีกิจกรรมอย่างอื่นให้ทำมากกว่าการดื่มเหล้า ความกดดันทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป คนสมัยนี้มีกิจกรรมทางออนไลน์มากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องยุ่งเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ เด็กสมัยนี้อยู่กับครอบครัว พ่อแม่ไม่ต้องเผชิญกับความกดดัน ดื่มเหล้าประชด
อย่างไรก็ตาม รูปแบบของธุรกิจแอลกอฮอล์ก็มีการปรับเปลี่ยน ไม่ได้ทำให้การบริโภคแอลกอฮอล์ลดลงอย่างที่ควรจะเป็น อาทิในสังคมญี่ปุ่น เป็นที่สังเกตว่ามีการผลิตเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แต่รูปลักษณ์ ทำให้ไม่รู้ว่ามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ นอกจากนั้นมีการโฆษณาว่าเครื่องดื่มเหล่านี้ทำให้สุขภาพดี ทั้งๆ ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ดื่มแล้วไม่ต่างไปจากการดื่มเบียร์แต่อย่างใด
รศ. ดร. นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา เปิดเผยว่า ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติธุรกิจแอลกอฮอล์ ปี 2550-2564 ระบุว่ามีผู้หญิงดื่ม 10% ผู้ชายดื่ม 55% แต่มีแนวโน้มลดลงเหลือ 46% ถ้ามองในด้านการตลาดแนวโน้มผู้หญิงจะดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ชายถึงจุดอิ่มตัว กลุ่มที่ดื่มจะอยู่ในวัยทำงานเริ่มต้น 20-44 ปี
ส่วนเยาวชนดื่ม 10% แก่ตัวจะดื่มน้อยลง ดังนั้นในด้านการตลาดที่หยิบยกนำมาใช้ แอลกอฮอล์เพื่อสุขภาพ มีการเติมวิตามิน ไม่มีน้ำตาล รวมถึงนำเสนอตลาดน้ำแร่ นำเสนอโฆษณาผู้หญิงอยู่หน้าแล็ปทอป เคล็ดลับของสาวแก้มแดง ยืนอยู่ข้างสระว่ายน้ำดูมีสุขภาพแข็งแรงดี เป็นคนรุ่นใหม่มีทางเลือก มีการเปิดตัวสินค้าเครื่องดื่มลดน้ำตาล มีแคลอรีน้อย อาทิ เครื่องดื่มไฮเนเก้น มีการทำ magnet น้ำหอมยี่ห้อแอลกอฮอล์ยี่ห้อต่างๆ ติดหน้าตู้เย็น
การสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 89,000 คนที่ได้รับการตีพิมพ์นานาชาติ เมื่อแยกโฆษณาเป็นผู้ดื่มมากกว่า 16% กลุ่มที่ดื่มอยู่แล้วจะดื่มหนักขึ้น 51% กลุ่มที่ดื่มทั่วไป 35% องค์การอนามัยโลก (WHO) มีมาตรการลดแอลกอฮอล์นับตั้งแต่การแบนโฆษณา จำกัดการโฆษณาลงในบางช่วงเวลา การตลาดมุ่งเป้าสัดส่วน ถ้าเจาะลึกลงไปกลุ่มที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็ไม่ดื่มแม้จะโฆษณา แต่ปัจจุบันมีการโฆษณารูปแบบใหม่ที่ดูไม่รู้ว่าเป็นแอลกอฮอล์ นมเปรี้ยวมีแอลกอฮอล์ขายในร้านสะดวกซื้อ ปัจจัยเสี่ยงจากสุขภาพ บุหรี่ น้ำตาล ความดันโลหิต การไม่ออกกำลังกาย แอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อสุขภาพ
นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก หรือป้ามลแห่งบ้านกาญจนาภิเษก เปิดเผยว่า "เรื่องเหล้าไม่ได้มีมิติเดียวไม่ใช่เรื่องขาวกับดำ เด็กที่มาอยู่บ้านกาญจนามาด้วยคดีฆ่า รับจ้างฆ่า แต่ถูกจับมาเพราะดื่มหนัก วันปฐมนิเทศมีเหล้าเสียบคากระเป๋า เมื่อเข้ามาอยู่บ้านกาญจนา เด็กลั่นวาจาว่าผมจะเลิกเหล้าเพื่อให้เป็นของขวัญกับลูก ขณะเดียวกันเราห้ามมนุษย์ทุกคนไม่ให้ดื่มไม่ได้ ต้องยอมรับว่า Nobody's perfect แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องยอมรับสิทธิความเป็นมนุษย์ เด็กยุคนี้เกิดไม่ทันโครงการตาวิเศษเห็นนะ มีแคมเปญที่เป็นมิตรกับทุกคน เรารู้ว่านิโคตินเป็นความตายในอนาคต เราจะกลัวความตายปัจจุบันโดยไม่มีเงื่อนไข เด็กเปราะบางในสังคมเลือกที่จะพึ่งพาเหล้า เราก็ต้องช่วยชี้ทางรอดให้กับเขา สอนให้เขารู้จักการบันทึกเล่าเรื่องด้วยการเขียน ทำให้เขารู้สึกว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่ได้แปลกแยกไปจากสังคม เด็กบ้านกาญจนาเมื่อปล่อยตัวไปแล้วจะกลับมาพบกันทุกปี เด็กที่เคยก่อคดีเล่าความรู้สึกขอบคุณที่ให้วัคซีนกับผม"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ
จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น