เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 มี.ค. 2568 ที่วัดเหนือสำโรง ชุมชนบ้านกุดโง้ง ต.หนองโน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการชุมชนลดเสี่ยง ห่างไกลโรคหลอดเลือดสมอง บ้านกุดโง้ง หมู่ 3 ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จ.ขอนแก่น โดยใช้แนวทางการร่วมทุน (Co-investment) มุ่งพัฒนาศักยภาพภาคีให้ได้เรียนรู้แนวทางการกระจายโอกาสการสร้างเสริมสุขภาพ เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืน ปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ เกิดการรวมกลุ่มในชุมชนที่เข้มแข็ง รวมถึงข้อตกลงของชุมชน และฐานการเรียนรู้ อาทิ “อสม.คู่ใจ หมออนามัยใกล้บ้าน” วิธีการประเมินเบื้องต้นในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ (NCDs) “ยุทธการต้าน Stroke” แนวทางปฏิบัติการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง มุ่งเป้าสร้างการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และยกระดับเป็นชุมชนต้นแบบต่อไป
นายวีระ นิจไตรรัตน์ อดีตกรรมการบริหารแผน คณะที่ 6 สสส. และรองประธานกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างศักยภาพชุมชนเป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพ ด้วยแนวทางป้องกันดีกว่ารักษา เพื่อลดภาระด้านสาธารณสุข และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว โครงการร่วมทุนนี้ เริ่มตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567 มุ่งเน้นสานพลังชุมชนขับเคลื่อนสุขภาวะด้วยองค์ความรู้ สร้างการมีส่วนร่วม และพัฒนากลไกที่ยั่งยืนเพื่อป้องกันโรค NCDs โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จากข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ของระบบรายงานฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข ปี 2567 พบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสะสม 358,062 คน และเสียชีวิต 39,086 คน ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผู้ป่วยและเสียชีวิตสูงสุด โดยเฉพาะ จ.ขอนแก่น ในปี 2563-2565 พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่กว่า 2,000 คนต่อปี สสส. จึงสานพลัง อบจ.ขอนแก่น และภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพระดับท้องถิ่น มุ่งปรับพฤติกรรมสุขภาพผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนบ้านกุดโง้ง จ.ขอนแก่น เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป
“โครงการใช้หลักการดำเนินงาน 3อ 2ส 1น คือ อาหารดี ออกกำลังกายดี อารมณ์ดี งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา และปรับนาฬิกาชีวิตให้สมดุล เน้นสร้างการรับรู้ ปรับพฤติกรรมสุขภาพ และเสริมพลังด้วยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ผ่านกลไกการดำเนินงานที่เข้มแข็งและการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ ทั้งแกนนำชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคลากรสาธารณสุข จัดตั้งเป็นคณะกรรมการฝ่ายบริหารโครงการ 12 คน และคณะทำงานแกนนำสุขภาพ 24 คน ส่งผลให้กลุ่มผู้ป่วยในชุมชนบ้านกุดโง้งสามารถควบคุมค่าความดันโลหิตเพิ่มขึ้นจาก 16 คน เพิ่มเป็น 36 คน สะท้อนผลลัพธ์เชิงประจักษ์ภายใน 90 วัน” นายวีระ กล่าว
นายวัฒนา ช่างเหลา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า อบจ.ขอนแก่น มุ่งสนับสนุนและร่วมสร้างกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานด้านสุขภาพเข้าถึงประชาชนได้อย่างตรงจุด ชุมชนบ้านกุดโง้ง มีศักยภาพความพร้อมในการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน สสส. เข้ามาร่วมทุนเป็นภาคีเครือข่ายที่ช่วยขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ สร้างองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน โครงการนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าสุขภาพดี เริ่มต้นที่ชุมชน ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ช่วยสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน และสามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ใน จ.ขอนแก่น ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน นำไปสู่การสร้างรากฐานของการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
พญ.วรุณยุพา พรพลทอง รักษาการหัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ชุมชนบ้านกุดโง้งมีประชากร 1,172 คน มีผู้ป่วยโรค NCDs 150 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 7 คน ประชาชนจะมีสุขภาพดีได้ต้องมาจากการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากทุกภาคส่วน ส่งผลให้ชุมชนบ้านกุดโง้งมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งลดค่าน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และดัชนีมวลกาย ปัจจัยที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ 5 ประเด็น คือ 1.สำรวจข้อมูลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง 2.ส่งเสริมให้ประชาชนปรับพฤติกรรมสุขภาพ 3.อบรมให้ความรู้ 4.สร้างพันธะสัญญา 90 วันเพื่อสุขภาพดี ลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย และลดปัจจัยเสี่ยงอย่างบุหรี่และสุรา ผ่าน ‘ข้อตกลงร่วมของชุมชน’ เช่น ทุกครัวเรือนปลูกผักกินเอง กิจกรรมออกกำลังกายประจำสัปดาห์ งานบุญปลอดเหล้า 5.เฝ้าระวังประเมินพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมสุขภาพที่ดีให้กับชุมชนในระยะยาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสส. สานพลัง สกร. ดึง บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” 30 แห่ง พร้อมครูศูนย์การเรียนรู้ ร่วมสร้างพื้นที่เติมสุข(ภาวะ) ในชุมชน
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 23 เม.ย. 2568 ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) กระทรวงศึกษาธิการ
สสส. สานพลัง สคล.-มูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม ดีเดย์ รณรงค์เทศกาลสงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า 2568
สสส. สานพลัง สคล.-มูลนิธิเครือข่ายพลังสังคม ดีเดย์ รณรงค์เทศกาลสงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า 2568 ผลสำรวจชี้ไม่ดื่มช่วยลดอุบัติเหตุ-ลดเสี่ยง-ลดทะเลาะวิวาท-ล่วงละเมิดได้ ประชาชน 91.4% เห็นด้วยจัดสงกรานต์ปลอดเหล้าลดอุบัติเหตุ อีก 75% ชอบสงกรานต์แบบไร้แอลกอฮอล์ พร้อมชวนลด 6 พฤติกรรมเสี่ยง Call out ไม่เอาน้ำเมา
'ยกระดับ ไม่ยกเว้น' สสส. สานพลังภาคี ชวนมองชุมชนไม่ขึ้นทะเบียน ไร้โอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดี กระทบเศรษฐกิจ-สุขภาพ ชู โครงการ 'ชุมชนยกกำลังดี' สร้างพื้นที่สร้างสรรค์-อาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิต 48 ชุมชนไม่ขึ้นทะเบียนทั่วกรุงฯ พร้อมเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งร่วมขับเคลื่อนเมืองสุขภาวะ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และภาคีเครือข่าย จัดงาน Commune Can Do Face รวมเพื่อน เชื่อมคน ชุมชนยกกำลังดี ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนไม่ขึ้นทะเบียนกรุงเทพมหานคร “ชุมชนยกกำลังดี” เปิดพื้นที่กระจายโอกาสให้คนในชุมชนที่ไม่ขึ้นทะเบียนทั่วกรุงเทพฯ สะท้อนคุณค่าและตัวตนของคนในชุมชน
สสส.-โคแฟค เตือนประชาชน ระวังมิจฉาชีพส่ง SMS ดูดข้อมูลส่วนตัว-อย่าหลงเชื่อข่าวปลอมบนออนไลน์อ้างเหตุการณ์แผ่นดินไหว ชวนทุกคนใช้แพลตฟอร์ม 'cofact' ตรวจสอบข่าวให้ชัวร์ ก่อนแชร์ พร้อมแนะนำคาถา 'อย่าเพิ่งเชื่อ อย่าเพิ่งแชร์ อย่าเพิ่งโอน' ป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
ชวนทุกคนใช้แพลตฟอร์ม 'cofact' ตรวจสอบข่าวให้ชัวร์ ก่อนแชร์ พร้อมแนะนำคาถา 'อย่าเพิ่งเชื่อ อย่าเพิ่งแชร์ อย่าเพิ่งโอน' ป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
หวั่น! แผ่นดินไหวกระทบสุขภาพจิต สสส.-กรมสุขภาพจิต ชวนเช็คความเสี่ยง-วิธีรับมือความวิตกกังวล เผยอาการเวียนหัวอาจเป็น“โรคสมองเมาแผ่นดินไหว” พร้อมชี้ช่องทางเข้าถึงการดูแลจิตใจ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่ทำลายอาคารบ้านเรือนพังเสียหายเป็นวงกว้าง แต่ผู้ประสบภัยจำนวนมากยังคงอยู่กับความหวาดกลัว วิตกกังวล จนอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ