รวมพลศิลปินแห่งชาติสืบสานศิลป์

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้โครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร ซึ่งตระเวนบ่มเพาะศิลปะให้กับเด็กและเยาวชนและครูศิลปะทุกภาคของไทยต้องหยุดชั่วคราว ถือเป็นโครงการที่เด็กไทยต่างเฝ้ารอ เพราะเปิดโอกาสในการเรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและซึมซับแนวคิดในการทำงานศิลปะจากบรรดาศิลปินแห่งชาติแบบใกล้ชิด

เพื่อสืบสานเป้าหมายโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร หอศิลป์กมล ทัศนาญชลี ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และมูลนิธิ จิตร บัวบุศย์ จัดกิจกรรม โครงการศิลปินแห่งชาติ สืบสานศิลป์ สร้างคุณค่าวิถีไทย โดยรวมศิลปินแห่งชาติมาร่วมพัฒนาทักษะ แนวคิด และประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสร้างงานทัศนศิลป์ ณ บ้านศิลปินแห่งชาติ หอศิลป์กมล ทัศนาญชลี  ย่านฝั่งธนบุรี ซึ่งมีเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และครูอาจารย์ศิลปะร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565

เวิร์คช็อปแบ่งเป็น 4 ฐาน ได้แก่ ฐานศิลปะ 1. สร้างสรรค์จิตรกรรม วิทยากรโดย ศ.พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์   2.สร้างสรรค์ภาพพิมพ์ โดย ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์  และวิทยากรศิลปินต้นแบบด้านศิลปะจากวิทยาลัยเพาะช่าง 3. สร้างสรรค์เซรามิค โดย ศิลปินแห่งชาติและศิลปินต้นแบบด้านศิลปะจากเพาะช่าง  และ 4. สร้างสรรค์การถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์มือถือ วิทยากรโดย นายวรนันท์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย)

ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับศิลปินแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกิจกรรมศิลปินแห่งชาติสัญจร ซึ่งช่วงโควิดที่ผ่านมา ทำให้ต้องงดกิจกรรม ประจวบกับที่ ดร.กมล ทัศนาญชลี  เดินทางกลับมาจากสหรัฐอเมริกา จึงมีแนวคิดจัดกิจกรรมย่อยเหมือนกับศิลปินแห่งชาติสัญจร ชวนนักเรียนในละแวกใกล้เคียงกับหอศิลป์กมล ทัศนาญชลี ร่วมกิจกรรม จัดฐานศิลปะที่น่าสนใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างศิลปินแห่งชาติ 3 สาขา  ศิลปินต้นแบบกับผู้เข้าอบรม ส่วนศิลปินแห่งชาติสัญจรมีแผนจะจัดขึ้นในปี 2566

ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการศิลปินแห่งชาติ สืบสานศิลป์ สร้างคุณค่าวิถีไทยว่า ตั้งใจสนับสนุนให้การเรียนรู้ศิลปะมีความต่อเนื่องจากโครงการที่เคยทำ  แม้ไม่ใช่งานใหญ่  แต่ให้ครู นักเรียน โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ร่วมเรียนงานศิลป์แขนงต่างๆ โดยใช้หอศิลป์แห่งนี้จัดเป็นพื้นที่เรียนรู้ แต่ละฐานมีศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ให้ความรู้

“ ครูและนักเรียนสนใจร่วมกิจกรรมเกินความคาดหมาย   แต่ละฐานมีผู้อบรม 30-40 คน อย่างฐานภาพพิมพ์ ผมให้ความรู้เบื้องต้น  การสร้างภาพพิมพ์จะต้องมีจรรณยาบรรณเหมือนกับจรรยาบรรณแพทย์ เพราะการสร้างภาพพิมพ์ต้องมีนัมเบอร์ ไม่มีการทำซ้ำ เพื่อให้งานที่ทำขึ้นมีคุณค่า หวังว่า เยาวชนและครูอาจารย์ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้จะนำความรู้ได้รับไปต่อยอดในอนาคต “ ดร.กมล กล่าว

ส่วน .พิเศษอารี สุทธิพันธุ์ ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า จิตรกรรมคือศิลปะที่เกิดขึ้นโดยผู้ที่สร้างสรรค์ตามสัญชาตญาณ สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้สอน คือ การเริ่มต้นเรียนรู้ของผู้เรียน จากตัวตน จากความชอบ ผู้สอนไม่สามารถที่จะกำหนดทิศทางของการวาดได้ แต่สามารถสอนให้รู้จักสีชนิดนั้นๆ หรือการรู้หลักของคณิตศาสตร์ 

“ การจะสร้างงานจิตรกรรม สิ่งที่พึ่งมี คือ ความเร็ว การเปลี่ยนมุมมอง การแบ่งเท่าๆกัน การดึงเอาส่วนสำคัญออกมา การเพิ่มขึ้น และการทำลาย โดยผู้เรียนจะต้องเป็นศูนย์กลาง  “ ศ.พิเศษ อารี ให้เคล็บลับ

ด้าน วรรณี ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ กล่าวว่า ร่วมงานกับ อ.กมล มากว่า 10 ปี ยินดีที่ได้มามอบความรู้ให้กับเด็กๆ เพราะบางทีโอกาสในการเรียนรู้เข้าถึงได้ยาก ในฐานสอนถ่ายภาพให้ความรู้เบื้องต้นในการถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์มือถือ เช่น การรู้จักการถ่ายภาพแบบต่างๆ การใช้กล้องแต่ละประภเท แม้เวลาอบรมจำกัด เชื่อว่าได้รับความรู้ ความสนุกผ่านฐานศิลปะแต่ละฐาน

เสียงจากเยาวชน เอกภักดิ์ สุขคลี นร. ป.5 รร.วัดทองเพลง บอกว่า คุณครูพาเข้าร่วมกิจกรรม คิดว่าการวาดภาพสามารถทำได้ง่ายและไม่ยาก เพราะได้ทำตามจิตนาการ ในฐานจิตรกรรมสนุกมาก ศิลปินแห่งชาติให้ตนได้วาดรูปอย่างที่ต้องการ ได้วาดภาพทะเล สนุกที่ได้ใส่ความคิดลงไปในภาพวาด ชอบมาก

จีรศักดิ์ วิมุตติ นร.  ม.2 จาก รร.เดียวกัน  บอกว่า เป็นครั้งแรกที่ได้มาเรียนรู้ศิลปะกับศิลปินแห่งชาติ ได้ความรู้การทำภาพพิมพ์ เทคนิคการวาดภาพบนพลาสวูด ซึ่งต่างจากกระดาษ การใช้มีดแกะภาพพิมพ์ ท้าทายความสามารถและได้เรียนรู้ศิลปะใหม่ๆด้วย

ทั้งนี้ ผู้ผ่านอบรมได้รับมอบเกียรติบัตรเพื่อยืนยันความรู้และประสบการณ์การสร้างสรรค์งานศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากศิลปินแห่งชาติ และยังเกิดผลงานศิลปะงดงามเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจมากมาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนชิม 10 เมนูอาหารถิ่น หากินยาก

เหลือเวลาอีก 2 วันที่จะได้ชิม ช้อป เมนูอาหารถิ่นในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" งานนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดเมนูอาหารหาทานยาก ภายใต้โครงการ "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

สวธ.จัดมหกรรมลำกลอนกระหึ่ม‘มหาสงกรานต์ อีสานหนองคาย’ สืบสานประเพณี

17 เม.ย.2567 - หมอลำกลอนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของหนองคาย เป็นศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบสานควบคู่กับประเพณีสงกรานต์ไทยในงานเฉลิมฉลอง “มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย สงกรานต์ผ้าขาวม้า สมมาหลวงพ่อพระใส 2567” ที่วัดโพธิ์ชัย วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ตลอดการจัดงานระหว่างวันที่

สวธ.จัดเต็มการแสดงพื้นบ้าน เพลงดังจากศิลปินแห่งชาติ ฉลองสงกรานต์วัดสุทัศน์ฯ

16 เม.ย.2567 - เทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 วัดสุทัศน์ฯ เป็นอีกพิกัดฉลองสงกรานต์ มาเรียนรู้คุณค่าประเพณีสงกรานต์ไทย และมาเข้าเสริมบุญเป็นสิริมงคลปีใหม่ไทย

ตระการตา วธ.เปิดประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย ‘เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ขอนเเก่น’

16 เม.ย.2567 - กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย (Songkarn in Thailand, traditional Thai New Year festival) "เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์จังหวัดขอนเเก่น" ประจำปี 2567