'สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ' ชวนนอนนับ 'ฝนดาวตกเจมินิดส์' คืนนี้

สดร.ชวนโต้ลมห่มหนาว นอนนับฝนดาวตกเจมินิดส์ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ท่ามกลางลมหนาวระลอกใหม่จากจีน เผยทั่วประเทศดูได้ตาเปล่าหัวค่ำเป็นต้นไปมากสุด 150 ดวง/ชม.

14 ธ.ค.2565 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ชวนร่วมกิจกรรม “โต้ลมห่มหนาว นอนนับฝนดาวตกเจมินิดส์" คืนนี้ (14 ธ.ค.) ในเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด อ่างเก็บน้ำห้วยลาน ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมชมวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจต่างๆ อาทิ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร กาแล็กซี เนบิวลา และกระจุกดาว ฯลฯผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากชนิด

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า สดร. ร่วมกับ เทศบาลตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ “โต้ลมห่มหนาว นอนนับฝนดาวตกเจมินิดส์” โดยใช้พื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำห้วยลานที่ค่อนข้างมืด ปราศจากแสงไฟรบกวน เหมาะแก่การสังเกตการณ์ฝนดาวตกเป็นอย่างยิ่ง ภายในงานมีกิจกรรมดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ได้แก่ บรรยายการดูดาวเบื้องต้น แนะนำวัตถุท้องฟ้าและกลุ่มดาวฤดูหนาว แนะเทคนิคการถ่ายภาพฝนดาวตก ชมวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์ และนอนนับฝนดาวตก เริ่มตั้งแต่เวลา 17:00-23:00 น. ผู้สนใจร่วมงานลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้าได้ที่ <https://bit.ly/NARIT-Geminids-2022สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 088-5477834>

สำหรับผู้ที่ประสงค์พักค้างคืน ชุมชนออนใต้มีบริการที่พักโฮมสเตย์ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 064-7466377 / 084-9147111 และลานกางเต็นท์ (สำนักงานป่าไม้) โทร. 083-7142654 ส่วนผู้สนใจจะร่วมกิจกรรมในภูมิภาคอื่นก็สามารถเข้าร่วมได้ที่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา โทร. 086-4291489 และ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ
7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา (มีพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ฟรี) โทร. 084-0882264 หรือสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ โดยควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน แนะนำให้นอนชม เนื่องจากฝนดาวตกกระจายทั่วท้องฟ้า

สำหรับฝนดาวตกเจมินิดส์มีจุดเด่นคือ มีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประกอบกับมีอัตราตกค่อนข้างมากจึงสังเกตได้ง่าย สามารถมองเห็นได้รอบทิศ ถือเป็นโอกาสดีในการติดตามชมฝนดาวตกท่ามกลางอากาศหนาวเย็นที่ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากจีนแผ่ปกคลุมมาอีกระลอกช่วงนี้พอดี

ทั้งนี้ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ มักเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 4-20 ธันวาคมของทุกปี มีศูนย์กลางกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ ปีนี้นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดในคืนวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง คืนดังกล่าวกลุ่มดาวคนคู่จะปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเวลาประมาณ 20:00 น. สามารถสังเกตได้จนถึงเวลาประมาณ 23:00 น. หลังช่วงเวลาดังกล่าวยังคงสามารถชมฝนดาวตกได้ แต่จะมีแสงจันทร์ข้างแรม 6 ค่ำรบกวน ฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านสายธารของเศษหินและเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ของดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ที่หลงเหลือทิ้งไว้ขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ เกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่เรียกว่า Fireball

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' ลงพื้นที่ 'เชียงใหม่' ให้กำลังใจทีมสู้ไฟป่า เตือนพวกชอบเผา จับได้ โทษหนักแน่

'อนุทิน' ลงพื้นที่ 'เชียงใหม่ 'ให้กำลังใจทีมสู้ไฟป่า ลั่น 'ผมเป็นทีมเดียวกัน' มอบ 'ผู้ว่าฯ' คุมสถานการณ์ ให้คำมั่น รัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ เตือน พวกชอบเผา จับได้ โทษหนักแน่

นายกฯ สวมชุดชาติพันธุ์ลีซู ยัน ดันร่างพ.ร.บ. ชาติพันธุ์เข้าสภา ก.ค.นี้

นายกฯ สวมชุดชาติพันธุ์ลีซู เปิดงานกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมท่องเที่ยววิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธ์ ยันรัฐบาลให้ความสำคัญความเสมอภาคเท่าเทียม ดันร่างพ.ร.บ. ชาติพันธุ์เข้าสภาไม่เกินก.ค.นี้

'โรม' ซัดรัฐบาลหลอกประชาชนชัดเจนเรื่องทักษิณป่วย!

'โรม' แซะสุขภาพ 'ทักษิณ' ชี้สังคมคาใจป่วยจริงหรือ รบ.หลอก เสี้ยมเพื่อไทยเลือกปฏิบัติ นายใหญ่-เศรษฐา จวก โทนี่ได้กลับไทย เป็นอภิสิทธิชน ไม่ได้เกิดกับทุกคน

นักการเมือง-ข้าราชการแห่ต้อนรับ 'นักโทษทักษิณ' เหยียบเมืองเชียงใหม่

'ทักษิณ' สีหน้าสดใส ควง 'อุ๊งอิ๊ง' ชมอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ 'อดีตนายกฯสมชาย -เจ๊แดง-ธรรมนัส' รอรับ เจ้าตัวบอกเชียงใหม่เหมือนเดิม

สดร.เผยภาพดาวหาง ฝีมือคนไทยบันทึกจากยอดดอยอินทนนท์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่