'กสม.-ยธ.' ถกปม 'ตะวัน-แบม' อดอาหาร พร้อมดำเนินการปฏิรูปการปล่อยตัวชั่วคราว

กสม.-ยธ.ร่วมถกปม'ตะวัน-แบม'อดอาหาร ยธ.พร้อมดำเนินการปฏิรูปการปล่อยตัวชั่วคราวสนับสนุนหลักประกันในการปล่อยตัว ผ่านกลไกของกองทุนยุติธรรม กสม.หนุนการจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายไปยังครม.รัฐสภา

1ก.พ.2566 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกระทรวงยุติธรรม แถลงการณ์ร่วม เรื่อง ความห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้ต้องขัง มีใจความว่า ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.45 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม อาคารกระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายวิทยา สุริยะวงค์ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อหารือในประเด็นความห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้ต้องขัง กรณีนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ (ตะวัน) และนางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ (แบม) ทั้งนี้ กสม. นำโดย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ นายสุชาติ เศรษฐมาลินี นางสาวสุภัทรา นาคะผิว พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของ กสม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล และนายภาณุวัฒน์ ทองสุข ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

การหารือมีข้อสรุปร่วมกันในเบื้องต้น ดังนี้

1.กระทรวงยุติธรรมพร้อมพิจารณาดำเนินการปฏิรูปในประเด็นการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อให้การปฏิบัติในปัจจุบันสอดคล้องกับหลักการในมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ “ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด แสดงว่า บุคคลใดกระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” และ “การจับกุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้หลบหนี”

2. กระทรวงยุติธรรมพร้อมพิจารณาทบทวนระเบียบปฏิบัติที่ใช้บังคับในปัจจุบันเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในคดีความแตกต่างทางความคิดหรือความเห็นต่าง ซึ่งไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี และยังไม่มีการพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดให้สามารถคุมขังในสถานที่อื่นซึ่งไม่ใช่เรือนจำได้ ซึ่งรวมถึงการคุมขังที่บ้าน (House Arrest) เพื่อไม่เป็นการปฏิบัติต่อบุคคลดังกล่าวเสมือนเป็นผู้กระทำความผิด

3. กระทรวงยุติธรรมพร้อมให้การสนับสนุนหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาผ่านกลไกของกองทุนยุติธรรม

4. กสม. จะให้การสนับสนุนในการจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนไปยังคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมศักดิ์-สุริยะ' กลับคอกเก่า! ด่าบ้านที่จากมายศถาบรรดาศักดิ์เยอะแก้เศรษฐกิจไม่เป็น

'สมศักดิ์' ควงเมียพร้อม 'สุริยะ' สวมเสื้อเพื่อไทยเป็นทางการ รมต.เรียงหินลั่นไม่เปลี่ยนขั้วการเมืองแล้ว ฟากสุริยะหม้อข้าวเก่าแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ไม่มีใครเชียร์ให้อยู่ที่เดิมเลย

'แม้ว' ปัดดีล 'พปชร.' ตั้งรัฐบาล หยาม 'ป้อม' สังขารไม่ไหวแล้ว เป็นได้แค่นายกขึ้นลงจากเวที

'ทักษิณ' ปัดดีล 'พปชร.' ตั้งรัฐบาลฝ่าด่าน 250 หยาม 'ป้อม' สังขารไม่ไหวแล้ว เป็นได้แค่ นายกขึ้น-นายกลงจากเวที ลูกน้องค้ำเอาไว้เกาะทำมาหากิน และยากที่จะนั่งคุยกันตั้งรัฐบาล ปิดทางเข้าช่อง 'พจมานคอนเนกชั่น' เพราะแค่รู้จักแต่ไม่สนิท'ประวิตร- พัชรวาท'

'นันทิวัฒน์' ซัด 'ทนายสามนิ้ว' ใจเป็นทาส อยากเห็นคนในกระบวนการยุติธรรมถูกจับเมื่อไปต่างประเทศ

'นันทิวัฒน์' ซัดมันบ้าไปแล้ว 'ทนายสามนิ้ว' อยากเห็นคนในกระบวนการยุติธรรมถูกจับเมื่อเดินทางไปต่างประเทศในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน จวกตัวเป็นไทยใจเป็นทาส ทั้งที่ร.4-ร.5ต่อสู้กับฝรั่งนักล่าอาณานิคม ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น

ดินฟ้าอากาศเปลี่ยน! สมศักดิ์ให้เหตุผลย้ายพรรคใหม่

'สมศักดิ์' โพล่งกลางงานบอกแล้วย้ายพรรคใหม่ เตรียมแถลงเปิดใจ 17 มี.ค.นี้ บอก ดิน-ฟ้า-อากาศก็ต้องปรับให้เข้ากับสภาอากาศ พร้อมโวผลงานนั่ง รมต.ยุติธรรม

'ธนกร' ไม่ก้าวล่วงเส้นทาง 'สุริยะ-สมศักดิ์' แต่ขออยู่กับลุงตู่เพราะเป็นผู้ให้โอกาส

'ธนกร' เผย ครม.ตั้งให้นั่งรักษาการ รมว.อุตสาหกรรมไม่มีนัยอะไร ไม่ขอก้าวล่วงเส้นทางการเมือง 'สมศักดิ์-สุริยะ' ยันยังเคารพมีความผูกพันไม่เสื่อมคลาย

'แกนนำ3นิ้ว' ฝันเห็นคนในกระบวนการยุติธรรมไปเที่ยวต่างประเทศ โดนจับข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน

'แกนนำ3นิ้ว' ฝันเห็นคนในกระบวนการยุติธรรมไปเที่ยวต่างประเทศ โดนจับข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชน