'ดร.สุวินัย' ชี้คำสารภาพบาปของ 'ศิลป์ชัย' ถูกหลอกใช้ ปล่อยข่าวปลอมเพื่อใส่ร้ายบ่อนทำลายสถาบัน

25 เม.ย.2566- รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก หัวข้อ คำสารภาพบาปของ ศิลป์ชัย นักศาสนวิทยาคนนั้น โดยระบุรายละเอียดดังนี้

ผมอ่าน “คำขออภัยของผู้ลี้ภัย(คนหนึ่ง)” ของนายศิลป์ชัย นักศาสนาวิทยาคนนั้น ในฐานะที่เป็น “คำสารภาพบาป” ของตัวเขาเองนะ

สังสารวัฏนี้เป็นดุจมหากาพย์ที่ไม่รู้จบ (never-ending story) และโลกนี้คือละคร โดยที่ละครชีวิตของใครบางคนเป็นแค่ “ตลกร้าย” (dark comedy) เรื่องหนึ่งเท่านั้น

ศิลป์ชัยเป็นลิเบอรัลไทยที่น่าสนใจคนหนึ่ง เพราะเขาเป็นคนที่ชอบ “เปลือยความคิด เปลือยตัวตน” ของเขาออกมาอย่างหมดเปลือก

วิบากกรรมในชีวิตที่ตัวศิลป์ชัยได้เผชิญในวัยห้าสิบกว่า ล้วนเป็นสิ่งที่เขาทำตัวเองทั้งสิ้น มิใช่ใครอื่นเลย
ศิลป์ชัยเป็นคนสารภาพออกมาเองว่า เขาถูกหลอก! ให้ปล่อยข่าวปลอมเกี่ยวกับเรื่องสถาบันมาโดยตลอด เขาบอกว่า

“ตรงนี้เองที่ผมถูกหลอก ซึ่งคนที่หลอกผมได้ใช้เวลาพอสมควร ค่อยๆหลอกล่อผมอยู่เป็นเวลาหนึ่งว่า เธอเป็นคนใกล้ชิดมากคนหนึ่งและอาสาเป็นสายข่าวคอยให้ข้อมูลภายใน …หลังจากผมต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ ผ่านมาเป็นปี ผมเพิ่งรู้ตัวและตาสว่างว่าตัวเองถูกหลอก ผมจึงติดต่อกลับไปยังเธอผู้เป็นสายข่าววงในนั้นว่าคุณหลอกผมทำไม … เธอก็ยอมรับ บอกว่าหนูเสียใจที่หลอกอาจารย์ เธอร้องไห้สารภาพว่า พวกเธอถูกจ้างมาเป็นทีม มีด้วยกันหกคน เธอเป็นคนเปิดหน้าคุยกับผม ที่เหลือเป็นทีมเทคนิคแฮกเกอร์คอมพิวเตอร์อินเทอเน็ต”

พอรู้ตัวว่าถูกหลอก ศิลป์ชัยเสียใจ ช้ำใจมาก เขาตัดสินใจเลิกหรือหยุดการสื่อข่าวสารเรื่องวังอย่างเด็ดขาด แต่ก็ไม่วายที่ช่องทางสื่อสารของเขาในตอนนั้นได้ถูกแฮกเกอร์เข้ามายึดและสวมรอยหมด จนเขาต้องหยุดใช้ ปิดยาว หรือบางอันต้องทิ้งไปเลย

ศิลป์ชัยตัดสินใจใช้ชีวิตแบบ “ลงโทษตนเอง” เพื่อไถ่บาป เป็นเวลานานถึงสี่ปีเต็มตั้งแต่ ปี 2019-2023

…..

“ความกลัว” ทำให้ศิลป์ชัยตัดสินใจลี้ภัยไปต่างประเทศ

ก่อนหน้านั้นศิลป์ชัยเคยนึกว่าตัวเองไม่กลัวในสิ่งที่ได้ทำลงไปและกำลังทำอยู่ แต่พอเจอสถานการณ์จริงเข้าจริงๆ ศิลป์ชัยถึงรู้ตัวรู้แก่ใจดีว่าตัวเองกลัวมาก และตระหนักอย่างถ่องแท้ตัวเองไม่ใช่นักสู้ผู้กล้าแต่อย่างใดเลย

การต่อต้านท้าทายอำนาจรัฐ ไม่ต่างจากการไปแหย่เสือร้าย ไม่ว่าประเทศไหนหรือยุคใดจะต้องเอาชีวิตตนเองเป็นเดิมพันเสมอ ถ้าไม่ตระหนักไว้เผื่อใจไว้ก่อน ชีวิตเจ้าตัวจะถูก “ความกลัว” ไล่ล่าจนอยู่ไม่สุข ถ้าทนไม่ไหวก็ต้องย้ายประเทศลี้ภัยไปอยู่ที่อื่น

ศิลป์ชัยได้ลิ้มลองชีวิตแบบ”คนหนีตาย” ที่ฝรั่งเศส ที่ย่ำแย่กว่าชีวิตของ “คนหนีคดี” แบบอั๊ม เนโกะเสียอีก
ตอนนั้น ศิลป์ชัยรู้สึกเหมือนคนใจสลาย ไร้อนาคต ไม่รู้จะไปทำอะไรกิน อันที่จริงพวกผู้ลี้ภัยคดี 112 ที่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้หวังดีหรือหวังช่วยอะไรศิลป์ชัยหรอก คนพวกนั้นหลายคนยังไม่มีงานทำกันเลย คนพวกนั้นแค่ต้องการดึงศิลป์ชัยไว้เพื่อใช้ชื่อเสียงของดร. ศิลป์ชัยที่มีในขณะนั้นเป็นเครื่องดึงดูดในการทำกิจกรรมปฏิกษัตริย์นิยมของพวกเขาให้ได้รับความสนใจยิ่งขึ้นเท่านั้น

“คนทุกคนล้วนต่างทำเพื่อตัวเองเท่านั้น” (everyman for himself)
ไม่มีห้วงยามใดที่ศิลป์ชัยตระหนักถึงคำสอนนี้เท่าตอนที่อยู่ในฝรั่งเศสอีกแล้ว

ตอนนั้นศิลป์ชัยมีอายุใกล้หกสิบแล้วและแพ้ความหนาวเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงตัดสินใจอพยพไปอยู่ที่นิวซีแลนด์ตามคำชักชวนของตั้ง อาชีวะแทน

ศิลป์ชัยมาพำนักอยู่กับตั้ง อาชีวะและครอบครัวแบบคนใกล้ชราที่หมดสภาพจริงๆ เมืองที่เขามาอยู่กับครอบครัวตั้งเป็นเมืองเล็กๆ ขณะที่เงินสดที่เขาพกติดตัวก็ร่อยหรอจนเกือบหมด

ศิลป์ชัยพยายามกินอยู่อย่างประหยัด แต่มีของชิ้นใหญ่ที่เขาตัดสินใจยอมซื้อคือจักรยานกับเปียนโน โดยเฉพาะเปียโนมันช่วยเยียวยาบาดแผลที่ใจสลายของเขาพอได้บ้าง

ศิลป์ชัยพยายามประหยัดค่าอาหารการกิน ด้วยการขี่จักรยานไปต่อแถวขอรับอาหารฟรีที่องค์กรช่วยเหลือสังคมของชาวคริสต์แจกให้ตามจุดต่างๆในเมือง เพื่อเอากลับมาทานที่บ้านได้คราวละหลายวัน พออาหารหมดก็ขี่จักรยานไปรับใหม่

ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ศิลป์ชัยสนิทกับตั้งมาก ตั้งเคยเล่าให้เขาฟังว่าสมัยที่เขาเป็นเสื้อแดง ขึ้นไปปราศรัยบนเวทีเสื้อแดง พูดหมิ่นสถาบันอย่างหยาบคายยังไง จนโดนคดี 112

มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ตั้งและครอบครัวต้องตระเวณไปตามเมืองต่างๆเพื่อหาช่องทางทำมาหากินใหม่ๆ ตั้งจึงฝากศิลป์ชัยให้ช่วยอยู่เฝ้าบ้านให้เขานานเป็นเดือน โดยตั้งแอบซ่อนกล้องไว้ตามจุดต่างๆในบ้านเพื่อคอยสอดส่อง แต่ไม่ได้บอกให้ศิลป์ชัยรู้

อันที่จริงเหตุที่ตั้งชักชวนศิลป์ชัยมาอยู่กับเขาที่นิวซีแลนด์ก็เพื่อให้ศิลป์ชัยมาช่วยเลี้ยงลูกสองคนที่ยังเล็กของเขานั่นเอง (คนทุกคนล้วนทำเพื่อตัวเองทั้งนั้น)

พออยู่เฝ้าบ้านของตั้งคนเดียวนานเป็นเดือน ศิลป์ชัยจึงรู้สึกเปลี่ยวเหงาอย่างรุนแรง และคลายความระวังเรื่องมรรยาทลง

ศิลป์ชัยเริ่มขี้เกียจที่จะอาบน้ำอย่างน้อยวันละครั้งเหมือนตอนที่ตั้งยังอยู่ในบ้าน ศิลป์ชัยหันไปอาบน้ำสี่วันครั้งแทน ถ่ายอุจจาระเสร็จก็ไม่ยอมกดชักโครก

พฤติกรรมซกมกของศิลป์ชัยเฒ่าขณะที่อยู่คนเดียวในบ้านตั้งหนัก

ขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นทดลอง “ชักว่าว” หรือสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองตามที่ต่างๆในบ้านตั้ง เพราะตอนนี้ศิลป์ชัยเฒ่าเริ่มมีปัญหาเรื่องนกเขาไม่ค่อยขันหรือแข็งตัว ศิลป์ชัยเฒ่าเลยยิ่งตั้งใจพยายามชักว่าวบ่อยๆ ทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง โดยหารู้ไม่ว่าพฤติกรรมซกมกของเขาถูกบันทึกไว้หมดอยู่ในกล้องของตั้งที่แอบซ่อนไว้อย่างดิ้นไม่หลุด และปฏิเสธไม่ได้

…. การชักว่าว กลายเป็นความหมกมุ่นของศิลป์ชัยเฒ่าในช่วงนั้นเพื่อชดเชยความเปลี่ยวเหงาและความกลวงโบ๋ในหัวใจที่นึกไม่ถึงว่าชีวิตของเขาจะตกต่ำได้ถึงขนาดนี้ …ทั้งหมดทั้งสิ้นมันเริ่มต้นจากการที่ตัวเขา “ถูกหลอกใช้” ให้ปล่อยข่าวปลอมเพื่อใส่ร้ายบ่อนทำลายสถาบันเมื่อหลายปีก่อนนั่นเอง

ต่อมา ตั้งเริ่มเปิดโปง แฉพฤติกรรมซกมกและชักว่าวไปทั่วบ้านของศิลป์ชัยเฒ่าผ่านโลกโซเชียลนานเป็นปี
ตอนนั้นเองที่ ศิลป์ชัยเฒ่าสำนึกได้แล้วว่า “กรรมสนองกรรม” เป็นอย่างไร

ปัจจุบันเราเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับว่าอดีตเราสั่งสมอุปนิสัยและพฤติกรรมอะไรมา

อนาคตเราจะเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับว่า ปัจจุบันเราปรับปรุง แก้ไขตัวเองได้แค่ไหน

เดชะบุญของศิลป์ชัยที่ตัวเขายังมีความละอายต่อบาปที่เคยกระทำไป ทำให้เขายังเสียใจกับตัวเองและลงโทษตัวเองที่ถูกขบวนการสายข่าวปลอมของพวกล้มเจ้าหลอก

เขาเสียใจทีไปหลงเชื่อคนพวกนี้ เขาเสียใจที่ตัวเองไม่ตรวจสอบข่าวปลอมให้ดีจนต้องช้ำใจอยู่จนถึงบัดนี้

ความสำนึกเสียใจนี้ทำให้ศิลป์ชัยหยุดสื่อสาร หยุดเสพข่าว หยุดเข้าโลกโซเชียลอย่างเด็ดขาด … หลังจากผ่านไปพักใหญ่ “ปาฏิหารย์” พลันบังเกิดขึ้นในจิตใจของศิลป์ชัย

ศิลป์ชัยเข้าถึงความสงบสุขในจิตใจอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่ในตอนนี้ศิลป์ชัยแทบสูญเสียทุกสิ่งในชีวิตทางโลกไปหมดแล้ว

แต่ ความสงบสุข กลับมาเยือนจิตใจของศิลป์ชัยเองอย่างที่ตัวเขาก็คาดไม่ถึง

…….

ศิลป์ชัยเอ่ยปากลาตั้งและครอบครัวเพื่อไปตายเอาดาบหน้า ลึกๆในใจศิลป์ชัยเกรงกลัวตั้ง อาชีวะ เพราะ …
“ตั้งเป็นคนมีทักษะความสามารถในการใช้ความรุนแรงสูง มีความอำมหิตสูง รวมทั้งมีความบ้าบิ่นกล้าได้กล้าเสีย มุ่งเอาตัวรอดและทำเป้าหมายของตนบรรลุผลสำเร็จให้ได้ ถ้าเป็นศัตรูกับใครก็พร้อมจะทำความเสียหายได้ทุกอย่าง”
ศิลป์ชัยไม่กล้าเป็นศัตรูกับบุคคลอันตรายอย่างตั้ง เขาจึงตัดสินใจจากมาเอง โดยต้องไปตัวเปล่า เพราะตั้งขอเปียโนของเขาไว้ให้ลูกสาวเล่น

แม้ศิลป์ชัยจากมาแล้ว แต่ตั้งยังไปติดต่ออดีตภรรยาของศิลป์ชัยที่แยกกันอยู่นานเป็นสิปปีแล้ว เพื่อทำลายศิลป์ชัยต่อไม่เลิก

ศิลป์ชัยเสียใจกับเรื่องนี้ที่สุด เพราะเขาทำให้ภรรยาเสียใจมามาก เธอเป็นภรรยาที่ดีและเป็นแม่ที่วิเศษ แต่ตัวเขาที่เป็นคนสุดโต่ง ทำอะไรก็สุดโต่ง พอมาเป็นแอคทิวิสต์ทางการเมืองสายปฏิกษัตริย์นิยม ก็ทุ่มสุดตัวจนถูกหลอกใช้ ต้องกลายมาเป็นคนหนีตาย-คนลี้ภัยในที่สุด

……
หลังจากออกมาเผชิญชะตาชีวิตตามลำพัง ศิลป์ชัยไปขอแบ่งเช่าห้องที่บ้านฝรั่งคนหนึ่งอยู่ จากนั้นศิลป์ชัยออกไปหางานทำ รับจ๊อบอะไรที่พอทำได้ แล้วไปเป็นอาสาสมัครให้องค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อช่วยเหลือคนแก่ ช่วยผู้ลี้ภัยสารพัดประเทศ ฯลฯ

การออกไปช่วยเหลือคนอื่นด้วยน้ำใสใจจริง คือจุดพลิกผันชะตาชีวิตครั้งใหญ่อีกครั้งของศิลป์ชัยราวกับเขาได้เกิดใหม่ทางจิตวิญญาณอีกครั้ง

ศิลป์ชัยได้ไปช่วยทำงานวิจัยชิ้นใหญ่ให้กับท่านสังฆราชของศาสนาจักรแองกลิกันแห่งนิวซีแลนด์ เขากลับมาเป็นนักศาสนาวิทยาเต็มตัวอีกครั้งและได้ทำงานที่เขารัก หลังจาก “หลงทางไปพักใหญ่กับพวกขบวนการล้มเจ้า”

เขาเป็นฝ่ายทอดทิ้งพระผู้เป็นเจ้าก่อน เพราะดันไปหลงเชื่อคำกรอกหูของพวกมารซาตาน … แต่พระผู้เป็นเจ้าก็ยังเมตตาเปิดโอกาสให้เขากลับมาสู่อ้อมอกของพระผู้เป็นเจ้าอีกครั้ง หลังจากที่ตัวเขาได้รับบทเรียนชีวิตอย่างแสนสาหัสแล้ว

“จู่ๆไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากช่วยดูแลลุงฝรั่งชาวนิวซีแลนด์คนนึงมาระยะหนึ่ง ที่อายุแปดสิบกว่า อ้วนน้ำหนักมากจนเข่าพังทั้งสองข้าง ต้องผ่าตัดเข่า แต่ผมช่วยดูแลแกทุกอย่าง ช่วยปรับพฤติกรรมจนสามารถลดน้ำหนักลงได้เป็นสิบกิโลในเวลาไม่กี่เดือน จนไม่ต้องผ่าตัดเข่าแล้ว แกดีใจมากจึงรับผมเป็นสมาชิกในครอบครัวของแก ให้อยู่บ้านแกที่เป็นบ้านสวนขนาดใหญ่ใจกลางเมือง

จากนั้นแกมอบงานผู้ช่วยดูแลสถานีวิทยุของแกให้ผม ซื้อเปียโนตัวใหม่ให้ผม และซื้อรถเก๋งคันใหม่ให้ผมด้วย … แกยังขอให้ผมอยู่กับแกจนกว่าแกจะตาย จากนั้นขอฝากผมดูแลสถานีวิทยุของแกและบ้านสวนของแกต่อด้วย”

ชีวิตของศิลป์ชัยพลิกจากอยู่ในขุมนรกเป็นขึ้นสวรรค์ เพราะกุศลกรรมที่เขาเพิ่งสร้างไว้ไม่นานมานี้เอง

ไม่เพียงเท่านั้น สุขภาพของเขายังดีขึ้น แข็งแรงขึ้นราวกับได้ร่างใหม่ก็ไม่ปาน โรคเรื้อรังสามอย่างของเขาไม่ว่า โรคแพ้อากาศ โรคบ้านหมุน และโรคริดสีดวงทวารที่เขาเคยมีตอนอยู่เมืองไทย จู่ๆก็หายไปหมด น้ำหนักตัวของเขาก็ลดลง กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และเริ่มมีซิกแพกในวัยหกสิบ

สังสารวัฏนี้เป็นดุจมหากาพย์ที่ไม่รู้จบ และโลกนี้คือละคร โดยที่ละครชีวิตของศิลป์ชัย เป็น “ตลกร้าย” ที่จบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้ง โดยที่การ “ตกนรกทั้งเป็น” เป็นเวลาหลายปีที่ศิลป์ชัยได้ลิ้มรสมา เป็นแค่ “พรจำแลง” (blessing in disguise) ของพระผู้เป็นเจ้าที่ “ล้อเล่น” กับเขาเท่านั้น

ขออนุโมทนากับชีวิตใหม่ที่มีคุณค่าของดร.ศิลป์ชัยด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับไต๋กุนซือก้าวไกล ลึกๆรู้แก่ใจ 'พิธา' จบแล้ว แต่แกล้งเล่นบทปลุกความแค้นหวังผลเลือกตั้งหน้า

อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่าไม่ใช่เราไม่เคยเห็นม็อบส้ม=ม็อบสามกีบ มาก่อน มีศักยภาพแค่ไหน เรารู้มือรู้ทางกันดีอยู่แล้ว ในปี 63-64 ผมมองว่ากุนซือก้าวไกล แกล้งเล่นบทปลุกความแค้นเรื่องพิธาเพื่อหวังผลในการเลือกตั้งครั้งหน้าเท่านั้นแหละ

'ดร.สุวินัย' แฉสะพานข้ามแยกลาดกระบังถล่ม เพราะ 'ทีมชัชชาติ' แก้รูปแบบการก่อสร้าง

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศ

'สุวินัย' โล่งใจ! 'พิธา' ถอย ม.112 หลังจากนี้เขาจะไม่มีวันชนะเรื่องล้มสถาบัน

รองศาสตราจารย์ สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Suvinai Pornavalai ว่าบอกตามตรงผม

นักวิชาการ วิพากษ์นโยบายหาเสียง รทสช. 'คิดดี-ทำเป็น' ไม่ใช่ 'คิดชั่ว-มั่วเอา'

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "บทวิจารณ์นโยบายหาเสียงของพรรครวมไทยสร้างชาติ "ราคาที่ต้องจ่ายให้พรรครวมไทยสร้างชาติ: ทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ

'ศิลป์ชัย' ประณามพรรคหนุน 'ตั้ง อาชีวะ' จะนำประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตยโจร

ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ แนวร่วมขบวนการผู้ลี้ภัยหนีคดีไปต่างประเทศ โพสต์ข้อความว่า ผู้เขียนไม่เคยต้องทำแบบนี้มาก่อนเลยในชีวิต แต่ครั้งนี้ถือว่าต้องสู้เพื่อชาติจริงๆ ถือว่ายอมตายเพื่อชาติไทย

ลากไส้กันนัวเนีย! 'ตั้ง อาชีวะ' โต้ 'ศิลป์ชัย' เปล่าชวนเที่ยวซ่อง ตอกกลับมั่วนิ่มขนาดชักโครกยังลืมกด

ตั้งอาชีวะ หรือนายเอกภพ เหลือรา ผู้ลี้ภัยคดี ม.112 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ โพสต์เฟซบุ๊ก Eakapop Luara ว่าด้วยเรื่อง อ.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ ศาสนวิทยา dr.Sinchai Chaojaro