'ทนายเชาว์' กางกฎหมาย ชี้ทางรอด 'พิธา' ปมถือหุ้นไอทีวี

‘ทนายเชาว์’ กางกฎหมาย ปมหุ้นไอทีวี ไร้คำว่าผู้จัดการมรดกต่อท้าย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของ ‘พิธา’ แล้ว แต่ยังมีช่องรอด แนะรีบหอบหลักฐานแถลง

12 พ.ค. 2566 – นายเชาว์ มีขวด อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และทนายความ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง “หุ้นไอทีวีเป็นของใคร….?” มีเนื้อหาระบุว่า ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า การถือครองหุ้นไอทีวีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับ 1 และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกลนั้น เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส. และการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ เนื่องจากเดิมหุ้นดังกล่าวเป็นของนายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ บิดาของนายพิธา ต่อมาภายหลังที่นายพงษ์ศักดิ์ เสียชีวิต เมื่อปี 2549 นายพิธาก็เข้ามารับหน้าที่ผู้จัดการมรดกของนายพงษ์ศักดิ์ตามคำสั่งศาล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงบัญชีผู้ถือหุ้นในชื่อเดิมของนายพงษ์ศักดิ์มาเป็นชื่อนายพิธา ไม่มีคำว่าในฐานะผู้จัดการมรดกเหมือนกรณีโดยทั่วไป จึงเกิดคำถามว่าหุ้นดังกล่าวยังเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของนายพงษ์ศักดิ์ หรือโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของนายพิธา ในฐานะทายาทแล้ว

อดีตรองโฆษกพรรครปะชาธิปัตย์ ระบุว่า เรื่องนี้มองได้สองมุม คือ

1.จากพฤติการณ์ จะเห็นได้ว่านายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ เสียชีวิตตั้งแต่ปี 2549 เป็นระยะเวลา 17 ปีกว่าแล้ว การจัดการมรดกโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นโดยไม่ปรากฎว่ามีข้อขัดข้องเรื่องการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันระหว่างทายาทซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียงไม่กี่คน ประกอบกับการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงบัญชีผู้ถือหุ้นจากนายพงษ์ศักดิ์เจ้ามรดกมาเป็นชื่อนายพิธาเพียวๆ โดยไม่มีคำต่อท้ายว่ากระทำในฐานะผู้จัดการมรดกเหมือนกรณีทั่วไป จึงมองได้ว่าหุ้นได้โอนจากกองมรดกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของนายพิธาเสร็จเด็ดขาดแล้ว

2.ตามข้อกฎหมาย หุ้น เป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งของผู้ถือหุ้นเมื่อผู้ถือหุ้นตาย หุ้นนั้นจึงตกทอดแก่ทายาททันทีตามกฎหมาย โดยผ่านกองมรดกของผู้ตาย โดยผู้จัดการมรดกสามารถเข้ามาถือหุ้นแทนผู้ตายเพื่อจัดการแบ่งปันให้ทายาท ซึ่งแม้จะมีข้อจำกัดในการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามกฎหมายไว้หลายประการด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องตายตัวว่าต้องทำทุกกรณี ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเป็นสำคัญ ดังนั้น ปัญหาว่าหุ้นดังกล่าวโอนไปเป็นกรรมสิทธิ์ของนายพิธาแล้วหรือไม่ หรือยังเป็นหุ้นในกองมรดกที่นายพิธาถือแทนอยู่ ก็แค่อาศัยคำยืนยันจากบรรดาทายาทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกองมรดกของนายพงษ์ศักดิ์ หากยืนยันว่าหุ้นดังกล่าวยังไม่ได้มีการแบ่งปันกันระหว่างทายาท ทางรอดของนายพิธาก็เปิดกว้างเพราะทำได้ง่ายมาก

“ถ้านายพิธา ยืนยันได้ด้วยพยานหลักฐานโดยอ้างคำยืนยันจากบรรดาทายาทว่า ถือครองหุ้นดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดก ทุกอย่างก็จบ ไม่ต้องไปไล่เรียงอีกว่า บริษัทนี้ยังประกอบกิจการสื่ออยู่หรือไม่ แต่ถ้ายืนยันไม่ได้ เรื่องอาจลากยาวไปอีก เพราะต้องพิสูจน์ว่าบริษัทไม่ได้ประกอบกิจการสื่อแล้ว ทางที่ดีถ้านายพิธามีหลักฐานในมือ ก็แถลงต่อสาธารณะเคลียร์ไปซะเรื่องก็จบ ไม่ต้องรอให้ทีมกฎหมายเป็นฝ่ายชี้แจง อย่างไรก็ตามหากนำบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกา ที่คืนสิทธิการสมัคร สส.นครนายก เขต 2 ให้กับนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ด้วยเหตุที่การถือหุ้นเอไอเอส ในจำนวนน้อย ไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการมาใช้ นายพิธาก็มีโอกาสรอดอยู่มากเช่นกัน” นายเชาว์ ระบุทิ้งท้าย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.ระยอง ก้าวไกล ตั้งข้อสงสัยวางเพลิงโรงงานเก็บสารเคมี 'วิน โพรเสส' จี้รัฐบาลตรวจสอบ

นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง พรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีไฟไหม้โรงงานเก็บสารเคมีของบริษัท วินโพรเสส จำกัด ว่า ในฐานะเจ้าของพื้นที่ ตนได้ลงพื้นที่จุดหลังเกิดเหตุตั้งแต่ช่วงเช้าถึงเวลา 22.00 น.

'ก้าวไกล' ชูร่างกฎหมายจัดระเบียบกลาโหม ปฏิรูปกองทัพ คืนอำนาจให้รมต.

ร.ท. ธนเดช เพ็งสุข สส.กทม.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงแนวคิดการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม และกฎหมายศาลทหาร

'ธนาธร' ปลุกหนักมาก! ชวนลงสมัคร 'สว.ประชาชน' เข้าไปรื้อรัฐธรรมนูญ

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า แถลงเปิดตัวแคมเปญ ‘สว.ประชาชน’ ของคณะก้าวหน้า ว่า คณะก้าวหน้าเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง สว.ในเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่จะมาถึง จึงอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนให้มาร่วมกันลงสมัคร สว.

‘วิโรจน์’ หนุน ‘สุทิน’ แก้กฎหมายกลาโหม สกัดรัฐประหาร ลั่นต้องทำให้ถึงแก่น

‘วิโรจน์’ เห็นด้วยในหลักการ หลัง ‘สุทิน‘ เสนอแก้ ’กฎหมายกลาโหม‘ สกัดรัฐประหาร แต่ต้องแก้ให้ถึงแก่น ไม่ใช่แค่ผิว ชี้ เป้าหมายสูงสุด คือทำให้กองทัพไม่อยู่ในฐานะรัฐอิสระ แนะ ควรปรับสัดส่วน ‘สภากลาโหม’ ให้เหลือแค่ 11 คน-มีทหารไม่เกินกึ่งหนึ่ง

ซูเปอร์โพลตอกย้ำ คะแนนนิยม ‘ก้าวไกล’ เหนือกว่า ‘เพื่อไทย’ 1 เท่าตัว

พรรคก้าวไกลมีคะแนนสูงกว่าเพื่อไทยอยู่ประมาณหนึ่งเท่าตัว แต่พรรคก้าวไกลก็ยังจะไม่มีคะแนนนิยมมากพอที่จะชนะการเลือกตั้งจนตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ถ้ายังทำงานการเมืองแบบนี้ต่อไป