'เทพไท' ทวงนโยบายหาเสียงเพิ่มเงินเดือนให้ อสม.

20 มี.ค.2567 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสตเฟซบุ๊กในหัวข้อ “หัวใจ อสม. คิอ หัวใจจิตอาสา” ระบุว่า วันนี้ 20 มีนาคม 2567 เป็นวัน อสม.แห่งชาติ

ผมกราบขอบพระคุณด้วยหัวใจ ต่อผู้มีส่วนร่วมสร้างองค์กร อสม.ให้เข้มแข็งจนถึงปัจจุบันนี้ หลายท่าน อาทิ เช่น
นพ.อมร นนทสุต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ให้กำเนิดระบบอาสาสมัครทางด้าน สุขภาพ เมื่อปี 2520
นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้สถาปนาวัน อสม.แห่งชาติ (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) ตามมติ ครม. เป็นวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ริเริ่มกำหนดให้มีค่าตอบแทน กับ อสม.เดือนละ 600 บาท เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2553

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เพิ่มค่าตอบแทนให้กับ อสม.เป็นเดือนละ 1000 บาท และอนุมัติเพิ่มเป็นเดือนละ2000บาท มีผลตั้งแต่1 ตุลาคม 2566 ฯลฯ

ผมคนหนึ่งที่มีส่วนเล็กๆในการสนับสนุนองค์กร อสม. ในวันที่ผมเป็น ส.ส.ได้ลุกขึ้นอภิปรายเรียกร้องให้รัฐบาลจัดงบประมาณเป็นค่าตอบแทนให้กับ อสม.เดือนละ 1500 บาท ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลได้เพิ่มค่าตอบแทน เป็นครั้งละ 6 เดือน และ 9 เดือน ซึ่งผมต้องการให้รัฐบาลจัดเป็นงบประมาณประจำปีทุกปีไปเลย

ในช่วงก่อนการเลือกตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2566 ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบ ‘การเพิ่มค่าป่วยการ’ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) จากเดิมเดือนละ 1,000 บาทต่อคน เป็นเดือนละ 2,000 บาทต่อคน ใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นในแต่ละปีงบประมาณ จำนวน 13,081 ล้านบาท

ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 มีพรรคการเมืองเหลายพรรค ประกาศนโยบายหาเสียงกับพี่น้อง อสม. เรื่องปรับขึ้นค่าตอบแทนของ อสม.เป็นเดือนละ 2,000 – 5,000 บาท จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ

ส่วนตัวเห็นว่า ค่าตอบแทนของ อสม.เดือนละ 2,000 บาทมีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เมื่อเทียบกับยุคแรกเริ่มที่รัฐบาลอภิสิทธิ์จัดให้ และอยากจะย้ำเตือนกับพี่น้อง อสม.ทุกคนว่า “ได้กินน้ำในบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” ก็แล้วกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน

ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี