'ดร.ปิติ' อิจฉาคนอินโดนีเซียที่เขามีรัฐมนตรีแบบนี้

13 ก.พ.2568 - รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อิจฉาคนอินโดนีเซียที่เขามีรัฐมนตรีแบบนี้

คุณผู้หญิงตัวเล็กๆ อายุ 47 ปี เดินลงมาจากรถอเนกประสงค์คันเล็กๆ ยี่ห้อ Mitsubishi สวมเสื้อผ้าบาติก กางเกงขายาวสีดำ ใส่รองเท้า Sneakers สีขาว สะพายกระเป๋าเป้ แบบที่เราเห็นคนธรรมดาๆ เดินตามท้องถนนแต่งกัน ท่านที่ผมขอ Selfie ด้วยนี้ คือ H.E. Professor Stella Christie ปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา, วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศอินโดนีเซีย

Professor Christie ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัย Harvard ไปเรียนจนจบ Magna Cum Laude with Highest Honors ในปี 2004 แล้วเธอก็เรียนต่อจนจบปริญญาเอกด้าน Cognitive Psychology (จิตวิทยาการรับรู้เรียนรู้ของสมอง) ที่ Northwestern University ในปี 2010 แล้วก็ไปได้ Postdoctoral Research ที่ University of British Columbia ในแคนาดาในปี 2012

จากนั้นเธอไปทำงานที่มหาวิทยาลัย Tsinghua University กรุงปักกิ่ง ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในปี 2022 และดำรงตำแหน่ง Research Chair ณ Tsinghua Laboratory of Brain and Intelligence ก่อนที่จะได้รับเชิญจากประธานาธิบดี Prabowo ให้มีทำหน้าที่รัฐมนตรีเพื่อดูแลด้านการพัฒนากิจการ AI ของประเทศอินโดนีเซีย

เมื่อวานนี้ ASEAN Foundation ร่วมกับ Google.org จัด the 1st Regional Convening of AI Ready ASEAN Programme ในหัวข้อ Fostering the Opportunity of Safe, Secure and Trustworthy AI in the Region โดยมี Keynote คือ H.E. Professor Stella Christie ซึ่งเธอดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา, วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศอินโดนีเซีย

เวลา 9.50 น. ผมไปรอรับเธอที่หน้าสำนักเลขาธิการอาเซียน 10.00 น. เธอมาถึงในรถตู้อเนกประสงค์คันเล็กๆ โดยที่ไม่มีรถนำ ไม่มีขบวน ไม่มีปิดถนน ผมพบคุณผู้หญิงตัวเล็กๆ อายุ 47 ปี เดินลงมาจากรถพร้อมกับผู้ช่วย โดยเธอสวมเสื้อผ้าบาติก กางเกงขายาวสีดำ ใส่รองเท้า Sneakers สีขาว สะพายกระเป๋าเป้ แบบที่เราเห็นคนธรรมดาๆ เดินตามท้องถนนแต่งกัน นี่คือภาพแรกที่ผมเห็นและทำให้นึกดีใจว่า รมต.ของเขาสบายๆ ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง ไม่ต้องมีคนมาคอยพินอบพิเทา

เมื่อเธอเริ่มกล่าว Keynote ในหัวข้อ Strategic Balance between AI Regulations & Progress ใจความแรกที่เริ่มต้นกล่าวถึงคือ เราจะจัดการศึกษาอย่างไรให้คนของเรา Readiness & Responsibility กับเทคโนโลยี AI เธอเสนอ 3 เรื่อง 1) ต้องมี AI Literacy 2) Ability to Handle Exceptions และ 3) Understanding Human Behavior

ใน 3 สิ่งที่ต้องมีนี้ เรื่องที่สำคัญที่สุด คือ Literacy (ความฉลาดรู้เท่าทัน) ซึ่งเธอกล่าวว่า Literacy คือ
1. Assess which problems can be adequately solved by AI and which require human input
2. Articulate systemic reasons why AI can or cannot be used for certain types of problems
3. Formulate synthetic techniques and tactics for solving problems, which integrate both AI and human input.

ถ้ามี 3 เรื่องนี้เราจะมี Ability to interpret and evaluate AI-generated recommendations

15 นาที ของการปาฐกถาโดยคนที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง AI และจิตวิทยาการเรียนรู้รับรู้ของสมอง คือ ความสุดยอดของประสบการณ์ และเมื่อเดินกลับไปส่งเธอขึ้นรถตู้กลับไปทำงานต่อ ก็ได้แต่รู้สึกสะท้อนใจว่า ทำไม ทำไม ทำไม ประเทศไทยเราไม่มีรัฐมนตรีแบบนี้บ้าง Knowledge, Capability and Humility

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

21 มี.ค.'อุ๊งอิ๊ง' ไปนครสวรรค์ติดตามแก้ปัญหายาเสพติด!

นายกฯ ลงพื้นที่นครสวรรค์พรุ่งนี้ ติดตามการแก้ไขปัญหา 1 ใน 25 จังหวัดที่มีปัญหายาเสพติดรุนแรง ย้ำทุกจังหวัดต้องจัดการตามเป้าหมายของรัฐบาล

'พิมล'เดินสายหารือรมต. แก้ปัญหาเบี้ยเลี้ยงนักกีฬาฝืด ชี้ออกนโยบายต้องทำได้จริง

ความเคลื่อนไหวการเลือกตั้งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคฯ และคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 มีนาคม ที่บ้านอัมพวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 09.30 น.เป็นต้นไป โดยมีแคนดิเดตเปิดตัวชิงตำแหน่ง 2 ราย ได้แก่ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ นายกสมาคมกีฬาเทควันโดฯ, นายสุชัย พรชัยศักดิ์อุดม นายกสมาคมกีฬาลอนเทนนิสฯ

ศาลไม่อนุญาตให้ ’ทักษิณ‘ เดินทางไปประชุมอาเซียนที่อินโดนีเซีย

ศาลอาญามีคำสั่งยกคำร้องของนายทักษิณ ชินวัตร ที่ขออนุญาตเดินทางไปประชุมอาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้เหตุผลว่ายังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้ออกนอกราชอาณาจักร

ยื่นหนังสือจี้ ‘อันวาร์’ ทบทวนบทบาท ‘ที่ปรึกษาประธานอาเซียน’

เอาแล้ว! พรรคไทยภักดี ยื่นหนังสือถึงสถานทูตมาเลเซีย ส่งต่อ ‘อันวาร์ อิบราฮิม’ ทบทวนบทบาท ‘ทักษิณ’ ที่ปรึกษาประธานอาเซียน หลังลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แสดงตนเกินขอบเขต ที่ควรจะเป็น หวั่นกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

The Return of Trump กับชะตากรรมอาเซียน! 3 นักวิชาการมธ. ชำแหละเกมมหาอำนาจ

ท่ามกลางกระแสการกลับมาของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ สู่ทำเนียบขาว 3 นักวิชาการ มธ.วิเคราะห์ผลกระทบที่อาเซียนต้องเผชิญ เมื่อสหรัฐฯ เดินหน้าปรับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก บทบาทของอาเซียนกำลังลดลงหรือเป็นโอกาสต่อรอง