'นักวิชาการ' ชี้สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยธรรม หวั่นผลกระทบศก.โลกรุนแรงกว่าในสมรภูมิ

'กมล กมลตระกูล 'ชี้สงครามยูเครนไม่ใช่เรื่องถูก ผิด ของสิทธิมนุษยธรรม แต่เป็นเรื่องความรับผิดชอบของผู้นำทั้งยูเครน-รัสเซียที่ต้องปกป้องชีวิตประชาชนของชาติตน หวั่นผลกระทบศก.โลกรุนแรงกว่าสงครามในสมรภูมิด้วยซ้ำ

4มี.ค.2565 - นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง มองยูเครน มองดูบ้านเรา! มีเนื้อหาดังนี้

ระบบการศึกษาไม่ได้ผลิตให้คนไทยคิดเป็นอย่างมีทักษะด้านวิเคราะห์ Analytical thinking ดูแค่ปรากฎการณ์ ก็สรุปแล้ว ไม่ได้ดูเหตุ ไม่ได้ดูว่า ผลลัพธ์เกิดจากเหตุ เหมือนเห็นยอดภูเขาน้ำแข็งก็สรุปเลยว่าลูกเล็กนิดเดียว

กรณียูเครนไม่ใช่เรื่องถูก ผิด ของ ศีลธรรม สิทธิมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน อหิงสา สันติภาพ สนับสนุนความรุนแรง อธิปไตยของชาติใดชาติหนึ่ง ที่มักยกมาอ้างกัน

แต่เป็นเรื่องความรับผิดชอบของผู้นำทั้ง 2 ฝ่าย คือทั้งยูเครน และรัสเซียที่ต้องปกป้องชีวิตประชาชนของชาติตนไม่ให้เกิดความสูญเสีย อันเป็นเรื่องหรือประเด็นปกป้องสิทธิมนุษยธรรม และสิทธิมนุษยชน สิทธิในชีวิตของประชาชนของตนของทั้ง 2 ฝ่าย ที่ต้องคำนึงไม่ให้พัฒนามาจนเกิดเป็นสงครามอย่างที่เกิดขึ้น

เมื่อรัสเซียร้องขอ พูดกันดีๆ ว่าอย่านะ อย่าเอาอาวุธและกองทัพนาโตมาจ่อคอหอยเขานะ พูดมาเกือบ 10 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2014 เขามีประชาชนที่ต้องปกป้องเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เกิดขึ้นลอยๆในเวลาชั่วข้ามวัน

พฤติกรรมของนาโตที่ผ่านมาหลังการล่มสลายของโซเวียตก็โจ่งแจ้ง ขยายตัวมาปิดล้อมรัสเซียไม่หยุดจากเหนือจรดใต้สุดที่ยูเครนอีก ทั้งๆที่มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะไม่ขยายสมาชิกนาโตมายังประเทศอดีตสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอ แต่นาโตก็ทำ

ที่ยูเครนเป็นพื้นที่ที่พิสัยยิงจรวด 3 นาทีก็ถึงมอสโคว์ ในขณะที่โปแลนด์ ฮังการีที่อยู่ใกล้รัสเซียก็ติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธไปแล้ว และในอีกหลายประเทศรอบๆรัสเซีย ที่เป็นสมาชิกนาโตรวมทั้งประเทศอียู

หากมองให้ไกลกว่านั้น ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา มีประเทศไหนบ้างที่เป็นผู้ส่งออกสงคราม ส่งทหารไปบุก ไปโจมตีถล่มประเทศอื่นๆ

ประเทศในกลุ่มนาโตในทุกวันนี้ก็ส่งทหารไปรุกราน ครอบครอง ควบคุม ประเทศอดีตอาณานิคมของตนในอัฟริกาที่มีทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ น้ำมัน แก๊ซ ทองคำ เพชร ยูเรเนียม แร่หายาก จำนวนมหาศาล เช่น ไนจีเรีย คองโก โซมาเลีย เอธิโอเปีย ฯลฯ

มีข้อตกลงกันในหมู่ประเทศมหาอำนาจว่า ทวีปอัฟริกาเป็นการแบ่งเค๊กกันระหว่างยุโรปกับอเมริกา ซึ่งอเมริกาจะไม่เข้าไปแทรกแซงผลประโยชน์ของประเทศเจ้าอาณานิคมเก่า

สงครามยูเครนจึงเป็นเรื่องที่การตัดสินใจของผู้นำที่ไม่คำนึงถึงชีวิตและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาในขณะที่มีทางเลือกที่จะอยู่รอดอย่างเป็นกลางได้ แต่ไม่ทำ

ทั้งนี้เลยทำให้โลกทั้งโลกปั่นป่วน และจะต้องเผชิญกับสงครามเศรษฐกิจและผลกระทบของสงครามเศรษฐกิจที่จะตามมาทั่วทั้งโลก และจะมีความรุนแรงกว่าสงครามในสมรภูมิด้วยซ้ำ

ราคาน้ำมันอาจจะพุ่งเกินลิตรละ 50 บาทในเวลาอีกไม่นานเกินรอ! นี่เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง น่าคำนึงถึงมากกว่ามาทะเลาะกันว่าใครถูกใครผิด ใครรุกราน ใครถูกรุกราน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' ยกเคสอเมริกา 'เงินดิจิทัล' ควรโอนเข้าบัญชีให้คนจน นำไปล้างหนี้จะเพิ่มกำลังซื้อ

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึง โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ว่า

'นักวิชาการอิสระ' เตือนไทยไม่เข้าร่วม 'BRICS' หายนะศก.ยิ่งกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง จับตา 'SCO'

'กมล' วิเคราะห์ อำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของไทย เตือนหากไม่เข้าร่วม BRICS ยังผูกอยู่กับดอลลาร์ เงินบาทจะไร้ค่าไปด้วย หายนะทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง จับตา องค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ SCO จะแทนยูเอ็น

นักวิชาการ ฟันเปรี้ยง 'กระเช้าขึ้นภูกระดึง' เอื้อนายทุนผูกขาด มุ่งกำไรสูงสุด คนเที่ยวเดือดร้อนถูกโขกราคา

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า โครงการสร้างกระเช้าไฟฟ้าขึ้นภูกระดึงกำลังมาแรง!

'นักวิชาการอิสระ' ดีใจนักศึกษายุคนี้หาความหมายเจอแล้วว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร

'อ.กมล' ย้อนประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้ของนักศึกษาทั่วโลกต่อต้านความไม่เป็นธรรม เริ่มต้นหาความหมาย ครบรอบ 50 ปี14ตุลาฯ ดีใจนักศึกษายุคนี้ หาความหมายเจอแล้วว่าต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร

'นักวิชาการอิสระ' ฟันเปรี้ยง สงครามยิว-ปาเลสไตน์ ไม่มีผู้ชนะ ปชช.ทั้ง 2 ฝ่ายคือเหยื่อ

นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงการสู้รบระหว่างปาเลสไตน์ กับ อิสราเอล ว่า