เตาปฏิกรณ์ญี่ปุ่นดับ หลังสัญญาณแจ้งเตือน ไม่พบรังสีรั่วไหล

เตาปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นปิดตัวเองลงโดยอัตโนมัติ หลังมีสัญญาณแจ้งเตือน แต่ไม่พบกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลเร่งตรวจสอบสาเหตุ

แฟ้มภาพ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าคันไซ อิเลคทริก พาวเวอร์ ทาคาฮามะ ในจังหวัดฟูกุอิ ประเทศญึ่ปุ่น (Photo by JIJI PRESS / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 กล่าวว่า เตาปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้าทาคาฮามะ ในจังหวัดฟูกุอิ หยุดทำงานอัตโนมัติเมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น (13.20 น. ตามเวลาประเทศไทย) หลังจากมีสัญญาณแจ้งเตือนจำนวนนิวตรอนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ตามรายงานของหน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ (เอ็นอาร์เอ)

หลังการตรวจสอบ หน่วยงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ว่า เตาปฏิกรณ์เย็นตัวลงตามปกติ และไม่พบความผิดปกติในระดับกัมมันตภาพรังสี จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

ทางด้านบริษัทคันไซ อิเลคทริก พาวเวอร์ (Kansai Electric Power Co) ผู้ดำเนินการบริหารโรงไฟฟ้า กล่าวในแถลงการณ์ว่า ทางบริษัทกำลังสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์ในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ

เจ้าหน้าที่ทางการของจังหวัดฟูกุอิ กล่าวว่า ยังไม่มีใครทราบอย่างชัดเจนว่าอะไรทำให้สัญญาณเตือนภัยดับลง แม้จะตรวจสอบแล้วว่าไม่มีความผิดปกติในอุณหภูมิหรือความดันของเตาปฏิกรณ์

ญี่ปุ่นมีเตาปฏิกรณ์ทั้งหมด 33 เครื่อง แต่มีไม่ถึงหนึ่งในสามที่กลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้งหลังจากเกิดสึนามิรุนแรงในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะพังเสียหาย

ด้วยเหตุนี้ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และต้องหันมาพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละปี บวกกับสถานการณ์การสู้รบในยูเครนและการคว่ำบาตรรัสเซีย ญี่ปุ่นจึงเผชิญกับวิกฤตพลังงานที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงหันมาพิจารณาสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นใหม่เพื่อทดแทนและแก้ปัญหาระยะยาว.

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2566 กล่าวว่า เตาปฏิกรณ์ที่โรงไฟฟ้าทาคาฮามะ ในจังหวัดฟูกุอิ หยุดทำงานอัตโนมัติเมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น (13.20 น. ตามเวลาประเทศไทย) หลังจากมีสัญญาณแจ้งเตือนจำนวนนิวตรอนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ตามรายงานของหน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ (เอ็นอาร์เอ)

หลังการตรวจสอบ หน่วยงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ว่า เตาปฏิกรณ์เย็นตัวลงตามปกติ และไม่พบความผิดปกติในระดับกัมมันตภาพรังสี จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

ทางด้านบริษัทคันไซ อิเลคทริก พาวเวอร์ (Kansai Electric Power Co) ผู้ดำเนินการบริหารโรงไฟฟ้า กล่าวในแถลงการณ์ว่า ทางบริษัทกำลังสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้นกับเตาปฏิกรณ์ในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ

เจ้าหน้าที่ทางการของจังหวัดฟูกุอิ กล่าวว่า ยังไม่มีใครทราบอย่างชัดเจนว่าอะไรทำให้สัญญาณเตือนภัยดับลง แม้จะตรวจสอบแล้วว่าไม่มีความผิดปกติในอุณหภูมิหรือความดันของเตาปฏิกรณ์

ญี่ปุ่นมีเตาปฏิกรณ์ทั้งหมด 33 เครื่อง แต่มีไม่ถึงหนึ่งในสามที่กลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้งหลังจากเกิดสึนามิรุนแรงในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะพังเสียหาย

ด้วยเหตุนี้ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และต้องหันมาพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละปี บวกกับสถานการณ์การสู้รบในยูเครนและการคว่ำบาตรรัสเซีย ญี่ปุ่นจึงเผชิญกับวิกฤตพลังงานที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงหันมาพิจารณาสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นใหม่เพื่อทดแทนและแก้ปัญหาระยะยาว.

เพิ่มเพื่อน