คณะกรรมการอภัยโทษของมาเลเซียประกาศลดโทษจำคุกครึ่งหนึ่งของอดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก เหลือ 6 ปี จากคดีทุจริตคอร์รัปชัน
แฟ้มภาพ อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก ของมาเลเซีย (Photo by Mohd RASFAN / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 กล่าวว่า คณะกรรมการอภัยโทษของมาเลเซียประกาศลดโทษจำนวนครึ่งหนึ่งให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก เหลือโทษจำคุก 6 ปีที่ได้รับจากการถูกตัดสินว่ามีความผิดในคดีอื้อฉาวทางการเงิน 1MDB
นาจิบถูกส่งตัวเข้าเรือนจำเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 หลังศาลสูงสุดของประเทศพิพากษายืนโทษจำคุก 12 ปีของเขาในข้อหาทุจริตคดีดังกล่าวที่มีความเสียหายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
คำแถลงระบุว่า "หลังจากพิจารณาความคิดเห็นและคำแนะนำรอบด้านแล้ว คณะกรรมการอภัยโทษได้ตัดสินใจลดโทษจำคุกและโทษปรับที่นาจิบ ราซัค ได้รับ ลงกึ่งหนึ่ง"
คณะกรรมการชุดนี้ที่มีอดีตสมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน อับดุลเลาะห์ สุลต่าน อะหมัด ชาห์ เป็นประธาน รวมถึงอัยการสูงสุด ได้ประชุมกันเมื่อวันจันทร์ ก่อนลงมติตามแถลงการณ์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลอื่นใดในการพิจารณา
แถลงการณ์ยังระบุด้วยว่านาจิบจะได้รับการปล่อยตัวในปี 2571 และโทษปรับของเขาจะลดลงเหลือ 50 ล้านริงกิต (ประมาณ 373 ล้านบาท) ทั้งนี้ หากผู้กระทำผิดไม่จ่ายค่าปรับ จะได้รับโทษจำคุกเพิ่มอีก 1 ปี
นาจิบ ราซัก วัย 70 ปี หลุดจากตำแหน่งผู้นำประเทศเมื่อปี 2561 ด้วยข้อกล่าวหายักยอกทรัพย์มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุน 1MDB
หลังจากการไต่สวนของศาลสูงเป็นเวลาหลายปี นาจิบ ราซัก ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ, ข้อหาฟอกเงิน และการละเมิดความไว้วางใจทางอาญาจากการโอนเงิน 42 ล้านริงกิต (ประมาณ 330 ล้านบาท) จากกองทุน 1MDB ไปยังบัญชีธนาคารของตัวเอง
นาจิบ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2552-2561 อ้างว่าเขาไม่ได้รับการไต่สวนอย่างยุติธรรม โดยกล่าวหาว่าผู้พิพากษามีผลประโยชน์ทับซ้อน และทีมกฎหมายชุดใหม่ของเขาไม่ได้รับอนุญาตให้มีเวลาเพียงพอในการศึกษาเอกสารคดี จึงพยายามขออุทธรณ์แต่ไม่สำเร็จ
ทั้งนี้ กษัตริย์มาเลเซียทรงใช้พระราชอำนาจในการอภัยโทษผู้ต้องหา และบทบาทของพระองค์ได้รับเกียรติอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวมาเลย์มุสลิมที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
มาเลเซียเป็นประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ โดยบัลลังก์จะเปลี่ยนมือทุกๆ ห้าปีระหว่างผู้ปกครองรัฐทั้ง 9 ของมาเลเซีย ตามธรรมเนียมของราชวงศ์อิสลามซึ่งมีอายุหลายศตวรรษ
อย่างไรก็ตาม นาจิบอาจต้องเผชิญข้อหาอื่นๆ อีกหลายสิบคดี โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับคดีอื้อฉาว 1MDB ที่เขามีบทบาทพัวพันกับการฟอกเงินทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา, สวิตเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์
เจมส์ ชิน ศาสตราจารย์ด้านเอเชียศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแทสเมเนียในออสเตรเลียกล่าวว่า การลดโทษให้นาจิบ ราซักอาจสร้างความเสียหายต่อนโยบายปฏิรูปของนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ที่เขารณรงค์ให้ขจัดการทุจริตในแคมเปญเลือกตั้งปี 2565
"การลดโทษจำคุกของนาจิบทำให้เราได้ตระหนักว่า มีกฎสองข้อในมาเลเซีย กฎหนึ่งสำหรับชนชั้นสูงที่มีอำนาจ และอีกกฎหนึ่งสำหรับผู้คนทั่วไป" เขากล่าวกับเอเอฟพี.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?
ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
'ทักษิณ' ยอมรับแล้ว! ดอดพบ 'อันวาร์' บนเรือยอชต์กลางทะเล
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสข่าวสะพัดขึ้นเรือยอชต์จาก จ.ภูเก็ต ไปเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล เพื่อพูดคุยกับนายอันวาร์ อิบราฮิม
'จตุพร' ซัด 'ทักษิณ' สติแตก โต้ 'ผมเป็นหนี้อะไรนักหนาสู้ให้จนติดคุก 5 ครั้ง' คงทดแทนพอแล้ว
'จตุพร' ซัด 'ทักษิณ' สติแตก อารมณ์อึดอัดพลุกพล่าน พูดกราดเกรี้ยวดุดัน โชว์ถ่อยเป็นพ่อไม่ไว้หน้านายกฯ ลูกสาว จวกปราศรัยเหวี่ยงแห ดุด่าสองแง่สามง่าม ยัดเยียดสารพัดเนรคุณ ย้อนแสบทดแทนบุญคุณนักสู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บหรือยัง ลั่น 'ผมเป็นหนี้อะไรนักหนา' สู้ให้จนติดคุก 5 ครั้ง ชีวิตผจญชะตากรรมไม่รู้จบ บ้านรอถูกยึด คงทดแทนกันพอแล้วมั้ง
'ทักษิณ' เผย 26 ธ.ค.นี้ คุย 'อันวาร์' แต่ยังไม่รู้สถานที่ฝั่งไทยหรือมาเลเซีย
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เตรียมพบกับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ในวันที่ 26 ธ.ค.นี้ หลังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ว่า
เทพไทวิเคราะห์ปม 'อันวาร์' ตั้ง 'ทักษิณ' เป็นการปูทางกลับมาเป็นนายกฯ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์คลิปพร้อมเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก