ย้อนรอยตั้ง 'พล.ร.7-พล.ม.3'

แผนรุกหนักในการ “ปฏิรูปกองทัพ”ที่ประกาศไว้ในนโยบายของพรรคก้าวไกลและพร้อมเดินหน้าต่อเมื่อเป็นรัฐบาล     แม้ไม่ได้มีปฏิกริยาใดๆ จากฝั่งฝากกองทัพ รอเพียงเวลาที่จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลว่าได้ดำเนินการเรื่องใดไปแล้วบ้าง แต่ในการประชุมสภากลาโหมที่ผ่านมา ได้มีการหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพูดกัน ปมประเด็นคือการให้เหล่าทัพนำเรื่องราวที่ได้ดำเนินการนั้นไปสร้างการรับรู้ต่อสังคม

โดย พ.อ.จิตนาถ ปุณโณทก รองโฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงว่า ที่ประชุมมีมติให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ สร้างการรับรู้และความเข้าใจอันดีให้กับประชาชนในทุกภาคส่วน ได้ทราบถึงภารกิจ หน้าที่ ความรับผิดชอบและการดำเนินการที่สำคัญของกระทรวงกลาโหมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมกำลังการใช้กำลัง เพื่อสร้างความพร้อมให้กับกองทัพให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงโครงสร้าง ให้มีขนาดกะทัดรัด คล่องตัว ทันสมัย เช่น การยุติแผนการเสริมสร้างกองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7 ) -กองพลทหารม้าที่ 3  (พล.ม.3)ของกองทัพบก การปรับลดกำลังทหารพรานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,656 อัตรา ประหยัดได้ 600 ล้านบาท

ย้อนกลับไป เมื่อปี 2553 กระทรวงกลาโหมได้ประเมินภัยคุกคามด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย ตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ พ.ศ.2553 ของหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศไทย มองว่า สถานการณ์การเมืองในประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีความเข้มแข็ง และมีเสถียรภาพอย่างมาก มีการพัฒนากองทัพ มุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถการรักษาความมั่นคงภายใน และการปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง โดยให้ความสำคัญกับระบบป้องกันภัยทางอากาศสำหรับเมืองหลวงใหม่ กรุงเนปิดอ

ทำให้วันที่ 22 มีนาคม 2553 สมัยที่ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติให้กระทรวงกลาโหมจัดบรรยายสรุปเรื่องการพัฒนากองทัพของประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนากองทัพไทยให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในตอนนั้น และคณะคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบ  โดยทางนายอภิสิทธิ์ได้รับทราบแผนการจัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) โดยเริ่มให้มีที่ตั้ง บก. และร้อย บก.พล.ร.7 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน  พร้อมทั้งให้กองทัพบกปรับโอนการบังคับบัญชา กรม ของ พล.ร.4 มาเป็นฐานในการจัดตั้งหน่วยก่อน เพื่อให้มีความเป็นไปได้ทางด้านงบประมาณ จากนั้นจึงพิจารณาจัดตั้งหน่วยเพิ่มเติมตามความจำเป็นด้านยุทธการ และสถานภาพด้านงบประมาณต่อไป

จนกระทั่ง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้จรดปากกาเซ็นคำสั่ง ทบ. ที่ 9/54 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2554 เรื่องการจัดตั้ง พล.ร.7 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของกองพลรบพิเศษที่ 2 พร้อมโอนหน่วยหน่วยรบคือ กรมทหารราบที่ 7 (ร.7), กรมทหารราบที่ 17 (ร.17), กองพันทหารทหารปืนใหญ่ที่ 7 (ป.พัน 7), กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 17 (ป.พัน 17) ซึ่งหน่วยทั้งหมดโอนมาจากกองพลทหารราบที่ 4 (พล.ร.4) “ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” จ.พิษณุโลก มาเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ พล.ร.7 ในระยะแรก  โดยห้วงเวลาในการจัดตั้งมีทั้งหมด 5 ระยะโดยสิ้นสุดในปี 2568

แต่ด้วยเป็นจังหวะที่กองทัพบกตั้งจัดตั้ง 2 กองพลในเวลาใกล้เคียงกัน คือ พล.ม.3 ด้วย ทำให้การจัดตั้งไม่เดินไปตามแผนที่สมบูรณ์ ทำให้ต้องถอน ร.7 กลับไปขึ้นตรงกับ พล.ร.4 เหมือนเดิม เหลือแค่ ร.17  เพียง 1 กรม ตั้งอยู่ จ.พะเยา จัดอัตราและเกลี่ยกำลังลได้ 3กองพัน  รับภารกิจที่ ทบ.มอบหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำหน้าที่เป็นกองพันยุทธศาสตร์ และฝึกกำลังสำรอง 

ส่วนการจัดตั้ง พล.ม.3  ค่ายเปรมติณสูลานนท์ จ.ขอนแก่น  เป็นการเสนอแนวคิดมานานแล้ว แต่เป็นรูปเป็นร่างหลังเหตุการณ์เขาพระวิหาร  โดย “พ่อม้า“อย่าง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีผู้ล่วงลับ  เป็นผู้ผลักดันเรื่องดังกล่าวมาตลอดเนื่องจากเห็นว่าด้านตะวันออก ยังไม่มีกองพลทหารม้า  และได้เคยสอบถามเรื่องนี้กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหมและเข้ามาอวยพรวันเกิดว่า

“เรื่องนี้ พล.อ.ประวิตร ควรจะรับทราบ ทราบว่าติดอยู่ที่การพิจารณาของสถาบันวิชาการทหารชั้นสูงมาปีกว่าแล้ว มันเสียเวลามาหลายปี ก่อนที่เราจะตาย อยากจะเห็นและเป็นห่วงเรื่องนี้ ขอให้ช่วยกัน ขอให้เราตายอย่างสบายจะได้เห็นว่ามีพกงอพลทหารม้าขึ้นมาอีก 1 กองพล ตอนนี้กรมทหารม้าที่ 6 มีอยู่ 3 กองพัน คือ ม.พัน .6  ม.พัน.4  และ ม.พัน 15 ซึ่งตั้งแล้วได้ 1 กรม ทั้ง 3 กองพัน นี้สามารถแยกออกเป็น 1 กรม ได้แล้ว คิดว่าไม่น่ายาก “พล.อ.เปรม กล่าว

จากนั้น ไม่นานกองพลทหารม้าที่ 3 ก็ได้รับการอนุมัติจาก ครม.  จุดประสงค์หลักคือการจัดตั้งกองพลทหารม้าเพื่อสนับสนุนกำลังของ กองทัพภาคที่ 2ในพื้นที่พรมแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะเวลาของโครงการ 10 ปี งบประมาณ 1,5 พันล้านบาท มีการเสริมสร้าง 2 กรมทหารม้า ประกอบด้วย  2กองพันรถถัง หนึ่งในนั้นคือ VT-4 ซึ่งจัดซื้อจากจีน พร้อมกันนั้นได้มีการเกลี่ยอัตรากำลังพลจากหน่วยทหารม้าภาคอีสานให้ครบอัตราการจัด

แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณทำให้การขยาย พล.ม.3 ดังกล่าวหลังครบ10 ปีต้องยุติลงไปโดยปริยาย  และ ทบ.เห็นว่า  ศักยภาพของหน่วยเหมาะสมสอดคล้องกับภัยคุกคามที่มีอยู่ โดยมีการปรับโครงสร้างให้เป็นกองพันยุทธศาสตร์เน้นการฝึกกำลังสำรองในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเช่นกับ พล.ร.7

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

งบ68 ทร.ซื้อเครื่องบินลำเลียง  ‘เรือดำน้ำ-ฟริเกต’ ไปถึงไหน?

คงต้องติดตามดูต่อไปว่า “สุทิน” จะได้รับการอนุมัติให้นั่งเก้าอี้ รมว.กลาโหมต่อเพื่อผลักดันโครงการ และปัญหาที่ยังไม่ลุล่วงเหล่านี้หรือไม่

นายพลเสื้อส้ม เสนอต้องใช้ยาแรงปฏิรูปกองทัพ ป้องกันรัฐประหาร

คณะทำงานเสนอแนวทางปฏิรูปกองทัพ ทีมกองทับก "เสธโหน่ง-นายพลเสื้อส้ม" ชี้แก้กม.กลาโหม ทำได้ยากในทางเทคนิค เสนอต้องใช้ยาแรงปฏิรูปกองทัพ ยึดอำนาจผบ.ทบ.ในการประกาศกฎอัยการศึก -ให้ผู้นำเหล่าทัพตั้งทหารได้แค่สองระดับ ไม่ให้ถึงระดับผู้การกรม-ผู้พัน เผยเตรียมชงพิมพ์เขียว ยกเครื่องท็อปบู๊ตครั้งใหญ่  ชง ”บิ๊กต่อ-เจริญชัย ผบ.ทบ.”

‘วิโรจน์’ หนุน ‘สุทิน’ แก้กฎหมายกลาโหม สกัดรัฐประหาร ลั่นต้องทำให้ถึงแก่น

‘วิโรจน์’ เห็นด้วยในหลักการ หลัง ‘สุทิน‘ เสนอแก้ ’กฎหมายกลาโหม‘ สกัดรัฐประหาร แต่ต้องแก้ให้ถึงแก่น ไม่ใช่แค่ผิว ชี้ เป้าหมายสูงสุด คือทำให้กองทัพไม่อยู่ในฐานะรัฐอิสระ แนะ ควรปรับสัดส่วน ‘สภากลาโหม’ ให้เหลือแค่ 11 คน-มีทหารไม่เกินกึ่งหนึ่ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่