หนี้ครัวเรือนปัญหาที่ต้องรีบแก้

เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ข้อมูลสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน หรือหนี้สินครัวเรือน ณ ไตรมาส 4/2564 พบว่า หนี้สินครัวเรือนไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 14.58 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน  90.1% ต่อ GDP เทียบกับไตรมาส 4/2563 ที่หนี้สินครัวเรือนของไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 14.04 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.7% ต่อ GDP

โดยจากข้อมูลพบว่า คนไทยมีหนี้สินที่กู้จากสถาบันรับฝากเงิน (ธนาคาร) มากที่สุด ราวๆ 12.5 ล้านล้านบาท ส่วนอีก 2 ล้านล้าน มาจากการกู้เงินผ่านสถาบันการเงินอื่นๆ ขณะที่โครงสร้างหนี้ครัวเรือนภาพรวม ณ สิ้นปี 64 หนี้ส่วนใหญ่ของครัวเรือน 3 อันดับแรกยังคงเป็น 1.เงินกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีสัดส่วน 34.5% ของหนี้ครัวเรือนรวม 2.เงินกู้เพื่อการประกอบธุรกิจ สัดส่วน 18.1% ของหนี้ครัวเรือนรวม และ 3.เงินกู้เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์/รถจักรยานยนต์ สัดส่วน 12.4% ของหนี้ครัวเรือนรวม

อย่างไรก็ดี หนี้ครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับที่สูงมาก และเป็นระดับที่น่ากังวล เพราะด้วยภาระหนี้ดังกล่าวนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเกี่ยวกับด้านกำลังซื้อในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้ในขณะนี้ทางฝ่ายนโยบาย ทั้งสภาพัฒน์, กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จับตาอย่างใกล้ชิด และก็พยายามชูประเด็นให้ปี 2565 เป็นปีของการจัดการหนี้

แต่การแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องง่าย แม้หลักการภาพกว้างจะดูเหมือนง่าย ก็คือ การจัดการกับก้อนหนี้ในปัจจุบัน และการชะลอการก่อหนี้ใหม่ในอนาคต แต่เมื่อลงมือปฏิบัติมันเป็นงานที่หินมาก เพราะว่าเรื่องนี้มันเกินกว่ากำลังของ ธปท.ที่จะจัดการรับมือไหวเพียงหน่วยงานเดียว

ต้องรู้ก่อนว่า แหล่งที่มาของหนี้ครัวเรือนจริงๆ แล้วไม่ได้มาจากระบบสถาบันการเงินที่ ธปท.เป็นผู้ที่ดูแลเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น ยังมีหนี้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงเกษตรฯ ขณะที่หนี้สินจากบริษัทเช่าซื้อและลีสซิ่งจำนวนมากก็ยังไม่มีผู้กำกับดูแลชัดเจน รวมถึงหนี้นอกระบบอีกจำนวนมหาศาลที่ไม่มีตัวเลขซึ่งเก็บเป็นข้อมูลสถิติไว้

จากปัญหานี้ชัดเจนว่าในการแก้ไขก็จะยุ่งยาก เนื่องจากมีเจ้าภาพหลายกลุ่ม ลำพังจะให้ ธปท.หรือกระทรวงการคลังขับเคลื่อนเพียงหน่วยงานเดียวไม่มีทางสำเร็จ ดังนั้นการจัดการหนี้สินครัวเรือนจะต้องใช้พลังจากระดับนโยบายที่จะต้องขับเคลื่อนในภาพกว้าง ครอบคลุมในทุกมิติ ไม่ใช่แค่การจัดการเฉพาะหนี้ในระบบเท่านั้น แต่รวมถึงหนี้นอกระบบด้วย ยิ่งเงินกู้ทั้งสองแห่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกันราวกับฟ้ากับดิน ถึงแม้จะแก้ไขหนี้ในระบบได้ดีสักเพียงไหน แต่ไม่ได้ล้างหนี้นอกระบบไปด้วย สุดท้ายหนี้นอกระบบจะเพิ่มพูน และครัวเรือนก็จะจมกองหนี้อยู่ดี

ในเบื้องต้นสิ่งที่อาจจะพอช่วยแก้ปัญหาได้นั้นก็คือ การให้ ธปท.ขยายขอบเขตการกำกับผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยเพื่อให้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นแหล่งกู้เงินของภาคครัวเรือน เพราะจากตัวเลขเห็นได้ชัดเจนว่าสัดส่วนหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้นจาก 6.0% ในปี 59 มาที่ 8.0% นับเป็นการสะท้อนถึงสินเชื่อเพื่อการบริโภค ซึ่งบางแห่งไม่ได้อยู่ในกำกับของ ธปท. ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนรายย่อยได้รับความคุ้มครองควบคู่กับการดูแลเสถียรภาพระดับมหภาค ขณะที่ผู้ให้บริการสินเชื่อก็จะดำเนินการตามแนวทางปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ โดยให้มั่นใจว่าลูกหนี้จะมีรายได้เหลือเพียงพอต่อการดำรงชีพ และไม่มีพฤติกรรมการก่อหนี้ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การกู้วนเพื่อรีไฟแนนซ์หนี้เดิม

ขณะที่หนี้สินในระบบสถาบันการเงิน ธปท.ก็มีแนวทางในการกำกับดูแล ทั้งมีการพักหนี้ ปรับโครงสร้าง เบรกชำระ เพื่อให้ระบบเดินหน้าต่อไปได้ 

ส่วนหนี้นอกระบบนั้น คงจะต้องมีการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สายปราบปราม เพื่อจัดการเจ้าพ่อเจ้าแม่เงินกู้ และเพิ่มช่องทางให้ผู้กู้เข้าถึงแหล่งเงินในระบบมากที่สุด

และที่สำคัญมากที่สุดคือ การปลูกฝังทัศนคติการออม และการลงทุน รวมถึงการวางแผนการเงินที่ถูกต้อง ซึ่งควรบรรจุเป็นหลักการเรียน การสอน เป็นวิชาบังคับตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเงินให้มากขึ้น.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล