ดิจิทัลพลิกโฉมธุรกิจสุขภาพ

การแพร่ระบาดโควิด-19 ไปทั่วโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเทคโนโลยี ซึ่งเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์ ได้ระบุว่า ในปี 2563 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติดิจิทัลที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกระแสการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลนี้คือ บริการสาธารณสุข ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา องค์กรต่างๆ ต้องรีบเร่งมองหาโซลูชันที่จะรองรับการให้บริการทางการแพทย์ผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้รับบริการ

เมื่อการแพร่ระบาดเริ่มต้นขึ้น การขยายการให้บริการได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน จึงกลายเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับสถานพยาบาลและหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทำให้จำเป็นต้องมุ่งเน้นนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น AI ระบบงานอัตโนมัติ ระบบข้อมูล และบอตต่างๆ ที่รองรับการสนทนามาใช้งาน นับเป็นการยกระดับการใช้งานระบบอัตโนมัติขั้นสูง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการอย่างฉับไว และปรับปรุงประสบการณ์ของผู้รับบริการ

และไม่ว่าความคาดหวังของลูกค้าในภาคธุรกิจบริการสาธารณสุขจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่มีแนวโน้มที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ การปรับปรุงระดับการให้บริการ คุณภาพ และคุณประโยชน์ที่ได้รับ

ดังนั้นผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะสามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวเพื่อให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจได้อย่างไร?

และแนวโน้มสำคัญด้านประสบการณ์ลูกค้าในภาคธุรกิจบริการสาธารณสุข ต้องมีบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และบริการพยาบาลทางไกล การเข้าดูแลผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที และการให้บริการด้านสุขภาพทุกที่ทุกเวลานับเป็นแนวโน้มหนึ่งที่สำคัญ ดังนั้นการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้สถานพยาบาลสามารถนำเสนอประสบการณ์หลากหลายช่องทางให้กับผู้ป่วย ผู้ดูแล และตัวแทน ด้วยการจัดหาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่รองรับทุกขั้นตอนของการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยและการให้บริการรักษาพยาบาล

ต้องปรับขั้นตอนการทำงานให้เป็นแบบอัตโนมัติและง่ายดายมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันสถานพยาบาลต้องรับมือกับ Portal ที่หลากหลาย รวมไปถึงระบบสุขภาพ และช่องทางการติดต่อต่างๆ ส่งผลให้ขั้นตอนการทำงานแยกเป็นส่วนๆ ไม่เชื่อมต่อกัน และก่อให้เกิดช่องว่างและความยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อการให้บริการแก่ผู้ป่วย ดังนั้นเทคโนโลยีระบบงานอัตโนมัติจะเพิ่มความรวดเร็วในการอนุมัติ เพิ่มความสะดวกในการนัดหมายและการปรับเปลี่ยนตารางเวลา รองรับการจัดทำรายงานในทันที และลดความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสารสำหรับประกัน

นอกจากนี้ต้องมีความโปร่งใสของข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ตามระบบต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในปัญหาท้าทายสำคัญที่สุดภายในองค์กร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สถานพยาบาลจำเป็นที่จะต้องเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลและระบบต่างๆ เข้าไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลผู้ป่วยมีความครบถ้วนสมบูรณ์และสอดคล้องกัน

และที่สำคัญต้องความปลอดภัยและความเชื่อมั่น ถ้าผู้บริโภคต้องเข้ารับการตรวจร่างกายหรือการตรวจเลือด ผู้บริโภคก็คาดหวังว่าข้อมูลส่วนตัวของตนเองจะได้รับการปกป้อง รวมถึงผลการตรวจที่มีความเที่ยงตรงและถูกต้อง ดังนั้นสถานพยาบาลจะต้องใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมและกำหนดผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย และจัดการดูแลให้ผลการตรวจมีความถูกต้องและปราศจากข้อผิดพลาด

ซึ่ง Artel ได้ร่วมมือกับ Persistent เพื่อสร้างชุดซอฟต์แวร์ ด้วยเทคโนโลยีของเอาท์ซิสเต็มส์ จึงสามารถสร้างโซลูชันที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น  เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ทั้งยังสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผลการตรวจจากห้องแล็บมีความแม่นยำ ไว้ใจได้ และช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วยในภาคบริการสาธารณสุขไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน แต่เป็นปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะประสบการณ์ที่เหนือกว่าจะช่วยปรับปรุงการรักษาพยาบาลและเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้ป่วยไปในทางที่ดีขึ้น.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี