
ประเทศไทยในปี 2565 นี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นฟื้นฟูอย่างจริงจังจากความบอบช้ำของพิษเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยสำคัญอย่างโควิด-19 ที่กดดันและฉุดรั้งไม่ให้เกิดการพัฒนามานานเกือบ 3 ปี แน่นอนว่าส่งผลไปยังทุกภาคส่วนในโลกที่จะต้องมีการปรับตัว โดยในปีนี้ถือว่าทุกอย่างเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว ก็ถือเป็นโอกาสที่สำคัญในการฟื้นฟูหลายๆ อย่างให้กลับคืนมา
เช่นเดียวกับที่คนในสังคมเองก็เริ่มมีหนทางที่จะฟื้นฟู ต่อยอด และพัฒนาทั้งอาชีพ ความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพกลับมาดีเทียบเท่าหรือมากกว่าช่วงเวลาก่อนเกิดโควิดได้ โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ จากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีให้เลือกใช้เกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตที่ปัจจุบันแผนงานและบริการมากมายมาส่งเสริมให้มีทิศทางที่ดีขึ้น
ขณะที่ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ประกอบการการค้า การบริการ หรือในหลายๆ อาชีพก็มีหลายเครื่องมือที่เข้ามาช่วยเหลือทำให้หลายๆ กิจกรรมฟื้นคืนมา ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องและมีแผนดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอดอย่างกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ในปี 65 นี้ก็มีแผนงานที่ชัดเจน ภายใต้การนำของ "สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Ecosystem) เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ช่วยส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บูรณาการการดำเนินงานหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย เป็นแนวทางการทำงานและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์โลกในปัจจุบันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยมีกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับแผนการพัฒนาประเทศและภาคอุตสาหกรรม
เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนความมั่นคงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ และนโยบายระดับกระทรวง เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น
โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ขึ้น ซึ่งจะผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตมีความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ด้วยการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยที่การส่งเสริมและการพัฒนาต้องสอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ ซึ่งการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้จะก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ มูลค่าและมาตรฐาน รวมถึงพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง แข่งขันได้ในเวทีโลก
และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปีนี้ยังคงมุ่งเน้นไปที่การยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ โดยเน้นไปที่งานวิจัย การต่อยอดงานวิจัย และการประยุกต์ใช้ทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมใหม่
ด้วยการสนับสนุนสร้างโอกาส และลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย BCG Model เป็นการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นดำเนินกิจการที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสู่องค์กรดิจิทัลเพื่อให้การบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยแผนงานดังกล่าวที่จะมีการพัฒนาระบบและความสามารถของบุคลากรในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ รวมถึงตอบโจทย์สำคัญให้กับการฟื้นฟูกิจกรรมต่างๆ ของสังคมให้กลับมาสู่ภาวะปกติแบบยั่งยืนต่อไปในอนาคตหากแผนดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างครบถ้วน.
ณัฐวัฒน์ หาญกล้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แปลงขยะอินทรีย์รับเทรนด์ESG
การลดปริมาณและแยกประเภทขยะอินทรีย์ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของชุมชนและองค์กรต่อไป
รับมือเศรษฐกิจผันผวน
คงต้องจับตาภาวะเศรษฐกิจไทยในเวลานี้ ที่ต้องเผชิญ มรสุมคลื่นลมแรงจากภายนอก ทั้งปัญหาการระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก
เน็กซ์เจนปั้นธุรกิจครอบครัวยุคโควิด
“โควิด-19” ถือเป็นหนึ่งในตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ แ
ความหวังของเศรษฐกิจ กับการเปิดประเทศอีกครั้ง
ประเทศไทยหลังจากผ่านมรสุมมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของการต่อสู้กับโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่
การบินเริ่มกลับมาคึกคัก
หลังจากรัฐบาลประกาศยกเลิกมาตรการเข้าประเทศในรูปแบบ Test & Go ตั้งแต่ 1 พ.ค.2565
พลังงานมั่นคง-ลดพึ่งพา
วิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาพลังงานทั่วโลกพุ่งสูงทะลุเพดาน