ไทยต้องมุ่งหน้าสู่เศรษฐกิจใหม่

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยของเราติดกับดักรายได้ปานกลาง และยังไม่สามารถจะยกระดับของตัวเองให้หลุดพ้นจากวงจรนี้ไปได้   

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งในเรื่องความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงโอกาสต่างๆ การศึกษา รวมถึงการผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจรัฐบาลที่ปรับตัวค่อนข้างช้า ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยค่อนข้างต่ำ และในช่วงของโควิดมีช่วงเวลาติดลบด้วยซ้ำ

ปัญหาของไทยในตอนนี้ที่มีปัญหาก็คือ ไทยไม่มีอุตสาหกรรมที่จะสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเหมือนอย่างในอดีต จะเห็นได้ชัดว่า ธุรกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศยังเป็นรูปแบบ Old Economy ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม s-curve ที่ตกรุ่น อย่างพวกรับจ้างผลิต, อุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรืออุตสาหกรรมยานยนต์  เครื่องยนต์สันดาป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถจะไปแข่งขัน และสร้างกำไรมหาศาล หรือดึงดูดการลงทุนได้เหมือนอย่างในอดีตอีกแล้ว

ดังนั้นไทยเราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องปรับตัวเอง และสร้างอุตสาหกรรม s-curve ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และมีการพัฒนามากกว่าคู่แข่ง

 ที่ผ่านมาดูเหมือนว่ารัฐบาลกำลังพยายามสร้าง 10 อุตสาหกรรม S-Curve ใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive), อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics), อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism), อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology), อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)

และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics), อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics), อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals), อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital), อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) แต่ดูเหมือนว่า การขับเคลื่อนยังเต็มไปด้วยความล่าช้า ยังไม่เห็นผลความสำเร็จในเชิงประจักษ์

ดังนั้นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนในตอนนี้คือ การพาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุคใหม่ที่จะต้องเป็นโลกธุรกิจของอนาคต ซึ่งจะเห็นได้จากหลายประเทศที่สามารถนำตัวเข้าสู่ s-curve ใหม่ได้ ที่สำเร็จมากที่สุด คือจีน ที่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมไอที อินเทอร์เน็ต เอไอ และ IOT จนก้าวหน้าระดับโลก

ทั้งนี้ ในมุมมองของซีอีโอระดับประเทศอย่าง ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้สรุป 8 ก้าวสำคัญนำไทยสู่ยุคเศรษฐกิจ 5.0 ได้อย่างสำคัญ

Big Move แรกคือ การวางตำแหน่งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งเทคโนโลยี หรือ Tech Hub ในระดับภูมิภาค Big Move ที่ 2 คือการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและการเงินของภูมิภาค หรือ Logistic & Financial Hubs กุญแจสำคัญคือ รถไฟไทย-จีน Big Move ที่ 3 คือการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความมั่นคงทางอาหาร Big Move ที่ 4 คือ การเตรียมพร้อมเรื่องคน หรือ People Readiness ในการก้าวสู่ยุค 5.0 ที่เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี และการสนับสนุนและส่งเสริมสตาร์ทอัปไทย

 Big Move ที่ 5 คือ การพัฒนา Smart City, Smart Town และ Smart Village เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ที่สร้างให้เกิด “เศรษฐกิจใหม่”       Big Move ที่ 6 คือ World Political Neutrality ภาวะการเมืองที่เศรษฐกิจพยายามแบ่งเป็น 2 ขั้ว ไทยต้องยืนอยู่ตรงกลาง Big Move ที่ 7 คือ เรื่องของ State Transformation ข้าราชการระดับบริหารต้องมีรายได้สูงกว่าเอกชน เพื่อดึงดูดคนเก่งเข้าสู่ระบบราชการ        

และ Big Move ที่ 8 คือ Thailand Sustainable Dream หรือความยั่งยืน ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยสู่ยุค 5.0 โดยเฉพาะการทำ Net-Zero, Zero-Waste, Zero-poverty, Zero-Crime และ Zero Unemployment พูดง่ายๆ คือ 100% Security

ชัดเจนแล้วว่าประเทศจำเป็นต้องมี Big Move ไปในเส้นทางนี้ ที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโตเข้มแข็งในอนาคตได้.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา