ไทยจะเจอ 'Stagflation' หรือไม่

หลังจากที่ราคาน้ำมันในประเทศยังคงปรับตัวอยู่ในระดับสูง ได้สร้างความกังวลต่อเรื่องอัตราเงินเฟ้อ หลังจากราคาสินค้าส่งสัญญาณปรับขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนค่าขนส่งต่างๆ ที่ขยับตัวสูงขึ้น จนตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงภาวะ 'Stagflation' ที่อาจจะเกิดขึ้นจากเศรษฐกิจไทยในปีหน้า

ภาวะ 'Stagflation' น่ากลัวอย่างไร คำนี้ ศัพท์ที่รวมกันระหว่าง “Stagnation” ที่หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือหดตัว และ “Inflation” หมายถึง เงินเฟ้อหรือภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะการเพิ่มขึ้นของระดับสินค้าและบริการ ดังนั้น Stagflation จึงเป็นการรวมสถานการณ์ทั้งสอง นั่นคือ การเกิดภาวะเงินเฟ้อในขณะที่เศรษฐกิจยังคงมีความชะลอตัว

แน่นอน ถ้าเกิดภาวะแบบนี้ย่อมส่งผลกระทบที่ค่อนข้างใหญ่ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการว่างงานที่จะเพิ่มสูงขึ้นเพราะเศรษฐกิจถดถอย และประชาชนยังถูกซ้ำเติมด้วยภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น เป็นปัญหา 2 เด้งที่กระทบต่อการดำรงชีพ

อย่างไรก็ดี ขอให้อย่าเพิ่งกังวลกับภาวะ 'Stagflation' มากนัก เพราะมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่าไทยไม่น่าจะเจอปัญหาแบบนี้

อย่างความเห็นของนายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ มองว่า โอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation นั้นยังค่อนข้างน้อย ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปี และทรงตัวในระดับสูงกว่า 5% ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่ TISCO ESU มองว่า เงินเฟ้อในปัจจุบันเกิดจากปัจจัยชั่วคราว และจะทยอยลดลงในช่วงปลายปีนี้ อีกทั้งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดแต่ละสินค้า พบว่าในช่วงต้นปีอัตราเงินเฟ้อถูกผลักดันให้เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการเปิดเศรษฐกิจเป็นหลัก ได้แก่ ราคารถมือสอง ค่าเช่ารถ ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่าที่พักโรงแรม ซึ่งราคาในกลุ่มดังกล่าวเริ่มปรับลดลงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี แม้ยังมองว่าโอกาสเกิด Stagflation จะมีจำกัด แต่พัฒนาการเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงหากเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเริ่มมีสัญญาณส่งผ่านของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไปยังสินค้าอื่นๆ และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเริ่มกดดันการบริโภคจนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Stagflation ก็อาจมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องจับตาต่อไป

ด้านนายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่า 2% ในไตรมาสสามปี 2565 จากฐานที่ต่ำปี 2564 แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นชั่วคราวตามราคาน้ำมันไม่น่าเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสี่ปี 2564 น่าจะฟื้นตัวจากไตรมาสสามได้ราว 1.4% ซึ่งภาวะเช่นนี้เศรษฐกิจไทยยังห่างไกลจากภาวะ stagflation โดยเรายังมองว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ราว 3.2% ในปีหน้า ยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่ทำเงินเฟ้อเร่งขึ้น เราจะมาประเมินว่าผลกระทบต่อภาคส่วนเศรษฐกิจต่างๆ จะมีมากน้อยเพียงไร และประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเช่นไรเทียบกับประเทศอื่น

พร้อมกันนี้ นายอมรเทพยังสรุปว่า แม้นักลงทุนกำลังกังวลปัญหาเงินเฟ้อ เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวแรงตามราคาน้ำมัน และอุปทานชะงักงันในหลายภาคการผลิต แต่เราเชื่อว่าปัญหาราคาน้ำมันและปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจอื่นๆ จะคลี่คลายในไตรมาสแรกปีหน้า เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวช่วงสั้น และยังไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินเข้มงวดด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสกัดเงินเฟ้อ ดังนั้นเงินเฟ้อไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ให้ระวังมาตรการที่มารับมือกับเงินเฟ้อ เช่น การรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเศรษฐกิจชะลอ หรือการลังเลที่จะใช้นโยบายการคลังในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวในปีหน้าได้.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา