จับทางออนไลน์ช่วยธุรกิจ

โลกออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นหนึ่งในช่องทางสำคัญที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจให้เป็นที่รู้จักได้มากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้ประกอบการจะต้องติดตามและปรับตัวเพื่อใช้เครื่องมือดังกล่าวให้ทันท่วงที เช่นเดียวกับต้นแบบหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ณ ชุมชนประแส จังหวัดระยอง ที่ถือว่าจับทางถูก และอาศัยช่องทางออนไลน์เป็นการโปรโมตตัวเองได้อย่างดี

โดยความสำเร็จของต้นแบบหมู่บ้าน CIV ประแส จังหวัดระยองนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนของทีมจากกระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ในโครงการ “ดีแทคเน็ตทำกิน” ที่ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมกระตุ้นการท่องเที่ยวและการบริโภคในเศรษฐกิจระดับชุมชน โดยการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ในพื้นที่

และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและการตลาด รองรับการท่องเที่ยวระดับชุมชน งานฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และการเข้าสู่ยุคนิวนอร์มอลที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งล่าสุด นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้นำคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมความสำเร็จของพื้นที่ดังกล่าวในการทำตลาดออนไลน์

ซึ่งต้องยอมรับว่าวิถีชุมชน ณ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บ้านปากน้ำประแส ตำบลปากน้ำประแส อำเภอแกลง จังหวัดระยองนั้นมาถูกทาง โดยนางวรวรรณกล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและดีแทคจะช่วยเสริมศักยภาพการทำการตลาด โดยเฉพาะการทำตลาดออนไลน์ การทำคอนเทนต์เพื่อเล่าเรื่องของชุมชน ซึ่งนอกจากส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนให้เกิดขึ้นแล้ว ยังเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เพิ่มรายได้ชุมชน โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ รายได้จากการขายของที่ระลึก การท่องเที่ยว เป็นต้น

ขณะเดียวกัน คาดว่าการนำระบบดิจิทัลมาผสานกับวิถีชีวิตดั้งเดิมจะช่วยดึงจุดเด่นของชุมชนออกมาเป็นจุดขาย ทำให้คนรุ่นใหม่มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และเห็นคุณค่าสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในชุมชน สร้างอาชีพและรายได้ให้เพิ่มขึ้น ตอบโจทย์นโยบายรัฐด้านการแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำได้อีกด้วย

โดยใครคิดจะไปเยี่ยมชมชุมชนแห่งนี้ ก็ถือว่าไปแล้วครบเครื่องแน่นอน เพราะในชุมชนประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 8 แห่งที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังพึ่งพาอาชีพประมงพื้นบ้าน มีการทำนากุ้ง เลี้ยงปลาน้ำกร่อยริมฝั่งแม่น้ำ บางหมู่บ้านก็ยังยึดอาชีพทำสวนผลไม้ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์เหล่านี้ยังทำให้ตำบลปากน้ำประแสมีท่าเรือประมงขนาดใหญ่ มีชุมชนอยู่กันหนาแน่น จึงกลายเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของตำบล

ซึ่งสัญลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้คือเรือหลวงประแส 412 ที่เป็นอนุสรณ์สถานที่ได้รับการบรรจุเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ได้ถูกนำมาใช้เป็นตรารับรองผลิตภัณฑ์หรืองานบริการต่างๆ ภายในชุมชน และยังมีจุดท่องเที่ยวอื่นๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นศาลกรมหลวงชุมพรฯ ทุ่งโปร่งทอง สะพานชมวิวประแสสิน บ้านพิพิธภัณฑ์ปากน้ำประแส ทั้งยังมีกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอีกด้วย

นอกจากนี้ใกล้ๆ กันยังมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา ตำบลกะเฉด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (สวนหอมมีสุข) ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณาแห่งแรก ผ่านการรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจปลูกไม้กฤษณาและได้ทดลองวิธีการต่างๆ ที่ทำให้เกิดแก่นไม้กฤษณาจนประสบผลสำเร็จ โดยจัดตั้งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างผลผลิตจากไม้กฤษณา มีการผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่พันธุ์กล้าไม้กฤษณา แก่นกฤษณา น้ำมันหอมระเหย ไปจนถึงสินค้า OTOP ที่ขายทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ

ชุนชนประแสได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การก้าวให้ทันเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยพัฒนาวัตถุดิบที่มีอยู่ในมือได้อย่างดีเยี่ยม แถมยังสามารถต่อยอดไปในด้านต่างๆ ได้อย่างดี เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงจุด.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล