ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สิ่งที่กลายเป็นประเด็นร้อนแรงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องค่าการกลั่นน้ำมัน หลังจากที่ "กรณ์ จาติกวณิช" หัวหน้าพรรคกล้า ออกมาเปิดข้อมูลว่า คนไทยกำลังถูกปล้นจากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน
แน่นอนเคสนี้มีความดุเดือดมากขึ้น เพราะหลังที่มีการปล่อยข้อมูลออกไป ผู้ประกอบการธุรกิจโรงกลั่นก็ตกเป็นจำเลยต่อสังคมทันที โดยเฉพาะการที่ถูกมองว่ากำลังทำนาบนหลังคน หากำไรจากประชาชนที่กำลังเดือดร้อน จนทางกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมถึงกับต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงในหลายประเด็น
แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเหตุผลฝั่งไหนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน คือ 1.ประชาชนเดือดร้อน 2.ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น 3.เงินเฟ้อ ทั้งหมดก็ส่งผลโดยตรงมาสู่ระบบเศรษฐกิจอยู่ดี
ดังนั้น ทุกฝ่ายทั้งภาคการเมือง ผู้ประกอบธุรกิจ และรัฐบาล ควรร่วมมือกันเพื่อหาทางออกในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากที่สุด อะไรที่พอช่วยเหลือกันได้ คุยกันได้ ก็ควรจะร่วมด้วยช่วยกัน
และในที่สุด เมื่อหันหน้าพูดคุยก็เริ่มเห็นทางสว่าง
โดยล่าสุด ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก็มีข้อสรุปออกเป็นมาตรการ ขอความร่วมมือกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ นำส่งกำไรส่วนหนึ่งจากค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันในช่วงวิกฤตน้ำมันแพง โดยเงินในส่วนของน้ำมันดีเซลนำไปบริหารราคาขายปลีกราคาดีเซลให้ไม่เกิน 35 บาท/ลิตร และเงินในส่วนของน้ำมันเบนซินให้นำไปลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 1 บาท/ลิตร
ซึ่งจากหลักการก็น่าจะไม่เป็นปัญหา เนื่องมาจากธุรกิจโรงกลั่นส่วนใหญ่นั้นเป็นเอกชนที่มีรัฐบาลถือหุ้นอยู่แล้ว การเจรจาจึงไม่ใช่เรื่องยากมากนัก
เบื้องต้นกระทรวงพลังงานรายงานว่า กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับกลุ่มโรงกลั่นถึงแนวทางในการดำเนินการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไป รวมทั้งขอความร่วมมือจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้นำส่งกำไรส่วนหนึ่งของโรงแยกก๊าซธรรมชาติเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งคาดว่าจัดเก็บได้ 500-1,000 ล้านบาท/เดือน
อย่างไรก็ดี ในส่วนตัวเลขการนำส่งกำไรส่วนหนึ่งจากค่าการกลั่นน้ำมัน เข้ากองทุนน้ำมัน จะออกมาในสูตรไหนนั้น นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุว่า จะมีการพูดคุยกันระหว่างกระทรวงและธุรกิจโรงกลั่น เพื่อหาข้อยุติได้ภายในสัปดาห์นี้
ส่วนที่มีตัวเลขออกมา 7-8 พันล้านนั้น อย่าเพิ่งกดดันขอใช้เวลาหารือเพื่อหาตัวเลขที่เหมาะสมและรับได้ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าจะมากกว่าหรือน้อยกว่าตัวเลขดังกล่าว
แน่นอนประเด็นนี้จะต้องมีการเกาะติดอย่างใกล้ชิดต่อไป
ส่วนแผนการช่วยเหลือระยะยาวนั้น เพราะราคาน้ำมันคงไม่ลงในเร็วๆ นี้ ทางรองนายกฯ ย้ำชัดว่า ในส่วนที่เป็นแผนระยะยาวจะเป็นความช่วยเหลือในเฉพาะกลุ่มเปราะบางและผู้ที่ได้รับผลกระทบจริงๆ
อย่างที่ทราบ รัฐบาลโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะนี้ก็อยู่ในภาวะตึงมือสุดๆ แทบจะหาสภาพคล่องมาบริหารราคาน้ำมันคงจะไม่ได้ เพราะไม่มีกำลังพอที่จะทำ ลำพังเงินที่แบ่งจากโรงกลั่นก็มาเติมสภาพคล่องได้ไม่มากนัก ดังนั้นจากนี้เราคงจะไม่ได้เห็นการช่วยเหลือแบบหว่านแหอีกต่อไป จนกว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.
ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า
ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม
เคลียร์ปมสถานีอยุธยา
เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2
แจกเงินหวังคะแนน
เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ
เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด
คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น
ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!
ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research