เครื่องมือธุรกิจท่ามกลางวิกฤต

แน่นอนว่า ความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้เป็นเรื่องฉุดรั้งการทำงานและการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งใหม่และเก่าพอสมควร เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้เลย และยังสร้างผลเสียให้กับทุกกระบวนการ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายได้รับความเสียหายกับตัวธุรกิจโดยตรงจนไม่สามารถจะเดินหน้าต่อไปได้ ขณะที่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ก็ยังต้องลุ้นต่อไป ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงในการลงทุน หากทำไปแล้วแต่ดันเกิดผลกระทบที่เป็นปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้นอีกอาจจะเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควร

แต่ก็ใช่ว่าการลงทุนในปัจจุบันจะไม่ใช่ผลดี เพราะมีหลายรายที่ประสบความสำเร็จจากช่วงที่เกิดวิกฤตรอบนี้ได้เช่นกัน ตัวเลือกในการดำเนินงานมีมากมายในตลาด แต่จะทำอย่างไรให้เลือกแล้วถูกต้อง เลือกแล้วประสบความสำเร็จ หรือเกิดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด ในด้านการผลิตเองมีเอกชนหลายรายที่ผ่านมาเกิดความสูญเสียและจำเป็นจะต้องถอนตัวเองออกไปจากภาคการผลิต แต่ในขณะเดียวกันก็มีอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมและเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือธุรกิจรับจ้างผลิต หรือ โออีเอ็ม ที่ปัจจุบันเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกใช้

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ JP ซึ่งได้มองเห็นถึงปัญหาและช่องทางที่จะเดินหน้าธุรกิจรับจ้างผลิตให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของตลาดได้นั้น จึงดำเนินโครงการ ‘Z entrepreneur by JP’ ซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดันให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เช่น สินค้าด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สินค้าโอทอป และสมุนไพรต่างๆ ที่ต้องการโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP ได้มาตรฐานส่งออก แต่ไม่มีเงินลงทุนในการซื้อเครื่องจักร

ให้สามารถเข้ามาปรึกษากับ JP เพื่อสร้างสินค้าที่ได้มาตรฐาน ซึ่งในโครงการนี้ JP ได้เป็นพี่เลี้ยงในการวิเคราะห์ธุรกิจ การทำแผนธุรกิจ ด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงยังให้คำปรึกษาด้านบรรจุภัณฑ์ และการขออนุญาตขึ้นทะเบียน อย. โดยโครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับความสนใจจากทั่วโลก จึงมีคนรุ่นใหม่เกิดความต้องการที่จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจเหล่านี้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่ยังขาดความรู้ และขาดคำแนะนำที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้จริง

นอกจากนี้ ในช่วงเกิดวิกฤต ด้วยการทำให้ภาคธุรกิจในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมเกี่ยวกับโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง ส่งผลให้ภาคผู้ผลิตที่เป็นโรงงานขนาดเล็กมีความเสี่ยงต้องปิดกิจการชั่วคราว หรือปิดโดยไม่มีกำหนด เกิดการรวมกลุ่มใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยการเปิดบริการรับจ้างผลิตสินค้าให้กับโรงงานขนาดเล็ก เพื่อให้โรงงานขนาดเล็กไม่ต้องปิดกิจการ สามารถรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าได้ตามปกติ แต่ไม่ต้องแบกรับต้นทุนด้วยการดำเนินการผลิตเอง เพราะหากคำสั่งซื้อมีปริมาณไม่มากพออาจจะไม่คุ้มทุนกับการผลิตเอง และเสี่ยงต่อการปิดกิจการในที่สุด

ขณะที่มุมมองของผู้เข้าร่วมโครงการอย่างบริษัท มาโว่ เฮลธ์ จำกัด (MAWO) โดย ณัฐณิชา ดอนสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ปัญหาของผู้ประกอบการรายเล็กคือ การมีต้นทุนจำกัดในการลงทุนเครื่องจักรที่ได้มาตรฐานระดับสากล การเข้ามาร่วมโครงการกับ JP จึงทำให้ธุรกิจสามารถเป็นจริงได้ง่ายขึ้น โดยใช้เงินลงทุนไม่มาก อีกทั้งได้รับคำแนะนำ และผ่านการอบรมทั้งด้านงานขาย การเข้าถึงสื่อออนไลน์ การวิเคราะห์ธุรกิจ เป็นต้น

แน่นอนว่า MAWO เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ JP ให้การสนับสนุนจนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นได้จริง จึงเป็นตัวอย่างของผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริมของตัวเอง โดยที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก แต่สามารถสร้างสินค้าที่ได้มาตรฐาน และสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ซึ่งมองว่าการสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ขึ้นมาแข่งขันในตลาดนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี 

และเชื่อว่า การเลือกใช้บริการธุรกิจโออีเอ็มท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวนแบบนี้น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะทุกอย่างจะสามารถควบคุมได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเยอะแต่สามารถต่อยอดและขยายกำลังการผลิตได้ง่าย รวมถึงมีต้นทุนและวัตถุดิบให้เลือกหลากหลาย น่าจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือของผู้ประกอบการที่ต้องการจะพัฒนาธุรกิจในยุคนี้ได้อย่างดีเยี่ยม.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล