จับตาทิศทาง'ค่าบาทอ่อน'

ต้องยอมรับจริงๆ ว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทในเวลานี้มีความผันผวนและอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันค่าเงินบาทวิ่งอยู่ที่ 36.50-36.70 บาท/ดอลลาร์

แต่ไม่ใช่ไทยประเทศเดียวที่เจอปัญหาค่าเงินอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสหรัฐ อย่างค่าเงินเยนของญี่ปุ่นก็เริ่มจะไม่เย็นแล้ว เพราะในรอบปีที่ผ่านมาที่การอ่อนค่าไปถึงเกือบ 20% ซึ่งถือว่าเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 20 ปี

ปรากฏการณ์ค่าเงินอ่อนค่าไปทั่วโลกในครั้งนี้ ปัจจัยก็มาจากการที่ธนาคารกลางของสหรัฐ มีการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดปัญหาเงินเฟ้อในประเทศของเขา และเมื่อการขึ้นดอกเบี้ยที่แรง ก็เป็นเรื่องปกติของเงินที่มีสถานะเป็นของไหล ก็จะไหลไปยังที่ที่มีผลตอบแทนสูงเป็นเรื่องธรรมดา

และแน่นอนในเรื่องของค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง ก็สืบเนื่องจากเงินไหลออกวิ่งไปสหรัฐเช่นเดียวกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ประกาศชัดว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท และจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติด้วยกลไกตลาด

แต่จากสถานการณ์ที่ค่าเงินอ่อนตัวอย่างรวดเร็ว มันก็ไม่ได้เกิดผลดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมากนัก แม้มันจะดีในแง่ของภาคส่งออกและการท่องเที่ยว แต่นี่ก็เป็นเพียงข้อดีในทางทฤษฎี เพราะในความเป็นจริง แม้ค่าเงินบาทของเราจะอ่อนลงจริง แต่ต้องไม่ลืมว่าคู่แข่งทางการค้าของเราก็ค่าเงินอ่อนลงเช่นเดียวกัน เรื่องนี้มันเกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นจะไปคาดหวังว่าบาทอ่อนแล้วส่งออกจะพุ่งทะยานก็อาจจะไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้     

ขณะเดีย     วกันในภาคการท่องเที่ยวที่บาทอ่อนจะทำให้มีคนเข้ามาเที่ยวเยอะขึ้น ก็ต้องไม่ลืมว่าตอนนี้ทั่วโลกเจอปัญหาภาวะเศรษฐกิจขาลงและอัตราเงินเฟ้อกันถ้วนหน้า โดยถึงตอนนี้การเดินทางด้วยสายการบินก็มีราคาแพงขึ้นอันเนื่องมาจากต้นทุนค่าน้ำมัน ดังนั้นจะไปหวังนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาทอ่อน ก็อาจจะเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ เช่นเดียวกัน

ดังนั้นเรื่องค่าเงินบาทอ่อนจึงไม่สามารถมองวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ทั้งหมด แต่จะต้องมองวิกฤตและหาแผนรับมือให้รัดกุมมากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาได้ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นทางของปัญหาค่าเงินบาทอ่อนเกิดจากปัญหาเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นก็ต้องตีโจทย์ให้แตกว่าจะรับมืออย่างไร ต้องไม่ลืมว่าสหรัฐเองก็เจอปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่ยังพุ่งสูง ซึ่งในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา อัตราเงินในสหรัฐยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะยังสูงถึง 9.1% สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ทั้งที่สหรัฐเพิ่งขึ้นดอกเบี้ย 0.75% แต่ก็ยังคุมเงินเฟ้อไม่อยู่ ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่สหรัฐจะต้องขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกอาจสูงถึง 1% ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐในเร็วๆ นี้

ยิ่งสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยเร็วก็มีแนวโน้มที่เงินจะไหลออกไปมากขึ้น และผลก็จะสะท้อนออกมาในเรื่องการอ่อนค่าของเงินบาทเพิ่มขึ้นไปอีก ที่สำคัญไปกว่านั้น เมื่อบาทอ่อนลง ปัญหาการซื้อปัจจัยการผลิตและการลงทุนต่างๆ ก็จะตามมาเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะราคาพลังงาน เพราะสินค้าเหล่านี้ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น และเมื่อราคาพลังงานแพงก็จะไปกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออีกเช่นกัน วนเวียนเป็นวงจรอุบาวท์เลยทีเดียว

จนล่าสุดมีเอกชนเริ่มออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า บาทจะอ่อนค่าทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์ และยิ่งเป็นตัวกดดันเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นไปอีก

คงต้องจับตาว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดการอย่างไรกับเรื่องนี้ให้ออกมาดีที่สุด เพราะแน่นอนว่าไทยก็คงจะไม่ปล่อยให้ช่องว่างดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐห่างออกไปมากกว่านี้ เพราะกระทบต่อเงินทุนไหลออกอย่างมาก แต่ขณะดียวกันการขึ้นดอกเบี้ยแรงและเร็วเกินไปก็เป็นผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้กู้ที่มีหนี้สินที่จะต้องแบกภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น

ก็คงต้องจับตาดูว่า ธปท.จะเลือกตัดสินใจด้วยปัจจัยไหนมากกว่ากัน คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดกันต่อไป.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”