แพลนต์เบสกำลังบูม

ต้องยอมรับว่า ธุรกิจอาหารจะต้องอาศัยเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคและคนในสังคมเพื่อที่จะสามารถตอบสนองกับตลาดได้ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายชนิดของธุรกิจอาหารที่เกิดขึ้นและได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ช่วงหนึ่ง และความนิยมก็เริ่มน้อยลงไปเรื่อยๆ อย่างเช่น ร้านหมูกระทะ ร้านชานมไข่มุก ร้านบุฟเฟต์อื่นๆ ซึ่งทั้งหมดมักจะเกิดขึ้นมาตามเทรนด์ความต้องการนั้นๆ

แต่ร้านประเภทนั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากความนิยมในประเทศเท่านั้น หากก็มีบางกลุ่มธุรกิจที่เกิดขึ้นและสามารถจับตลาดต่างประเทศได้ จนต่อยอดและขยายธุรกิจโดยไม่พึ่งพาเทรนด์ของความนิยม หลังจากหมดความนิยมไปก็ยังสามารถผลักดันให้ตัวเองอยู่รอดมาได้ ซึ่งในช่วงนี้เทรนด์ธุรกิจอาหารที่น่าสนใจก็คงหนีไม่พ้นสินค้าที่ผลิตมาจากโปรตีนจากพืช หรือที่เราเคยได้ยินกันในชื่อ "แพลนต์เบส"

เทรนด์ของคนรักสุขภาพนั้นมีมานานและต่อเนื่อง แต่เมื่อได้มาผนวกกับการต้องการที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมแล้วด้วยนั้น แพลนต์เบสจึงเป็นตัวเลือกหลักๆ ที่ทำให้ผู้ที่สนใจอาหารด้านนี้เกิดความนิยมมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วแพลนต์เบสถือว่าเป็นอาหารที่มีมานานมากแล้วในสังคม แต่ในอดีตด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ก็ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองกับคนบางกลุ่มได้

แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีวิธีการเลียนแบบโปรตีนจากพืชให้มีคุณสมบัติคล้ายกับของเนื้อสัตว์ได้อย่างใกล้เคียงมากๆ จึงสามารถพัฒนาวงการอาหารแพลนต์เบสขึ้นไปได้อีกระดับ และยังสามารถดึงกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากคนรักสุขภาพอีกด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันตลาดของอาหารจากโปรตีนนั้นมีมูลค่าที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ยังเป็นเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเช่นกัน

ซึ่งจากการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่างๆ ล่าสุดได้รับรายงานจาก น.ส.วิชาดา ภาบรรเจิดกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ถึงโอกาสในการส่งออกสินค้าโปรตีนจากพืชของไทยเพื่อเจาะตลาดสเปน รองรับความต้องการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จึงออกมาแนะนำผู้ประกอบการดังกล่าวถึงโอกาสที่จะผลิตสินค้าอาหารที่มุ่งใช้วัตถุดิบโปรตีนจากพืช เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการสร้างความยั่งยืนในการเข้าสู่ตลาดในระยะยาว

โดยโอกาสในการทำตลาดสินค้าดังกล่าว ทูตพาณิชย์ได้รายงานข้อมูลยืนยันว่า มีผลการศึกษาเรื่อง Route to the food transition โดย Louis Bonduelle Foundation ที่ระบุถึงผลการสำรวจว่า ราว 64% ของชาวสเปนยืนยันที่จะเพิ่มการบริโภคโปรตีนจากพืชในปีนี้ ด้วยเหตุผลหลักด้านสุขภาพ 78% และความยั่งยืน 48% เหตุผลรองลงมา ได้แก่ ราคา 26% และรสนิยม 21% โดยประชากรวัยหนุ่มสาวในยุค Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 18-28 ปี ยืนยันการบริโภคโปรตีนจากพืชเพิ่มขึ้นมากที่สุด

ซึ่งเห็นได้ว่า โปรตีนจากพืชมีบทบาทสำคัญต่ออาหารของสเปนและสร้างความมั่นคงทางด้านโภชนาการ และ 7 ใน 10 คนยืนยันว่าจะเพิ่มการบริโภคโปรตีนจากพืชในปีนี้ อีกทั้งจะบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ผลการศึกษาอีกหลายสถาบันระบุว่า มีจำนวนผู้ประกอบอุตสาหกรรมอาหารเกินกว่าครึ่งหนึ่งที่รับผิดชอบดำเนินการเรื่องคาร์บอนฟุตปรินต์ หรือการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ และยังระบุว่า หากลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการบริโภคพืช ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมจะลดลงถึง 40% สำหรับตัวชี้วัดบางตัวในส่วนของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แน่นอนว่า จากทัศนคติของชาวสเปนที่ได้จากผลการสำรวจ แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่สำคัญของผู้ประกอบการไทยที่จะเกาะเทรนด์อาหารครั้งใหม่นี้ และพัฒนาขึ้นไปให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทยหรือสเปน แต่อาจจะยังสามารถส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆ ที่กำลังให้ความสนใจกับกลุ่มอาหารแพลนต์เบสอยู่อีกด้วย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล