ถามหาความรับผิดชอบ

เชื่อหรือไม่? เรื่อง นกแอร์ ลื่นไถลตกรันเวย์เมื่อวันที่ 30 ก.ค.65 อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านการบินของไทยได้เลย!

น้ำผึ้งหยดเดียวแท้ๆ

เพราะการทิ้งผู้โดยสารอยู่บนเครื่องเป็นชั่วโมง กำลังสะท้อนข้อเท็จจริงว่า ท่าอากาศยานระดับนานาชาติของประเทศไทยขาดมาตรฐานและเครื่องมือ อุปกรณ์กู้ภัยต่างๆ หรือไม่?

หรือการปิดสนามบินยาวถึง 5 วัน เพื่อทำการกู้เครื่องบินที่เกิดอุบัติการณ์ลื่นไถลออกนอกทางวิ่ง กำลังสะท้อนถึงมาตรฐานของท่าอากาศยานที่ขาดอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับจัดการกับอากาศยานใช่หรือไม่?

การให้บริการด้านการบินเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญในการรักษามาตรฐานด้านต่างๆ และหน่วยงานรับผิดชอบต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรการบินระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนดไว้ โดยเฉพาะมาตรฐานด้านความปลอดภัย

ถ้าสายการบิน ท่าอากาศยานระดับนานาชาติ และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่ำกว่าระดับสากล หากถูกตรวจสอบพบโดย ICAO ว่ามันไม่ได้มาตรฐานจริงๆ เขาก็จะมีมาตรการในระดับต่างๆ มาบังคับใช้กับประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไทยเคยโดนมาตรการรุนแรงคือการ “#ติดธงแดง”​ มาแล้ว

ใครอยู่ในแวดวงการบินจะทราบดีว่า การติดธงแดงมีผลกระทบกับธุรกิจการบิน และประเทศจะต้องสูญเสียรายได้และสิทธิประโยชน์ต่างๆ เป็นมูลค่ามหาศาลแค่ไหน

ที่แน่ๆ เครื่องลำเดียวไถลออกนอกทางวิ่ง ปิดสนามบิน 5 วัน ทั้งๆ ที่คืนเดียวน่าจะเสร็จเรื่อง เสียหายไม่รู้เท่าไหร่ แล้วโปรดอย่าไปโยนความผิดใส่กัน จนประชาชนสับสนไปหมดแล้วว่าใครรับผิดชอบกันแน่ เพราะข้อมูลที่สื่อสารกลายเป็นเอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนอื่น

สมมติว่ามีสายการบินสัญชาติไทยไปไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต ท่านผู้อ่านคิดว่าท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตเขาจะรอให้ใครมากู้ หรือเขาจะเป็นคนกู้

คำตอบนี้ชัดเจนว่า คงไม่มีใครปิดสนามบิน 5 วันเพื่อรอให้ใครมากู้ แต่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องย่อมต้องรีบกู้ให้เร็วที่สุด เพื่อรีบเปิดสนามบินให้กลับมาใช้งานได้ต่อไป

ดังนั้นที่สนามบินแม่ฟ้าหลวง จึงต้องตั้งคำถามไปยัง ทอท. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ร่ำรวยระดับต้นๆ ของประเทศว่า ทำไมต้องไปยืมอุปกรณ์จากกรมท่าอากาศยาน? ตัวเองไม่ลงทุนเตรียมการอะไรไว้เลยหรืออย่างไร? แล้วกรมท่าอากาศยานจะมีเครื่องมือหนักได้อย่างไร? สุดท้ายก็ต้องไปยืมจากศูนย์ซ่อมใหญ่ของการบินไทย ที่ ทอท.กำลังไล่บีบเขาออกจากพื้นที่นั่นแหละ

การปฏิบัติเมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ในความเป็นจริง ICAO มี Annex เกี่ยวกับการปฏิบัติเรื่องนี้อยู่ทั้ง Airport และ Airline เรื่องมาตรฐาน ICAO ที่กำหนดให้หน่วยงานในธุรกิจการบินต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดนั้น ต้องรีบทบทวนแล้วครับว่า หน่วยงานรับผิดชอบของไทยได้ใส่ใจในการปฏิบัติตามข้อบังคับที่เขียนกำหนดไว้หรือไม่?

เหตุการณ์นี้ต้องยอมรับกันได้แล้วว่า “Aerodrome Crisis Management” หรือมาตรฐานการจัดการภาวะวิกฤตในท่าอากาศยาน...แย่มากจริงๆ

ระเบียบ กฎหมาย ข้อไหนมันไม่ทันสมัย ล้าหลัง และไม่เป็นสากล ควรจะหยุดบังคับใช้ได้แล้ว

การปิดสนามบินอินเตอร์ 5 วันเป็นเรื่องที่...ทั้ง CAAT และ AOT ปัดสวะให้พ้นตัวไม่ได้.

T.MARK

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล