ต้องแก้ไขปัญหา'ผีน้อย'ในเกาหลีใต้

ช่วงนี้ ในเวลาไถดูเนื้อหาบนสื่อโซเชียล โดยเฉพาะบนแอป TIKTOK จะเห็นวิดีโอเกี่ยวกับการไปทำงานที่เกาหลีโผล่ขึ้นในฟีดเป็นจำนวนมาก และเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2-3 ประเด็น คือ หนึ่ง ชีวิตของแรงงานไทยในเกาหลีใต้ ทั้งความเป็นอยู่ และรายได้แต่ละเดือน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคุยว่ารายได้ดี มีเงินเก็บเป็นล้าน แน่นอนช่วยกระตุ้นให้คนไทยอยากจะเข้าไปทำงาน

ส่วนประเด็นอื่นคือ เรื่องที่เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้พยายามไล่จับกุมแรงงานไทยผิดกฎหมาย (ผีน้อย) ส่งกลับบ้าน รวมถึงกรณี ตม.ของเกาหลีใต้ที่ปฏิเสธการเข้าประเทศของคนไทย

ซึ่งล่าสุดเพิ่งเห็นข่าวว่า ตม.เกาหลีใต้ได้ปฏิเสธไม่ให้คนไทยเข้าประเทศแทบยกลำ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 ในรอบไม่ถึง 1 สัปดาห์

แน่นอนว่า ในช่วงที่ผ่านมาก็ต้องยอมรับความจริงว่ามีคนไทยจำนวนมากที่แอบลักลอบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้แบบผิดกฎหมาย โดยการสวมรอยเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งที่ผ่านมาทางการเกาหลีใต้และไทยเองก็พยายามประสานความร่วมมือในการสกัดผู้ลักลอบไปทำงานเกาหลีผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่ใช่จะสามารถจัดการได้ทั้งหมด

ซึ่งการกระทำแบบนี้ หมายถึงผู้ที่ต้องการเข้าไปแบบผีน้อย ก็จะไปกระทบคนไทยที่อยากจะเดินทางไปเที่ยวจริงๆ ที่อาจจะได้รับผลกระทบ ไม่สามารถเข้าไปประเทศเกาหลีได้ด้วย

ดังนั้นจึงอยากขอให้คนไทยที่อยากเข้าไปทำงานที่เกาหลีใต้ ควรใช้ช่องทางที่ถูกต้อง การแอบลักลอบไปแบบนี้มันมีความเสี่ยงที่จะเสียทั้งเงิน เวลา และความรู้สึก และรวมถึงคุณภาพชีวิตหลังจากที่เข้าไปทำงานด้วย ซึ่งอาจจะไม่ได้รับสวัสดิการที่ดี การรักษาพยาบาลที่ไม่สามารถเข้าถึง เป็นต้น

ล่าสุด ทางกระทรวงแรงงานก็มีการแจงมาตรการสกัดผู้ลักลอบไปทำงานเกาหลีผิดกฎหมาย โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ตนมิได้นิ่งนอนใจ หลังจากเกิดกรณีทางการเกาหลีใต้ปฏิเสธการเดินทางเข้าประเทศเกาหลีของคนไทยที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่ง (คนไทยขอเดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้ประมาณ 10,000 คน ถูกปฏิเสธแล้ว 5,000 คน) โดยกระทรวงแรงงานมีด่านตรวจคนหางานทั่วประเทศถึง 25 ด่าน ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการกรมการจัดหางานตรวจสอบผู้มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานต่างประเทศอย่างเข้มงวด ใน 2 ด่านที่คนหางานมักเดินทางผ่านด่านไปทำงาน คือด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิ และด่านตรวจคนหางานดอนเมือง

ที่ในปี 2565 มีการระงับการเดินทางผู้มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานต่างประเทศแล้ว จำนวน 328 คน และย้ำเตือนให้ศูนย์ประสานการปราบปรามผู้เป็นภัยต่อคนหางาน ทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และดำเนินคดีผู้มีพฤติการณ์หลอกลวงคนหางานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างใกล้ชิด

โดยปัจจุบันได้มีการขยายผล จับกุม ดำเนินคดีสาย/นายหน้าเถื่อนแล้ว 112 ราย เป็นการหลอกลวงคนหางานทั้งสิ้น 158 คน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย จำนวน 12,758,210 บาท พร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่เอาจริงเอาจังและเข้มงวดกับการดำเนินการใน 3 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการด้านการป้องกัน มาตรการด้านการปราบปราม และมาตรการด้านรณรงค์ประชาสัมพันธ์

นายสุชาติยังระบุอีกว่า ผู้ที่อยากจะไปทำงานที่เกาหลีใต้จริงๆ ควรเข้าไปแบบถูกกฎหมาย โดยขณะนี้ทางการไทยและเกาหลีใต้อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงร่าง MOU เพื่ออำนวยความสะดวกให้เข้าไปทำงานได้อย่างถูกต้องง่ายขึ้น

สำหรับผู้ที่อยากจะเข้าไปทำงานที่เกาหลีใต้จริงๆ และไม่อยากถูกหลอก กรมการจัดหางานแนะนำ 5 วิธีการด้วยกัน ประกอบไปด้วย 1.กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง 2.บริษัทจัดหางานจัดส่ง 3.นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างของตนไปทำงานต่างประเทศ 4.นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างของตนไปฝึกงานในต่างประเทศ และ 5.คนหางานแจ้งการเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตัวเอง โดยต้องแจ้งการเดินทางกับกรมการจัดหางานก่อนเดินทางทุกครั้ง และต้องเดินทางออกไปทำงานโดยผ่านด่านตรวจคนหางานที่ประจำอยู่ ณ ท่าอากาศยาน การไปทำงานอย่างถูกกฎหมายจะลดความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์

ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่สนใจเดินทางไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี ติดตามข่าวสารจากกองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ผ่านเว็บไซต์ doe.go.th/overseas เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง

เกาหลีใต้ยังคงขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก แต่ขอให้เข้าไปแบบถูกกฎหมายจะดีที่สุด พอกันทีการแอบลักลอบเข้าไป และตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว