ต้องพร้อมรับมือโลก “metaverse”

เมื่อเร็วๆ นี้เกิดข่าวใหญ่ระดับโลก เมื่อยักษ์ใหญ่แห่งโลกโซเซียลอย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ประกาศรีแบรนด์ใหม่เป็น “เมตา” (Meta)

การเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "เมตา" นั้นสะท้อนถึงความทะเยอทะยานของบริษัทที่จะทำธุรกิจนอกเหนือจากโซเชียลมีเดีย โดยได้ใช้ชื่อใหม่ตามคำว่า “metaverse” เมตาเวิร์ส ซึ่งเป็นศัพท์ไซไฟที่อธิบายถึงวิสัยทัศน์สำหรับการทำงานและการเล่นในโลกเสมือนจริง

หากได้ติดตามเฟซบุ๊กมาอย่างต่อเนื่อง ดูเหมือนยักษ์ใหญ่รายนี้มีความสนใจเกี่ยวกับการบุกเบิกธุรกิจในโลกใหม่ หรือโลกเสมือนอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จาก 2-3 ปีที่ผ่านมาเฟซบุ๊กได้เพิ่มความพยายามในด้านฮาร์ดแวร์

โดยแนะนำอุปกรณ์วิดีโอคอล “พอร์ทัล” เปิดตัวแว่นตา “Ray-Ban Stories” และเปิดตัวชุดแว่นตาเสมือนจริง “Oculus” หลายรุ่น

เนื่องจากจากเฟซบุ๊กมองว่า เทคโนโลยี augmented และ virtual reality จะเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับการบุกเบิกเข้าสู่โลก metaverse ซึ่งคาดว่าสิ่งนี้จะเป็นกระแสหลักใน 5-10 ปีนี้

มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเมตากล่าวว่า ในขณะนี้มีการมองว่าเฟซบุ๊กเป็นบริษัทโซเชียลมีเดีย แต่ในดีเอ็นเอของเฟซบุ๊กนั้นเป็นบริษัทที่สร้างเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมผู้คน และ metaverse เป็นพรมแดนต่อไปที่เหมือนกับโซเชียลเน็ตเวิร์กเมื่อบริษัทเริ่มต้น

ไม่ใช่เพียงแค่เฟซบุ๊กเท่านั้นที่มองว่าเมตาเวิร์สจะเป็นขุมทองแห่งใหม่ที่จะทำเงินในอนาคต หลายประเทศมหาอำนาจทางไอที เทคโนโลยี ต่างก็จับจ้องกระแส metaverse ด้วยตาเป็นมัน อย่างในจีน ยักษ์ใหญ่อย่างอาลีบาบา หรือเทนเซ็นต์ ต่างก็เตรียมตัวสำหรับการสร้างธุรกิจในโลกใหม่กันหมดแล้ว

หรือในเกาหลีใต้ ซึ่งมีความแข็งแกร่งในเรื่องของคอนเทนต์บันเทิง ก็มีการสร้างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลก metaverse แล้ว ยกตัวอย่างค่าย SM Entertainment ซึ่งมีการสร้างเกิร์ลกรุ๊ปในโลกเสมือน ในชื่อวง aespa ซึ่งก็นับว่ามีวงการบันเทิงเข้าไปบุกเบิกในโลกใหม่กันแล้ว

ลองคิดดู ในอนาคตใครที่สามารถสร้างโลกเสมือน และชวนคนเข้าไปปักหลักสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ได้ก่อน บริษัทนั้นจะมีอำนาจมากแค่ไหน โดยเฉพาะหากเปิดให้มีระบบเศรษฐกิจที่หมุนเวียนในโลกเสมือนดังกล่าวด้วย ยิ่งจะคุมความได้เปรียบในการครองอำนาจเศรษฐกิจได้

ทำไมถึงบอกว่าคุมอำนาจทางเศรษฐกิจได้ ก็เพราะคนที่สร้างโลก metaverse นั้นก็เปรียบเสมือนรัฐบาลกลาง ที่สามารถออกคำสั่ง กฎระเบียบและกฎเกณฑ์ไปยังผู้ใช้ และสามารถกำหนดเงินตราของตัวเองขึ้นมาได้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากกรณีของเฟซบุ๊กที่เคยประกาศเปิดตัว Libra สกุลเงินดิจิทัล นี่ก็เป็นแผนสำหรับการสร้างเงินสื่อกลางในโลกเสมือน เมื่อเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในโลกเสมือนได้ ดังนั้นผู้สร้างก็เปรียบเสมือนผู้ที่คุมทุกอย่างในโลกใหม่นั้นได้

ย้อนกลับมามองที่ไทย ตอนนี้อาจจะมีคนไทยบางกลุ่มที่ตระหนักถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีแบบใหม่แล้ว แต่ในส่วนของภาครัฐ ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศ ไม่แน่ใจว่าได้เตรียมตัวรับมือกับเทรนด์ใหม่ที่เข้ามาในโลกนี้แค่ไหน อย่างในปัจจุบันไทยเราก็ไม่ทันเกมกับการหากินของธุรกิจแพลตฟอร์มต่างชาติ ที่เข้ามากอบโกยเงินตราออกไปจากประเทศอย่างมหาศาล และแทบไม่ต้องมาจ่ายภาษีเลย ทั้งๆ ที่มาทำมาหากินกับคนไทยและผู้ประกอบการไทย แล้วรับเงินบาทออกนอกประเทศจำนวนมาก

และนี่กำลังจะมีเทคโนโลยีใหม่ “metaverse” ที่เป็นการสร้างโลกใหม่ขึ้นมาอีกใบ หากรัฐไม่รู้เท่าทัน หรือไม่เตรียมความพร้อมทั้งให้กับประชาชน หรือระบบเศรษฐกิจให้ดี เชื่อว่าไทยก็จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบให้กับเทคโนโลยีรูปแบบใหม่อีกครั้ง

ดังนั้น ถึงเวลาแล้ว รัฐบาลจะต้องมีความชัดเจนในการเตรียมพร้อมรับมือกับอนาคตที่กำลังจะมาถึงในเร็วๆ นี้ไว้ด้วย.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล