คมนาคมลุยช่วยน้ำท่วม

จากเหตุการณ์เกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ของไทย ล่าสุดที่จังหวัดภูเก็ตเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องหลายชั่วโมงตั้งแต่กลางดึกวันที่ 15 ต.ค. ต่อเนื่องจนถึงรุ่งเช้าวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เขตเทศบาลนครภูเก็ตจมบาดาล โดยเฉพาะย่านเศรษฐกิจเมืองเก่าภูเก็ต เช่น แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ถนนเทพกระษัตรีตัดถนนถลาง ซึ่งเป็นย่านเมืองเก่า อาคารชิโนโปรตุกีส บริเวณวงเวียนหอนาฬิกามีน้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตรถึง 1 เมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ เรียกได้ว่าเดือดร้อนถ้วนหน้า น้ำท่วมเข้าบ้านเรือนประชาชน ร้านค้า และแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย

แน่นอนว่า หลายหน่วยงานได้บูรณาการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ในฐานะที่รับผิดชอบด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมเฝ้าระวัง

พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์อุทกภัยให้กับประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที พร้อมทั้งให้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง และเร่งคืนผิวการจราจรโดยเร็ว

ส่วนการช่วยเหลือภายหลังสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกตินั้น หากตรวจพบสายทางที่เกิดความเสียหายรุนแรง ให้ดำเนินการซ่อมแซมเบื้องต้นเพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไปมาได้ภายใน 7 วัน และเข้าดำเนินการสำรวจ ออกแบบ ประมาณมูลค่าความเสียหาย พร้อมภาพถ่ายสภาพความเสียหายหลังน้ำลด เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการฟื้นฟูต่อไป

ขณะเดียวกันที่ผ่านมา นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการอธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) ได้มีการบูรณาการร่วมกับจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยตั้งศูนย์อำนวยการ 9 จุด เจ้าหน้าที่ 73 นาย เรือ 17 ลำ รถ 21 คัน ถุงยังชีพ 536 ชุด น้ำดื่ม 2,900 ขวด ได้แก่ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 จ.พระนครศรีอยุธยา, สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 จ.ปราจีนบุรี, สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 จ.อุบลราชธานี, สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 จ.สิงห์บุรี และสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 8 จ.อุบลราชธานี เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย และจัดชุดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัย เตรียมพร้อมกำลังคน ยานพาหนะ บูรณาการร่วมกับจังหวัดในการให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงทีที่ได้รับแจ้งเหตุ

เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์พื้นที่เกิดอุทกภัย ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้สรุปรายงานอุทกภัยในเส้นทางคมนาคม โดยพบว่ามีโครงข่ายคมนาคมทั่วประเทศได้รับผลกระทบ รวม 194 สายทาง 281 แห่ง ผ่านได้ 120 แห่ง ผ่านไม่ได้ 161 แห่ง แบ่งเป็น ถนนทางหลวง ที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่จะทำให้การเดินทางข้ามจังหวัดได้สะดวกสบาย ได้รับผลกระทบ 48 สายทาง 72 แห่ง ผ่านได้ 41 แห่ง ผ่านไม่ได้ 31 แห่ง

ขณะที่ ถนนทางหลวงชนบทได้รับผลกระทบ 146 สายทาง 209 แห่ง ผ่านได้ 79 แห่ง ผ่านไม่ได้ 130 แห่ง ทั้งนี้มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 26 จังหวัด โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ได้แก่ จ.อุบลราชธานี ได้รับผลกระทบ 53 แห่ง รองลงมาคือ จ.ศรีสะเกษ และ จ.ขอนแก่น ได้รับผลกระทบจังหวัดละ 28 แห่ง แน่นอนว่าสถานการณ์น้ำท่วมต้องติดตามกันแบบรายวันเลยทีเดียว

สำหรับปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกินเวลาเกือบ 1 เดือน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน กรมทางหลวงได้สั่งการให้สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีพื้นที่ใดประสบปัญหา เจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทันที โดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกภาคส่วนจะยังคงช่วยเหลือร่วมมือร่วมใจกันให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ ขณะที่ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนก็ต้องระมัดระวังการสัญจรในจุดที่เกิดน้ำท่วม เนื่องจากอาจจะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน อาจจจะต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้นหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ ติดต่อได้ที่ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทร.ฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง).

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

อวดชาวโลกสีสันสงกรานต์2567

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประชาชนส่วนใหญ่นิยมเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด และเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่กรุงเทพมหานครก็ได้จัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมเชิญชวนชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567” บริเวณถนนราชดำเนินกลางและท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 11–15 เมษายนนี้

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี