'ศก.โลก-ไทย'ปี66ยังท้าทาย!

ขณะนี้หลายฝ่ายต่างประเมินว่า “เศรษฐกิจโลก” กำลังเผชิญกับแรงต้านที่รุนแรง และมีสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นความท้าทายสำคัญให้กับหลายประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเริ่มจะฟื้นตัว หลังจากซมพิษโควิด-19 มานานหลายปี โดยล่าสุด ฟิชท์ เรทติ้งส์ ได้ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2566 ยังคงมีความท้าทายอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยุโรปที่เริ่มเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยตั้งแต่ช่วงปีนี้

ขณะที่คาดว่าสหรัฐจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อยในช่วงกลางปี 2566 จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงและตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนเศรษฐกิจของจีนเองก็ยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ และความเสี่ยงต่อเนื่องในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

สำหรับประเทศไทยนั้น ฟิชท์ เรทติ้งส์ มองว่า ยังมีภาคการเงินต่างประเทศที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเทียบกับอันดับเครดิตของประเทศ และยังเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในปี 2566 การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยบวกเหล่านี้ ทำให้ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประมาณการว่าอัตราการเติบโตของเศษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปีนี้อยู่ที่ 3.1% และปี 2566 ที่ 4.2%

ขณะที่ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center : EIC) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณชะลอลงชัดเจนขึ้น จากเงินเฟ้อโลกที่ชะลอลงช้า และคาดว่าจะอยู่สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางนาน 1-2 ปี โดยการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเร็วขึ้น เป็นผลจากธนาคารกลางทั่วโลกดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะการเงินตึงตัวทั่วโลก เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มแผ่วลงมากขึ้น และคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จากนโยบายการเงินตึงตัวที่เข้าสู่ระดับ Restrictive นานขึ้น

เศรษฐกิจยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงปลายปี 2565 จากวิกฤตพลังงานและนโยบายการเงินตึงตัวเร็ว ขณะที่เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงมากจากมาตรการซีโรโควิดที่ยังคงดำเนินอยู่ ประกอบกับความอ่อนแอในภาคอสังหาริมทรัพย์

EIC มองว่า หากนโยบายการเงินโลกตึงตัวมากขึ้นอีก 100-200 BPS จากกรณีฐานเศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวรุนแรงหรือเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ในปีหน้า สำหรับเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) ที่มีหนี้สูง ภาครัฐจะเผชิญต้นทุนกู้ยืมแพงขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางการเงิน (Financial distress) และมีข้อจำกัดทางการคลังในการสนับสนุนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า

               สำหรับ “เศรษฐกิจไทย” ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีภาคท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและมีไม่แน่นอนสูง และในระยะต่อไปยังมีปัจจัยหนุนจากการจ้างงาน โดยเฉพาะในภาคบริการและรายได้ภาคท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น แต่ก็ยังมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อสูงและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น การส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องจากฐานต่ำ ซึ่งเริ่มเห็นการหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนในเกือบทุกกลุ่มสินค้าหลักและในตลาดสำคัญ ในระยะต่อไปการส่งออกจะชะลอลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เช่นเดียวกับทิศทางการลงทุนและการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก

สำหรับสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปีนี้ EIC ประเมินว่า ในกรณีฐานผลกระทบจะไม่รุนแรงเท่าในปี 2554 โดยเบื้องต้นคาดว่าพื้นที่เกษตรจะได้รับผลกระทบ 1.9 ล้านไร่ หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 12,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น จะต้องติดตามประเมินผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และการท่องเที่ยวเพิ่มเติม และคาดว่า กนง.จะทยอยขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จำนวน 3 ครั้ง สู่ระดับ 2% ณ สิ้นปี 2566 โดยในเดือน พ.ย.2565 คาดว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 1.25% ต่อปี เนื่องจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดแล้ว แม้จะไม่ปรับลดลงเร็วนัก รวมทั้งเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไประดับ Pre-COVID ได้ในช่วงกลางปี 2566 แต่จะอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพไปอีก 1-2 ปี จากแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกและมีหนี้สูงขึ้น!!.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา