มหากาพย์ควบรวม 'ทรู-ดีแทค'

ลากยาวเป็นมหากาพย์แน่นอน สำหรับการควบรวมกิจการของ 2 บริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่อย่าง 'ทรู-ดีแทค' เนื่องจากเป็นดีลประวัติศาสตร์ และมีหลายฝ่ายจับตาเฝ้ามอง โดยเฉพาะประเด็นทางด้านการแข่งขันทางการค้า และราคาการให้บริการในอนาคต ซึ่งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมองว่า ดีลนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แถมยังส่งผลเสียด้วยซ้ำ

เรื่องนี้ล้วนกดดันไปยังตัวคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) ซึ่งเพิ่งมีมติรับทราบการควบรวมตามประกาศปี 2561 แบบไม่เป็นเอกฉันท์ และใช้มติที่ประชุมเสียงข้างมาก ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กสทช. พ.ศ.2555 โดยประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

ดังนั้น มติรับทราบดังกล่าวถูกตั้งคำถามมากมายว่า เป็นการกระทำที่เอื้อไปยังกลุ่มทุนมากกว่าการคุ้มครองประชาชน

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อที่ประชุมมีมติเห็นชอบออกมาแล้ว กระบวนการก็ต้องมีการเดินหน้า แต่ทั้งนี้เพื่อกู้ภาพลักษณ์ของ กสทช.ให้กลับมาในฐานะผู้ดูแลประชาชนแล้ว

ทาง กสทช.ก็จะต้องทำงานและวางเงื่อนไขอย่างเข้มงวด เพื่อลดข้อครหาที่สังคมตั้งขึ้น

ทั้งนี้ สิ่งที่ กสทช.ได้วางเงื่อนไข สรุปคร่าวๆ ดังนี้

1.ห้ามทั้งสองค่ายรวมแบรนด์เข้าด้วยกันเป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งถือเป็นมาตรการที่คงทางเลือกของผู้บริโภคให้มีเวลาตัดสินใจ และทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเห็นผลกระทบของการควบรวมธุรกิจและมีข้อมูลในการตัดสินใจใช้บริการต่อไป

2.มาตรการการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ที่กำหนดให้ทั้งสองค่ายเปิดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน หรือ MVNO ได้เช่าใช้โครงข่ายโทรคมนาคมที่ทั้งสองมีอยู่ และต้องห้ามปฏิเสธการเช่าใช้บริการ รวมทั้งต้องจัดหน่วยธุรกิจเฉพาะเพื่อให้บริการ MVNO โดยตรง ซึ่งต้องให้บริการได้ทันทีหลังรวมธุรกิจ มาตรการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการ MVNO รายเล็กในตลาดมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และเป็นทางเลือกมากขึ้นให้กับผู้บริโภค

3.มาตรการเรื่องเพดานราคา ที่กำหนดเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย และการกำหนดราคาค่าบริการโดยใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้งต้องส่งโครงสร้างราคาค่าเฉลี่ยให้ กสทช.รับทราบทุก 3 เดือน และบังคับรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ปรึกษาที่ กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบเรื่องโครงสร้างต้นทุน

ทั้ง 3 ข้อถือว่าอยู่ในขอบข่ายในอำนาจที่ทาง กสทช.กำกับดูแลได้

ดังนั้น การควบรวมที่สุดท้ายจะเหลือเพียงแบรนด์เดียวนั้น จะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่หลายฝ่ายกังวล อย่างไรซะ 3 ปีนี้ยังคงมีแบรนด์ทรูและดีแทคในตลาด แต่โครงสร้างราคาให้บริการจะเป็นอย่างไรและมีการแข่งขันกันจริงแค่ไหน ก็คงต้องฝากงานให้ กสทช.ต้องดูแล และทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการต่อไป

โดยในมุมมองของ รศ.ดร.สุชาติ ไตรภพสกุล อาจารย์ประจำคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่แสดงความเห็นในกรณีนี้ก็ค่อนข้างชัดว่า มาตรการที่ กสทช.บังคับออกมานั้น เป็นมาตรการที่เข้มข้นและมีรายละเอียดที่ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมาเป็นอันดับหนึ่ง ในขณะที่น่าจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการทั้งสองค่ายค่อนข้างมาก เพราะทำให้มีผลกับแผนการทำการตลาด การบริหารต้นทุน และเสียโอกาสในการนำจุดแข็งของทั้งสองค่ายมารวมกัน

ดังนั้น เชื่อว่าจากนี้คงจะเห็นทั้งทรูและดีแทคต้องพลิกตำราในการปรับกลยุทธ์กันยกใหญ่ทีเดียว ขณะที่ประชาชนในฐานะลูกค้าก็ต้องทำการศึกษาให้รอบคอบก่อนว่า ใช้บริการอย่างไรให้คุ้มค่ากับเงินที่้เสียไปมากที่สุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล