ว่าด้วยค่าแรง 600 บาท

มาอีกแล้ว 'นโยบายขายฝัน' ในช่วงใกล้เลือกตั้ง นั่นก็คือ เรื่องการขึ้นค่าจ้าง ค่าแรง ให้กับประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา ทุกพรรคการเมืองก็ล้วนใช้นโยบายนี้เรียกคะแนนจากพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด

และล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ก็ประกาศเปรี้ยงบนเวทีปาฐกถาหัวข้อ "คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน" ว่า สิ่งที่พรรคเพื่อไทยจะทำภายในปี 70 หากได้เป็นรัฐบาล คนไทยจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1.นโยบายเศรษฐกิจปี 66-70 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ประเทศโตขึ้น 5% ต่อปี จะส่งเสริมซอฟต์เพาเวอร์ให้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาทต่อปี ดึงศักยภาพ 1 คนในทุกครอบครัวได้รับโอกาสอบรมทักษะที่มีความถนัด โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และปี 70 คนไทยต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำให้สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ต่ำกว่า 600 บาทต่อวัน เงินเดือนจบปริญญาตรี 25,000 บาทขึ้นไป ส่วนการแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน จะล้างหนี้จนหมดสิ้น ให้เข้าถึงแหล่งทุนได้หลากหลายด้วยดอกเบี้ยต่ำ

นี่คือนโยบายโหมโรงแรกที่จะดึงกระแสความนิยมกลับมา ซึ่งต้องยอมรับว่า นโยบายชุดนี้ยังไงก็ขายได้ แต่ทำได้จริงแค่ไหน นั่นก็อีกเรื่อง

เพราะที่ผ่านมาก็เห็นบางพรรคเสนอตัวเลขขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เท่านั้น เท่านู้น แต่พอถึงเวลาจริงทำไม่ได้ และต้องแอบไปลบภาพข้อความนโยบายทิ้ง ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

แม้ว่าล่าสุดบุคคลที่รู้ว่าใคร อย่างโทนี่ วู้ดซัม หรือนายทักษิณ ชินวัตร ก็ออกมายืนยันว่า ไม่ใช่แค่ 600 บาท เลย 800 บาทก็ทำได้ เพียงแต่ปัจจัยหลักคือ จะต้องทำให้ เศรษฐกิจไทย หรือจีดีพี โตอย่างน้อย 5% ทุกปี

แน่นอนแผนในกระดาษมักจะสวยหรูเสมอ แต่ทำจริงนั้นก็ค่อยว่ากันอีกเรื่อง

โดยอย่างที่รู้กันดีว่า โลกในยุคทุนนิยม อย่างไรเงิน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน นั้นเป็นเรื่องที่ล่อตาล่อใจเสมอ แต่เรื่องการขึ้นค่าแรงมันไม่ได้มีแค่มุมบวกอย่างเดียว

 ในมุมลูกจ้างทุกคนโอเคแน่ แต่ในมุมผู้ประกอบการเขาคิดหนัก เพราะในปัจจุบันอย่างที่เห็นกัน ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น กลายเป็นคนไทยอาจจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร เพราะผู้ประกอบการอาจจะเลิกจ้าง แล้วไปดึงต่างด้าวมาทำงานแทน ทำให้คนไทยหลุดระบบ แล้วก็หันไปแสวงหาค่าจ้างในประเทศอื่น อย่างที่เห็นเป็นข่าว อย่างการไปขายแรงงานในต่างประเทศแทน

และหากมองสถิติในอดีตอย่างการประกาศขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ เมื่อช่วงปี 55–56 เป็นต้นมา ตอนนั้นก็ก่อให้เกิดปัญหาค่าครองชีพสูง และคนตกงานเป็นจำนวนมาก รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กก็มีการปิดตัวลง ส่วนทุนใหญ่ ก็ไปขยายการลงทุนที่ประเทศเพื่อนบ้านแทน

ดังนั้นไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าจ้าง ค่าแรง แต่การปรับจะต้องมองหาความสมดุลด้วย และต้องคิดในหลายมิติมากขึ้น ซึ่งต้องถามภาคเอกชนก่อนว่าไหวไหม และค่าครองชีพจะขยับตามไปอีกเท่าไหร่ เงินเฟ้อที่ตามมา และในส่วนของคนที่หลุดจากระบบจะดูแลอย่างไร

 ก็ยอมรับว่าไทยเราก็ควรก้าวข้ามเป็นประเทศขายของถูก และนำไปสู่ประเทศที่พัฒนาได้แล้ว แต่ปัญหาของเราที่ผ่านมา มันมีปัญหาความเหลื่อมล้ำที่สูงเกินไป และมีกฎหมายบางอย่าง ทำให้บางธุรกิจเกิดการผูกขาด ไม่ให้ รายกลาง รายเล็ก เติบโต ซึ่งถ้าแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ ค่าแรงมันต้องขยับขึ้น ไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว

 ฉะนั้นสิ่งที่อยากเห็นจริงๆ ไม่ใช่การที่ทุกพรรคการเมือง มาประกาศขึ้นค่าแรง ค่าจ้าง แบบ เกทับ บลัฟแหลกกัน แต่เป็นการทำให้เห็นว่า ทุกพรรคมีความจริงจังที่จะช่วยลดการผูกขาด กระจายความมั่งคั่งให้ทั่วถึงมากกว่านี้

 แค่นี้ยังไงค่าแรงก็ขึ้น แถมยังเท่าเทียม และฝนตกทั่วฟ้าอีกต่างหาก.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล