ตระหนักรู้ ก่อนถูกดูดเงิน

เป็นข่าวฮือฮา กระทบความเชื่อมั่นอย่างมาก หลังพบว่ามีผู้ใช้บริการแอปธนาคารจำนวนมากถูกดูดเงินออกจากบัญชีโดยที่เจ้าตัวไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการ ส่งผลให้สังคมเกิดความตื่นตัวถึงภัยออนไลน์รูปแบบใหม่ที่มิจฉาชีพมีการพัฒนา ยกระดับการโจรกรรมอย่างต่อเนื่อง

แน่นอนในฐานะผู้ใช้บริการ แม้ว่าจะต้องมีความรู้ความเข้าใจระดับหนึ่งแล้ว ในส่วนของผู้ให้บริการหรือตัวของธนาคารพาณิชย์เอง รวมถึงผู้กำกับดูแลอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าหรือตัวผู้ใช้งานด้วย

ล่าสุด ในส่วนของแบงก์ชาติก็มีการขยับ เพิ่มความเข้มงวดในการป้องกัน และสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้งาน โดย น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และโฆษก ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.ได้กำชับให้สถาบันการเงินปรับปรุงและพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัยให้เท่าทันวิธีการหลอกหลวงรูปแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และต้องกำหนดแนวปฏิบัติอย่างชัดเจนโดยเร็ว

ตัวอย่างเช่น กำหนดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking หรือบัญชีกระเป๋า e-Wallet ของแต่ละผู้ให้บริการทางการเงิน และให้ใช้งานบน 1 อุปกรณ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการนำบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking หรือกระเป๋า e-Wallet ไปใช้ในทางไม่สุจริต มีกระบวนการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในขั้นตอนการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเปิดบัญชี e-Money โดยตรวจสอบให้ชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝาก หรือบัญชี e-Money ที่ใช้โอนเงินสอดคล้องตรงกันกับชื่อเจ้าของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่

นอกจากนี้ ให้งดเว้นแนบลิงก์ผ่านช่องทางข้อความสั้น (SMS) อีเมล และโซเชียลมีเดีย ที่เป็นการขอข้อมูลในการยืนยันตัวตนและข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน รหัสผ่านใช้ครั้งเดียว (OTP) รหัส PIN หมายเลขบัตรประชาชนชน วันเดือนปีเกิด เป็นต้น

ทางด้านภาครัฐเอง โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ได้เร่งมือบูรณาการการดำเนินงาน เดินหน้าปราบปรามการลักลอบใช้อินเทอร์เน็ตข้ามประเทศผิดกฎหมาย แก้ปัญหาซิมผีและบัญชีม้า โดยมีความคืบหน้าดังนี้

1) การแก้ปัญหาการลักลอบใช้อินเทอร์เน็ตข้ามประเทศผิดกฎหมาย กสทช.ได้กำชับผู้ให้บริการโทรคมนาคมเข้าตรวจสอบการใช้บริการอินเทอร์เน็ตข้ามประเทศ และได้ดำเนินการเข้าตรวจสอบหาบริเวณที่มีการกระทำความผิด รวมถึงตัวผู้กระทำผิด

2) การแก้ปัญหาซิมผี กสทช.ดำเนินการให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมแจ้งเจ้าของซิมโทรศัพท์มายืนยันตัวตนให้ถูกต้องตามแผนงาน ดังนี้ กรณีผู้มี 100 ซิมขึ้นไป ประมาณ 8,000 ราย ให้ยืนยันตัวตนภายในเดือนมกราคม 66 กรณีผู้มี 30 ซิมขึ้นไป ประมาณ 22,000 ราย ให้ยืนยันตัวตนภายในเดือนมีนาคม 2566 กรณีผู้มี 5 ซิมขึ้นไป ประมาณ 380,000 ราย ให้ยืนยันตัวตนภายในเดือนมิถุนายน 2566

3) การแก้ปัญหาบัญชีม้าและบัญชีต้องสงสัยนำไปใช้กระทำผิดกฎหมาย สำนักงาน ปปง.ได้จัดทำประกาศ หลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดหรือทบทวนรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดตามกฎกระทรวง การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า พ.ศ.2563 และได้แจ้งรายชื่อผู้กระทำผิดกฎหมายให้สถาบันการเงินดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาครัฐจะมีการเพิ่มมาตรการต่างๆ เข้ามาดูแลแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเราเอง เจ้าของเครื่อง ที่จะต้องใส่ใจและระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่าเปิดช่องว่างให้มิจฉาชีพเข้ามาใช้งานได้ นั่นก็คือ ต้องระมัดระวังลิงก์แปลกปลอมต่างๆ ถ้ามาจากบุคคลที่ไม่รู้จักก็ไม่ควรกด หรือการโหลดแอปที่ไม่ได้การรับรอง หรือการเข้าใช้งานเว็บไซต์อันตราย ซึ่งพวกนี้มันจะมีไวรัส หรือมัลแวร์ แฝงตัวเข้ามาได้ ที่สำคัญ การตั้งรหัส การใช้งานแต่ละแอป ไม่ควรที่จะตั้งเหมือนกัน

ทั้งหมดนี้ ถ้าเราป้องกันตัวเองก่อนได้ปัญหาการถูกเข้ามาดูดเงินก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน. 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล