ความท้าทายด้านESGในปี66

แนวคิดเกี่ยวกับ “การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน Environment, Social และ Governance หรือ ESG กำลังเป็นกระแสที่ภาคธุรกิจและนักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่นักลงทุนจะใช้ประกอบในการพิจารณาการลงทุนมากขึ้น โดยจะให้ความสำคัญกับธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบใน 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ในปี 2566 ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความกังวลทางด้านเศรษฐกิจที่เผชิญกับความไม่แน่นอนและชะงักงัน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG ของภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาครัฐก็มีแนวโน้มให้ความสำคัญด้าน ESG มากขึ้น จากการกำหนดนิยามกลุ่มกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) มาตรการภาษีคาร์บอนระหว่างประเทศ การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการด้าน ESG และมาตรการป้องกัน Greenwashing

สำหรับความท้าทายทางเศรษฐกิจในปี 2566 นั้นมาจาก แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนสูง และมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน และข้อจำกัดในการหาแหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ ส่งผลต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจในปีนี้ และการตัดสินใจลงทุนในด้าน ESG ของภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ การจัดทำร่างมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy) ในภาคพลังงานและภาคการขนส่งนั้น เป็นตัวสะท้อนทิศทางการดำเนินนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากภาคพลังงานและภาคขนส่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากธุรกิจเหล่านี้มีแผนการปรับตัวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกก็จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสีเหลือง อันจะมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เป้าหมายก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

 “ภาคธุรกิจสามารถใช้ Thailand taxonomy ในการวางแผนปรับตัวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำไปอ้างอิงเป็นข้อมูลเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ สถาบันการเงินสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อม หน่วยงานรัฐจะมีข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อนำไปกำหนดนโยบายส่งเสริมภาคธุรกิจในกลุ่มสีเขียวและสีเหลือง ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวได้รับโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนต่ำลง ในขณะที่กิจการในกลุ่มสีแดงอาจเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น”

ขณะที่ ทั่วโลกก็ได้มีการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ อียู ที่เตรียมปรับใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) ตั้งแต่ 1 ต.ค.2566 เป็นต้นไป สำหรับสินค้านำเข้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้มข้น และอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวเนื่อง และในอนาคตก็มีโอกาสที่จะขยายให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบผู้ส่งออกประมาณ 2,800 ราย มูลค่าการส่งออก 45,200 ล้านบาท

เช่นเดียวกับสหรัฐที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) จากสินค้านำเข้าในอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้มข้น แม้ว่าร่างกฎหมายจะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาโดยวุฒิสภาสหรัฐ แต่ก็มีการประเมินว่าจะมีผู้ประกอบการส่งออกไทยไปยังสหรัฐตามอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1,600 ราย และมีมูลค่าการส่งออกในปี 2564 ของอุตสาหกรรมการส่งออกหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระดาษ และผลิตภัณฑ์แก้ว จำนวน 75,500 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า นอกเหนือจากประเด็นความท้าทายด้าน ESG 3 ข้อ ได้แก่ ความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจในปี 2566, Thailand Taxonomy ทิศทางการดำเนินนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่มีความชัดเจนขึ้น และแนวโน้มการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของทั่วโลกที่เข้มงวดขึ้นแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และการใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) เป็นต้น ที่จะมาเป็นอีกปัจจัยผลักดันให้การดำเนินการด้าน ESG และการบรรลุเป้าหมายทางการลดปัญหาสภาพภูมิอากาศตามแผนงานขององค์กรได้เห็นภาพมากขึ้น.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา